Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19172
Title: สภาพ ผลกระทบ และแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนแบบญี่ปุ่น
Other Titles: Conditions, Impacts, and Guidelines of Using Lesson Study Innovation for Academic Affair Management in the Deep South Private Islamic Schools
Authors: มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์
วิทยา พยายาม
Faculty of Islamic Sciences
คณะวิทยาการอิสลาม
Keywords: การศึกษาชั้นเรียนแบบญี่ปุ่น;แนวทางการบริหารวิชาการ;โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research was qualitative research 1) to study the general condition of the school's lesson study operation 2) to study the impact of lesson study on school academic administration and 3) to present recommendations on academic administration guidelines of Islamic private schools in the southern border provinces using Japanese lesson study. The research was divided into 2 parts. Part 1 involved a focus group discussion with the administrators, head of academic affairs and teachers from 7 leading schools, totaling 12 people and group discussions with 3 university experts in Lesson Study Innovation. At the same time, non-participating observation was collected with the same 7 leading schools. Part 2 was related to focus group discussions with 5 experts, 2 experts in lesson study, 2 experts in Islamic private school administration and 1 expert in teacher professional development. The results showed that 1.Before using Japanese Lesson Study innovation, academic administration of private Islamic schools in the southern border provinces had organized activities and projects that had not focused on classes. They had not been met the quality assurance standards for learners and teachers. They had also not being paid attention to the course study in teaching design, classroom teaching management model focusing on the learners. Funding and learning resources were limited. The measurement and evaluation had been focused on tests and exams. The development of teachers would be focused on organizing training or sending them to external training which cannot be developed or applied in practices. There are also additional findings that Private Islamic schools in the southern border provinces has started to know lesson study through the experience and work of Thaksin University, Prince of Songkla University, and private Islamic schools that had early joined. They have understood that lesson study promotes professional development through the Professional Learning Community (PLC), the development of teaching innovations, thinking-based teaching and fosters confidence in students' presentations. The lesson study has a background and history of expanding the concept of classroom education innovation in the southern border provinces since 2004. There was an official talk of universities in the southern border provinces. It has been also found that the concept of Islamic principles facilitate the successful and smooth implementation of lesson study. 2. Using lesson studyhas affected the academic administration of private Islamic schools in the southern border provinces in terms of academic programs and insurance. It can be able to meet internal and external quality assurance standards. In term of curriculum management, it has caused all stakeholders both executives, academic heads, and teachers to develop curricular. In term of learning, it has enabled administrators to have a role in classroom management. It has also been emphasized on teaching and learning management that focuses on learners as important. In term of learning resource management, executives support media, learning equipment to enable teachers to design teaching materials. In term of measurement and evaluation, the assessment has been focused on individual development, process, student's problem solving concept. And, in term of teacher professional development, this caused the teacher development model to shift from focusing on sending teachers attending training to developing through normal classroom work processes. It helps them to work together as a team in which the administrators play an important role in the development of the teacher profession. 3. Suggestions for academic management guidelines for Islamic private schools in the southern border provinces using lesson study are that; 1) schools must plan and set a calendar of classroom education innovations in the school's main operational calendar. 2) Administrators must play a role in curricular and learning management, support and manage learning resources, participate in monitoring, measuring and evaluating learning outcomes, and play an important role in the development of the teaching profession by promoting and encouraging teachers to learn and develop themselves through internal and external learning. Moreover; an academic head must work with administrators to design, to implement and to monitor the implementation of lesson study continuously. Teachers must understand the curriculum, recognize and design learning management that focuses on learners, produce teaching materials that are consistent with learning management methods. Teachers must also realize that working as a team is to learn, to listen to suggestions, to open classes continuously and to participate in various network activities.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการดำเนินงาน นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนของโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้น เรียนที่มีผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน และ 3) เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะแนวทางการ บริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ใช้นวัตกรรม การศึกษาชั้นเรียนแบบญี่ปุ่น แบ่งการวิจัยเป็น 2 ตอน โดยตอนที่ 1 ทำการสนทนากลุ่มกับผู้บริหาร หัวหน้าวิชาการ และครูผู้สอน จากโรงเรียนแกนนำ 7 โรงเรียน จำนวน 12 ท่าน และทำการสนทนา กลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนอีก 3 ท่าน พร้อมกันนั้นได้มีการเก็บข้อมูลแบบไม่ มีส่วนร่วมกับโรงเรียนแกนนำทั้ง 7 โรงเรียน และตอนที่ 2 ทำการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน 2 ท่าน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลาม 2 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาวิชาชีพครู 1 ท่าน ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน มีการจัดกิจกรรม โครงการที่ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ชั้นเรียน ไม่ตอบ โจทย์มาตรฐานประกันคุณภาพด้านผู้เรียนและด้านครู ไม่ใส่ใจในการศึกษาหลักสูตรในการออกแบบ การสอน รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนไม่ได้มุ่งเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ มีข้อจำกัดในการ สนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรการเรียนรู้รูปแบบการวัดและประเมินผลเน้นการสอบเป็นหลัก และการพัฒนาครูผู้สอนจะเน้นไปที่การจัดการอบรมหรือส่งเข้าอบรมภายนอกซึ่งไม่สามารถนำมา พัฒนาหรือปรับใช้ได้จริง นอกจากนี้ยังมีข้อค้นพบเพิ่มเติมว่า โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดชายแดนภาคใต้เริ่มต้นรู้จักนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนผ่านประสบการณ์และการทำงานของ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่เข้าร่วมมา ก่อน ด้วยความเข้าใจว่านวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนนั้นส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพผ่านชุมชนการ เรียนรู้วิชาชีพ(PLC) ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการสอน ส่งเสริมการสอนที่เน้นการคิดและส่งเสริม ความมั่นใจในการนำเสนอของนักเรียน มีภูมิหลังและความเป็นมาของการขยายแนวคิดนวัตกรรม การศึกษาชั้นเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 ซึ่งมีการพูดคุยเป็นทางการของ มหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และยังพบว่าแนวคิด หลักการอิสลามมีความเอื้อให้เกิด การดำเนินนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนให้ประสบความสำเร็จและราบรื่น 2. การใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน มีผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านแผนงานวิชาการและการประกัน สามารถตอบ โจทย์มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในและภายนอก ด้านการบริหารหลักสูตร ทำให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งผู้บริหาร หัวหน้าวิชาการและครูผู้สอนให้ความใส่ใจศึกษาหลักสูตร พร้อมกับมีการปรับปรุง หลักสูตร ด้านการจัดการเรียนรู้ ทำให้ผู้บริหารมีบทบาทในการจัดการชั้นเรียน เน้นการจัดการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการบริหารทรัพยากรการเรียนรู้ ผู้บริหารสนับสนุนสื่อ อุปกรณ์ การเรียนรู้ เพื่อเอื้อให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบสื่อการสอนได้ ด้านการวัดและประเมินผล ทำให้การ ประเมินเน้นไปที่พัฒนาการรายบุคคลและให้ความสำคัญกับกระบวนการ แนวคิดการแก้ปัญหาของ นักเรียนเป็นสำคัญ และด้านการพัฒนาวิชาชีพครู ทำให้รูปแบบการพัฒนาครูเปลี่ยนการจากการเน้น ส่งครูเข้าอบรมมาเป็นการพัฒนาผ่านกระบวนการทำงานปกติในชั้นเรียน ทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งมี ผู้บริหารเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพครู 3. ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา อิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน โรงเรียนที่ใช้นวัตกรรมฯ ต้องวางแผน กำหนดปฏิทินการดำเนินงานนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนในปฏิทินการดำเนินงานหลักของโรงเรียน ผู้บริหาร ต้องมีบทบาทในด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การสนับสนุนและบริหารทรัพยากรการ เรียนรู้ มีส่วนร่วมในการติดตามการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพ ครูผู้สอนด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองด้วยการเรียนรู้ทั้งภายในและ ภายนอก ส่วนหัวหน้าวิชาการ จะต้องร่วมกับผู้บริหารในการออกแบบ ดำเนินการและติดตามการ ดำเนินงานนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และครูผู้สอนต้องทำความเข้าใจ หลักสูตร ตระหนักและออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลิตสื่อสำหรับการสอนที่ สอดคล้องกับวิธีการจัดการเรียนรู้ ตระหนักถึงการทำงานเป็นทีม เรียนรู้และรับฟังข้อเสนอแนะ เปิด ชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง และเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของเครือข่าย
Description: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19172
Appears in Collections:761 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6220420119.pdfJapanese Lesson Study Innovation3.35 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons