Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18151
Title: | การศึกษาความคิดเห็นของผู้นำประชาชนที่มีต่อกระบวนการสันติภาพในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ : กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี |
Other Titles: | Perspectives of Local Leaders upon Conflict Resolution and Peace Process in Three Southernmost Provinces : A Case Study of Muang District, Pattani Province |
Authors: | บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ ธีรวัฒน์ จำนงอนุวัตร Faculty of Management Sciences (Public Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
Keywords: | ความคิดเห็น;ผู้นำท้องถิ่น;กระบวนการสันติภาพ;ผู้นำในระดับกลางของสังคม;พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ |
Issue Date: | 2023 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | The violence in the three southern border provinces of Thailand occurred for more than 19 years. This problem has been affecting insecurity, property, and the quality of life. Trying to restore peace to the three southern border provinces is therefore an important policy. The purpose of this study is to review the current perspective on conflict resolution and factors affecting the peace process in the three southern border provinces including recommendations from the middle leadership group (Track 2). This study used qualitative research methods, The key informants were 12 middle leaders of society (Track 2), including 4 community leaders, 4 local leaders (Tambon Administrative Organizations), and 4 religious’ leaders (Imams) who live in the Pattani province. The tool used in this research was an in-depth interview. Data collection was done using in-depth interviews and research documents. The result showed that the violence is a result of a power struggle in the area, distorted history, religious beliefs, and drug trafficking. The people in the area want peace which is the meaning of Islam. The current violent situation tends to change in a better direction. Moreover, the people support compromising the process of government, but some people still have concerned about the peace process. Leaders suggest the leaders of the provincial Islamic committee participate in the negotiation process and give offenders a chance to return to their normal life. They also recommend using the King’s philosophy for solving conflict and they want to have a special administrative region. The middle leader hopes this solution would be able to improve the peace process in the three southern border provinces. |
Abstract(Thai): | เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างยาวนาน เป็นระยะเวลากว่า 19 ปี ส่งผลกระทบต่อความไม่ปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน และคุณภาพชีวิตของประชาชนทุก ๆ ด้าน การพยายามสร้างสันติภาพให้กลับคืนสู่พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้นำประชาชนที่มีต่อกระบวนการสันติภาพในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการสันติภาพใน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ของผู้นำในระดับกลางของสังคม (Track 2) และเสนอแนะกระบวนการสร้างสันติภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักผู้นำในระดับกลางของสังคม (Track 2) จำนวน 12 คน ได้แก่ ผู้นำชุมชน (กำนันหรือประธานชุมชน) จำนวน 4 คน ผู้นำท้องถิ่น (นายก อบต.) จำนวน 4 คน และผู้นำศาสนา (อิหม่าม) จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ผลการศึกษา พบว่า ผู้นำในระดับกลางของสังคม (Track 2) มีแนวความคิดว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาทำให้เกิดความแตกแยก สาเหตุมาจากการแย่งชิงอำนาจในพื้นที่ บิดเบือนประวัติศาสตร์ และความเชื่อทางศาสนา อีกทั้งมาจากเรื่องของผลประโยชน์ และยาเสพติด เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นมานาน ประชาชนต้องการให้เกิดสันติภาพขึ้น อีกทั้งผู้นำได้สะท้อนว่าสันติภาพตรงกับคำว่าอิสลาม ที่แปลว่าสันติสุข โดย ณ ปัจจุบันผู้นำได้มองว่าเหตุการณ์ในพื้นที่มีจำนวนเหตุการณ์ที่ลดลง และมีแนวโน้มที่จะไปในทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้สภาพแวดล้อมโดยรวมมีความรุนแรงลดน้อยลง และใช้ชีวิตได้อย่างสงบสุข อีกทั้งมีความเชื่อมั่นว่าเหตุการณ์ความรุนแรงจะสงบลงได้ด้วยการพูดคุยเจรจาของรัฐบาล แต่พบว่ารัฐบาลไม่ได้ประชาสัมพันธ์ผลของการพูดคุยให้ประชาชนทราบมากนัก และสิ่งที่ประชาชนกังวลอีกอย่างคือ รัฐบาลไทยไปพูดคุยเจรจาด้วยนั้นเป็นบุคคลที่อยู่เบื้องหลังของการก่อเหตุที่แท้จริงหรือไม่ และในการพูดคุยประชาชนผลักดันผู้นำ 4 เสา และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเข้าไปมีส่วนพูดคุยเจรจา และต้องการให้โอกาสผู้ที่หลงผิดได้กลับเข้าสู่หลักศาสนาที่ถูกต้องอีกครั้ง พร้อมทั้งแนะนำให้ใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เป็นยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งผู้นำนั้นไม่ต้องการแบ่งแยกดินแดนแต่ต้องการให้มีการปกครองแบบเขตปกครองพิเศษ เพื่อให้ในพื้นที่ได้เกิดเป็นสันติภาพทั้งเชิงบวกและเชิงลบ |
Description: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2566 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18151 |
Appears in Collections: | 465 Minor Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6410521522.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
บทความ ธีรวัฒน์ จำนงอนุวัตร.pdf | 250.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License