Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18123
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมพร คุณวิชิต | - |
dc.contributor.author | สิรีธร สิงห์นำโชค | - |
dc.date.accessioned | 2023-04-28T02:13:09Z | - |
dc.date.available | 2023-04-28T02:13:09Z | - |
dc.date.issued | 2023 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18123 | - |
dc.description | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2566 | en_US |
dc.description.abstract | The purposes of this research are to (1) examine the achievement of development policy of the Southern Border Provinces Administrative Centre (SBPAC); (2) analyze problems/obstacles that impeded policy implementation; and (3) propose improvements of policy implementation in the future. A combination of both qualitative and quantitative research methods was employed. Document research, in-depth interviews, and survey questionnaire were used to collect data. The key informants for this study are 28 people who were representatives of the SBPAC and other organizations in the three southern-most provinces. In-depth interview data were validated using data triangulation approach. Qualitative data were analyzed using content analysis method and quantitative data were analyzed using mean value. Results show that (1), overall, the implementation of development projects have some level of progress and achieve some of the SBPAC’s objectives. However, some objectives have not been met and have low to medium levels of progress. When considering each aspect of the development policy, this research found that equality provision and victim compensation aspect was most progressed (x ̅ = 4.08), which was consistent with data from in-depth interviews. This was followed by economic aspect (x ̅ = 3.21), multi-cultural and religious aspect (x ̅ = 3.14) and, finally, educational aspect (x ̅ = 2.77), these results were also consistent with the results of qualitative data analysis. (2) Some obstacles that impeded the progress of SBPAC’s development policy implementation include the lack of integration of related organizations, the overlapping role of SBPAC with other organization in the areas, unclear work procedures, the influence of national politics, the lack of knowledge about area contexts among the personnel and etc. (3) It is recommended in this research that SBPAC play a supportive role in the development of three southern-most provinces, collaborate with other agencies to make the most progress of development policy implementation, focus on big projects, nurture public participation and employ the bottom-up approach of policy formulation. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand | * |
dc.rights.uri | http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/ | * |
dc.subject | ยุทธศาสตร์ | en_US |
dc.subject | การพัฒนา | en_US |
dc.subject | การบริหารจัดการภาครัฐ | en_US |
dc.subject | ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) | en_US |
dc.title | การศึกษาผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ | en_US |
dc.title.alternative | A Study of Achievements from the Administration and Development Policy for Southern Border Provinces, Southern Border Provinces Administrative Center | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.contributor.department | Faculty of Management Sciences (Public Administration) | - |
dc.contributor.department | คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ | - |
dc.description.abstract-th | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในมิติด้านการพัฒนา 2) วิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวในที่ผ่านมา และ 3) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานตามนโยบายในอนาคต ใช้ระเบียบการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยการค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก และสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ในการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งสิ้น 28 คน ประกอบด้วยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของ ศอ.บต. และตัวแทนหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ด้วยการหารูปแบบของข้อความเพื่อจัดกลุ่มข้อความที่มีเนื้อหา นัยยะ หรือความหมายที่คล้ายคลึงกัน สำหรับข้อมูลจากแบบสำรวจความคิดเห็น วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาโดยการหาค่าเฉลี่ยของข้อมูล ผลการศึกษามีดังต่อไปนี้ (1) ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงาน พบว่า ภาพรวมของการดำเนินงานมีความก้าวหน้า ครอบคลุม และตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของนโยบาย แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังไม่ค่อยก้าวหน้าและตอบโจทย์นโยบายเท่าที่ควร กล่าวคือ ด้านอำนวยความเป็นธรรมและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบได้รับค่าเฉลี่ยความก้าวหน้าระดับมาก ( (x ̅= 4.08) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดจากการดำเนินงานทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์เชิงลึกที่มองว่าด้านนี้ประสบความสำเร็จมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจได้คะแนนความก้าวหน้าระดับปานกลาง (x ̅ = 3.21) ด้านสังคมพหุวัฒนธรรมและศาสนาได้รับคะแนนความก้าวหน้าระดับปานกลาง (x ̅ = 3.14) และสุดท้ายด้านการศึกษาได้รับคะแนนความก้าวหน้าระดับปานกลาง (x ̅ = 2.77) แต่เป็นระดับคะแนนต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับด้านอื่น ๆ ผลการสำรวจความคิดเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีการระบุว่าภารกิจบางอย่างในด้านเหล่านี้ก็มีความก้าวหน้าและตอบโจทย์นโยบายของ ศอ.บต. แต่บางภารกิจก็ยังไม่ก้าวหน้าและยังไม่ตอบโจทย์นโยบายเท่าที่ควร (2) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ประกอบด้วย การขาดการบูรณาการทั้งในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน บทบาท ศอ.บต.ที่ทำซ้อนกับหน่วยงานอื่นในพื้นที่ ขาดการวางระบบขั้นตอนที่ชัดเจนในการทำงาน ดำเนินงานที่ผิดบทบาท มีการทำงานในลักษณะที่สนองนโยบายทางการเมืองมากไป การมีคำสั่งของ คสช. มาควบคุมกำกับการทำงานในพื้นที่ การคัดเลือกผู้เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ไม่เข้าใจบริบทพื้นที่ ปัญหา โควิด - 19 และเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังคงดำเนินอยู่ (3) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงาน ได้แก่ ศอ.บต. ควรแสดงบทบาทการเป็นผู้หนุนเสริม เติมเต็ม ต่อ ยอด งานหน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่ ควรบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรทำงานในโครงการขนาดใหญ่มากกว่าโครงการขนาดเล็ก ควรเป็นแหล่งข้อมูลทางวิชาการ ควรทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ และควรเสนอการจัดทำนโยบายด้วยการนำปัญหาความต้องการจากพื้นที่สะท้อนสู่เบื้องบนในลักษณะ Bottom Up มากยิ่งขึ้น | en_US |
Appears in Collections: | 465 Minor Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6410521541 Article.pdf | 527.78 kB | Adobe PDF | View/Open | |
6410521541.pdf | 2.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License