Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17533
Title: แนวทางส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลวัดสน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
Other Titles: The Guidelines of Potential Promotion for the Elderly, Wat Son Subdistrict Administration Organization, Ranot District, Songkhla Province
Authors: พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์
ณัฐนนท์ อินทร์ชุม
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
Keywords: แนวทางส่งเสริมศักยภาพ;ผู้สูงอายุ
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objective of this research was to find out the potential promotion for the elderly, Wat Son Subdistrict Administration Organization, Ranot District Songkhla Province. The study was a qualitative research by In-depth interview. A sample of 60 cases was drawn from Elderly, Wat Son Subdistrict Administration Organization, Ranot District Songkhla Province. This research presents a descriptive analysis of the data obtained through the data collection instrument. Based on the findings of this investigation, it was concluded that the congenital diseases of most elders are hypertension and diabetes. They are treated at Ranot hospital. They take care of themselves by exercising, eating healthy food, complying and taking medicine with the doctor's order. The elders satisfied healthcare that the government arranged. The income of most of the elders is lower than 1,000 baht due to having received a subsistence allowance from the government only. The elder is not the member of the occupational group but they still have knowledge and skills about vocations and agriculture in instructing people, and there are lands for livelihood within the community. They always attend community activities and exchange opinion because they obtained information directly and clearly. Some patient and elder are far from a community, lack of treatment and knowledge of healthcare. Therefore they want doctors or specialists survey, see, auscultate and educate about healthcare in the area. Based on the major findings, it was recommended as follows: (1) the healthcare for elderly policies should be specified clearly for complying and following up to improve efficiency; (2) should there are healthcare forum by focusing on the people are involved in proposing opinions, needs, problems, and solution in order to set healthcare for the elder policies that are consistent with the needs and lifestyles of the community; (3) the knowledge training about the healthcare of elder should be provided to the staff responsible for public health in the community; and (4) elderly people should be encouraged to participate in health promotion activities, such as sports courts, adequate equipment and suitable for elderly people.
Abstract(Thai): ในการศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพผู้สูงอายุ และหาแนวทางส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลวัดสน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้สูงอายุในพื้นที่ จำนวน 60 คน และวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีการรักษาสุขภาพที่โรงพยาบาลระโนด ดูแลตนเองโดยการออกกำลังกาย ผู้ที่มีโรคประจำตัวจะมีการดูแลตนเองโดยการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีความพึงพอใจในการรับสวัสดิการจากการรักษาพยาบาลจากภาครัฐจัดให้ ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 1,000 บาท เพราะมีเพียงรายได้จากเงินสวัสดิการจากผู้สูงอายุเพียงเท่านั้น ไม่ได้เป็นสมาชิกของกลุ่มอาชีพแล้ว แต่ยังพอมีความรู้และมีทักษะในการประกอบอาชีพกันทุกคน และมีความรู้และทักษะในด้านเกษตรกรรมส่วนใหญ่ มีการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะได้รับข้อมูลที่ชัดเจนโดยตรง ได้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและเข้าไปมีบทบาทในกิจกรรมต่างๆ ภายในชุมชนมีที่ดินพร้อมที่จะให้ลูกหลานทำมาหากินสืบต่อ และพอมีความรู้ที่จะชี้แนะได้บ้าง ต้องการให้องค์การบริหารส่วนตำบล จัดแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ให้มากขึ้น เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพชาวบ้าน เพราะยังมีชาวบ้านบางกลุ่ม และผู้สูงอายุที่ขาดการรักษาอีกมาก ที่อาศัยอยู่ไกลจากชุมชน และขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพ ต้องการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการรักษา พยาบาล เพราะไม่มีรายได้จากการทำงาน ต้องการแพทย์เข้ามาพบปะ พูดคุย ตรวจเช็คร่างกาย และให้คำปรึกษาตามครัวเรือน ข้อเสนอแนะในการวิจัย ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล ควรกำหนดนโยบายด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ชัดเจนเพื่อนำไปปฏิบัติและติดตามผลนำไปปรับแก้ไขให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรจัดเวทีประชาคมด้านสุขภาพ โดยเน้นให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ความต้องการ ปัญหา แนวทางการแก้ไขเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตของชุมชน ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการดูแลสุขภาพของแรงงานผู้สูงอายุ ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านสาธารณสุของค์การบริหารส่วนตำบล ให้มีความรู้และสามารถดำเนินงานในองค์กรของตนเองได้ ควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น มีลานกีฬา การจัดให้มีอุปกรณ์การออกกำลังการอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับผู้สูงอายุ
Description: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร), 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17533
Appears in Collections:465 Minor Thesis



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.