Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19420
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์-
dc.contributor.authorอำภา หวาเอียด-
dc.date.accessioned2024-05-29T07:15:43Z-
dc.date.available2024-05-29T07:15:43Z-
dc.date.issued2023-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19420-
dc.descriptionศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม), 2566en_US
dc.description.abstractThis research aims to achieve two primary objectives: firstly, to analyze the extracurricular activities offered by the school based on the community's learning resources, and secondly, to analyze strategies for fostering parental participation in these activities. Qualitative research methods, specifically focus group discussions, in depth interview and content analysis, were employed to gather data from school administrators, teachers, parents, and community leaders, using purposive sampling to select participants. The research yielded several significant findings. Firstly, it identified six key expectations and requirements for extracurricular activities based on community learning resources: 1) shaping desired learner characteristics, 2) offering opportunities aligned with students' interests and abilities, 3) developing social and interpersonal skills, 4) facilitating pathways to professional fields, 5) utilizing free time productively, and 6) instilling an appreciation for local culture and learning resources. Furthermore, the study identified five approaches for organizing extracurricular activities to leverage community learning resources, as per the perspectives of parents and community members. These approaches include 1) collaborative teaching partnerships between schools and the community, 2) assessment through tangible learning products, 3) a focus on income generation for students and families, 4) internships and vocational integration, and 5) participation in community fairs and exhibitions to showcase learning outcomes. Five specific extracurricular activities were also identified in the research, namely: studying local Sangyod rice farming, exploring the Talay Noi Nature Center, weaving krajood, crafting coconut shell handicrafts, and learning about the art of Bang Kaew shadow puppetry. In addition to these findings, the study revealed a comprehensive strategy for involving parents in extracurricular activities, categorized into four strategic groups. These groups encompass 1) proactive strategies, 1.1) emphasizing increased roles for parents and communities, 1.3) designing activities based on community learning resources, and 1.3) fostering community partnerships. 2) Developmental strategies focus on 2.1) setting goals, action plans, continuous learning programs, and 2.2) resource development in collaboration with local agencies. 3) Reactive strategies involve 3.1) creating clear work schedules and ensuring policy sustainability through school committees and parent clubs. Finally, 4) preventive strategies emphasize the importance of cooperative memoranda to ensure policy continuity and mutual acknowledgment.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherPrince of Songkhla Universityen_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองen_US
dc.subjectกิจกรรมเสริมหลักสูตรen_US
dc.subjectแหล่งเรียนรู้ชุมชนen_US
dc.subjectกลยุทธ์en_US
dc.titleกลยุทธ์การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในกิจกรรมเสริมหลักสูตรฐานชุมชนท้องถิ่น โรงเรียนควนขนุน จังหวัดพัทลุงen_US
dc.title.alternativeStrategies for Enhancing Parental Involvement in Local Community Extracurricular Activities in Khuankhanun School, Phatthalung Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Islamic Sciences-
dc.contributor.departmentคณะวิทยาการอิสลาม-
dc.description.abstract-thการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์กิจกรรมเสริมหลักสูตรบนฐานแหล่งเรียนรู้ของชุมชนโรงเรียนควนขนุน 2) วิเคราะห์กลยุทธ์การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในกิจกรรมเสริมหลักสูตรฐานแหล่งเรียนรู้ชุมชนโรงเรียนควนขนุน การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการการสนทนากลุ่มกับสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเพื่อเลือกผู้เข้าร่วม การศึกษาพบว่าความต้องการหรือความคาดหวังของกิจกรรมเสริมหลักสูตรบนฐานแหล่งเรียนรู้ในชุมชน มี 6 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนตาม ที่หลักสูตรกำหนด 2) เปิดโอกาสตามความสนใจและความถนัดของผู้เรียนในกิจกรรมการเรียนรู้ 3) พัฒนาทักษะการเข้าสังคมและมนุษยสัมพันธ์ 4) สร้างโอกาสในการศึกษาต่อในสาขาวิชาชีพ ของนักเรียน 5) การใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์และการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน 6) สร้างนักเรียนให้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้เรียนบนฐานแหล่งเรียนรู้ชุมชนตามความคิดเห็น ของผู้ปกครองและชุมชนพบว่ามี 5 แนวทาง ได้แก่ 1) กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนร่วมระหว่างโรงเรียนกับของชุมชน 2) การประเมินในรูปแบบของผลผลิตหรือชิ้นงานจากการเรียนรู้ 3) มุ่งเน้นการสร้างรายได้ให้นักเรียนและครอบครัวในชุมชน 4) จัดรูปแบบลักษณะการฝึกงานหรือการบูรณาการกับการทำงานในกิจกรรมท้องถิ่น 5) ร่วมกับงานมหกรรมหรือนิทรรศการในชุมชนเพื่อนำเสนอผลผลิตจากการเรียนรู้ โดยกิจกรรมเสริมหลักสูตรมี 5 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรม การเรียนรู้ศึกษาการทำนาข้าวพื้นเมืองพันธุ์สังข์หยด 2) กิจกรรมศึกษาศูนย์ธรรมชาติทะเลน้อย 3) กิจกรรมการเรียนรู้การจักสานกระจูด 4) กิจกรรมการเรียนรู้หัตถกรรมกะลามะพร้าว 5) กิจกรรมการเรียนรู้ศิลปหัตถกรรมรูปหนังตะลุงบางแก้ว การศึกษาพบกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับประเด็นการสร้างการมีส่วนร่วม ด้านการจัดการเรียนรู้ในบ้าน การร่วมมือกับโรงเรียน และการร่วมมือกับชุมชน แบ่งเป็น 4 กลุ่มกลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์เชิงรุก ประกอบด้วย 1.1) เพิ่มบทบาทผู้ปกครองและชุมชนในกิจกรรมเสริมหลักสูตร 1.2) ออกแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตรบนฐานต้นทุนแหล่งเรียนรู้ของชุมชน 1.3) พัฒนาชุมชนภาคีหรือหุ้นส่วนผู้ปกครอง 2) กลยุทธ์เชิงพัฒนา ประกอบด้วย 2.1) สร้างเป้าหมายและกำหนดแผนปฏิบัติงานในการพัฒนาผู้เรียนร่วมกันระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน 2.2) พัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครองและชุมชนอย่างต่อเนื่อง 2.3) ออกแบบการสนับสนุนทรัพยากรในการเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น องค์กร และหน่วยงานในชุมชน 2.4) พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนแบบออนไลน์เพื่อความสะดวกในการเรียนรู้และการทำงานร่วมกัน 3) กลยุทธ์เชิงรับ ประกอบด้วย 3.1) กำหนดทีมและจัดทำตารางการทำงานที่ชัดเจนในการสนับสนุนจากผู้ปกครอง 3.2) สร้างความยั่งยืนด้านนโยบายโดยคณะกรรมการสถานศึกษาและชมรมผู้ปกครอง 4) กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ จัดทำบันทึกความร่วมมือเพื่อให้นโยบายการทำงาน มีความต่อเนื่องและรับรู้จากทุกฝ่ายen_US
Appears in Collections:761 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6520420108.pdfกลยุทธ์การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในกิจกรรมเสริมหลักสูตร ฐานชุมชนท้องถิ่น โรงเรียนควนขนุน จังหวัดพัทลุง1.21 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons