Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18242
Title: การกำหนดอายุด้วยเทคนิคอิเล็กตรอนสปินเรโซแนนซ์ของซากหอยน้ำจืดจากแหล่งโบราณคดีเพิงผาปาโต๊ะโระ ถ้ำเขาหาน จังหวัดสตูล ภาคใต้ของประเทศไทย
Other Titles: Electron Spin Resonance Dating of Freshwater Shells in Pa Toh Roh Shelter Archaeological site, Khao Han Cave, Satun Province, Southern Thailand
Authors: ธิดารัตน์ วิชัยดิษฐ
ปฏิพัฒน์ เสียงแจ้ว
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
Faculty of Science and Technology (Science programs)
Keywords: อิเล็กตรอนสปินเรโซแนนซ์;ซากหอยน้ำจืด;แหล่งโบราณคดีเพิงผาปาโต๊ะโระ
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The Office of the Fine Arts Department 13th Songkhla has surveyed and excavated archaeological sites, in the lower south of Thailand which found evidence of both antiquities and many ecological objects such as human skeletons, pottery, fossil shells, and animal bones, one of the archaeological sites is Pa Toh Roh Shelter Archaeological site, Khao Han Cave, Satun Province, Southern Thailand. In this study, the electron spin resonance (ESR) technique was utilized to determine the age of six freshwater fossil shells collected from the Pa Toh Roh Shelter Archaeological site at three distinct depths. Freshwater fossil shells clams with the codes SH1-010, SH2-123, SH3-248 (level 2, 70–80 cm), SH3-028, SH5-253 (level 3, 80–90 cm), and SH6-140 (level 4, 90–100 cm). X-ray diffraction (XRD) examination of samples revealed the crystal structures of aragonite and calcite. The characteristics of ESR signals from freshwater shells crystal powder, size 90-150 µm, were studied. The ESR signal before irradiation was found two characteristics, that is, six-line signal and double line signal. The six line signal indicated to be manganese ions (Mn2+) and double line signal, caused by the reaction between limestone of calcium carbonate in freshwater shells and humidity. After irradiation with 120 Gy of dose, it was discovered that the signal generated by manganese ions (Mn2+) did not increase when various radiation doses. However, increasing the area under the magnetic field between 349-352 mT can reveal the type of signal produced. It consists of signals generated by molecular ions SO2 - and SO3 - with values g = 2.0057 and g = 2.0031, respectively, and molecular ions CO2 - with g = 2.0016 and g = 1.9973. Analysis of these results revealed that the signal at g = 2.0016 caused by the molecular ion CO2 - was also suitable for the accumulated dose analysis utilized in age determination by the ESR technique. By studying the correlation curve of ESR signal intensity increasing from gamma ray irradiation from 0-120 Gy by additive dose method, it was found that there was a linear relationship. and the accumulated dose was 11.32±0.39 Gy to 22.84±0.76 Gy. Later, an analysis was performed to determine the annual dose of radiation. By measuring the concentration of radioactive elements in nature (U-238, Th-232, and K-40) in the freshwater shells samples and the soil surrounding the samples, as well as the cosmic ray exposure, the range was determined to be between 2.88±0.07 and 6.90±0.06 mGy/y. As a result of the accumulated dose and annual doses. Analyzing the ages of freshwater shells showed a range of ages between 3,310±115 and 4,655±210 years. The age of the samples discovered here shows that it dates back to the prehistoric era. Similar to adjacent archaeological sites, it dates to the Neolithic period. In addition, the age determined was consistent with the results of the report on the relative age determination of the Office of the Fine Arts Department 13th Songkhla, which included the examination of freshwater shells remains. Prior research into thermoluminescence techniques.
Abstract(Thai): สำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา ได้สำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดี ทางภาคใต้ ตอนล่างของประเทศไทย ซึ่งพบทั้งหลักฐานทางโบราณวัตถุและนิเวศวัตถุจำนวนมาก เช่น โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เปลือกหอย กระดูกสัตว์ หนึ่งในแหล่งโบราณคดีนั้นคือ แหล่งโบราณคดีเพิงผาปาโต๊ะโระ ถ้ำเขาหาน จังหวัดสตูล ภาคใต้ของประเทศไทย งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้เทคนิค อิเล็กตรอนสปินเรโซแนนซ์ (ESR) เพื่อกำหนดอายุซากหอยน้ำจืดซึ่งเก็บจากแหล่งโบราณคดีเพิงผาปา โต๊ะโระ จำนวน 6 ตัวอย่าง ที่ระดับความลึกต่างกัน 3 ระดับ ประกอบด้วย ตัวอย่างซากหอยน้ำจืดรหัส SH1-010, SH2-123, SH3-248 (ระดับ 2, 70-80 cm), SH3-028, SH5-253 (ระดับ 3, 80-90 cm) และ SH6-140 (ระดับ 4, 90-100 cm) จากการตรวจสอบตัวอย่างซากหอยน้ำจืดด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบน รังสีเอกซ์ (XRD) พบว่าโครงสร้างผลึกแบบอราโกไนต์และแคลไซต์ต่อมาศึกษาลักษณะเฉพาะของ สัญญาณ ESR จากผลึกตัวอย่างซากหอยน้ำจืด ขนาด 90-150 µm พบว่าสัญญาณ ESR ที่ไม่ผ่านการ ฉายรังสี (0 Gy) ปรากฏสัญญาณแบบหกพีคและสัญญาณแบบพีคคู่ โดยสัญญาณแบบหกพีคระบุว่า เป็นสัญญาณที่เกิดจากแมงกานีสไอออน (Mn2+) และสัญญาณแบบพีคคู ่ระบุว่าเกิดจากปฏิกิริยา ระหว่างหินปูนของแคลเซ๊ยมคาร์บอเนตในซากหอยน้ำจืดกับความชื้น และเมื่อผ่านการฉายรังสีที่ ขนาด 120 Gy พบว่าสัญญาณที่เกิดจากแมงกานีสไอออน (Mn2+) ไม่มีการเพิ่มขึ้นตามปริมาณรังสี แต ่เพิ ่มขึ้นบริเวณภายใต้สนามแม ่เหล็กในช่วง 349-352 mT ซึ ่งสามารถระบุชนิดของสัญญาณที่ เกิดขึ้นได้ซึ่งประกอบด้วยสัญญาณที่เกิดจากโมเลกุลไอออน SO2 - และ SO3 - ที่มีค่า g = 2.0057 และ g = 2.0031 ตามลำดับ และโมเลกุลไอออน CO2 - ที่มี g = 2.0016 และ g = 1.9973 จากผลดังกล่าว เมื่อนำมาวิเคราะห์พบว่า สัญญาณที่ g = 2.0016 ที่เกิดจากโมเลกุลไอออน CO2 - มีความเหมาะสมต่อ การวิเคราะห์ค ่าปริมาณรังสีสะสมที ่ใช้ในการกำหนดอายุด้วยเทคนิค ESR โดยศึกษาจากกราฟ ความสัมพันธ์ของความเข้มสัญญาณ ESR ที่เพิ่มขึ้นจากการฉายรังสีแกมมาตั้งแต่ 0-120 Gy ด้วยวิธี Additive dose พบว่ามีความสัมพันธ์เป็นเชิงเส้น และมีค่าปริมาณรังสีสะสม 11.32±0.39 Gy ถึง 22.84±0.76 Gy ต่อมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าปริมาณรังสีต่อปี โดยศึกษาจากปริมาณความเข้มข้นธาตุ กัมมันตรังสีในธรรมชาติ(U-238,Th-232 และ K-40 ) ทั้งในตัวอย่างซากหอยน้ำจืดและดินรอบซากหอย น้ำจืด ด้วยเทคนิค NAA รวมทั้งปริมาณรังสีคอสมิก พบว่ามีค่า 2.88±0.07 ถึง 6.90±0.06 mGy/y จากผลของปริมาณรังสีสะสมและปริมาณรังสีต่อปี เมื่อนำมาวิเคราะห์ค่าอายุของตัวอย่างซากหอยน้ำจืด พบว่ามีค่า 3,310±115 ถึง 4,655±210 y ค่าอายุของซากหอยน้ำที่ได้นี้สามารถยืนยันได้ว่าจัดอยู่ใน สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีอายุย้อนไปถึงยุคหินใหม่ (Neolithic period) ซึ่งคล้ายกันกับการ ค้นพบของแหล ่งโบราณคดีใกล้เคียง นอกจากนี้อายุที ่ได้ยังสอดคล้องกับผลลัพธ์จากการรายงาน การกำหนดอายุแบบสัมพัทธ์ของสำนักกรมศิลปากรที่ 13 สงขลา รวมทั้งการตรวจสอบของซากหอย น้ำจืดด้วย เทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ที่ทำการศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ฟิสิกส์ประยุกต์), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18242
Appears in Collections:722 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6420320801.pdf11.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons