Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17204
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฑามาณี ตระกูลมุทุตา-
dc.contributor.authorจุฑามาศ สารีปา-
dc.date.accessioned2021-08-02T03:23:39Z-
dc.date.available2021-08-02T03:23:39Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17204-
dc.descriptionรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, 2563en_US
dc.description.abstractThe study of “problems and obstacles in the operation of the village militias in Pattani Province” aimed to study of problems and obstacles in an operation of the village militias in Pattani Provinceand suggestions for solving obstacles and recommendations in the operation of the village militias in Pattani Province with personal factor. Sample groups were local village militias living in Saiburi Nongjik and Tungyangdaeng district, Pattani province, totally 370 persons. Data collection was performed by using questionnaire which were subsequently analyzed using percentage, mean, standard deviation and chi-square test. Results of the study found that the village militias in Pattani Province had problems and obstacles in on operation on manpower, management and morale aspects at a medium level, but Budget and material at a hight level. When ranked it was found that the largest obstacle was materials, followed by budget, morale and management. Manpower had problem and obstacle in on operation was the least level. Further analysis showed that the personal factors such as age, religion, career, and monthly income and period of working related to problems and obstacles in an operation of the village militias in Pattani Province with statistical significance. While the factors of sex had not related to problems and obstacles in an operation of the village militias in Pattani Province. Suggestion of the study the government should provide skills training, improve quality of life the village militias and procure materials and equipment that is modern and standard.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดปัตตานี (ชรบ.)en_US
dc.subjectการปฏิบัติงานen_US
dc.subjectปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานen_US
dc.titleปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีen_US
dc.title.alternativeProblems and Obstacles in the Operation of the Village Militias in Pattani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Management Sciences (Public Administration)-
dc.contributor.departmentคณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์-
dc.description.abstract-thการศึกษา เรื่อง ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน(ชรบ.) ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ตามปัจจัยส่วนบุคคลประชากรที่ใช้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ในพื้นที่อำเภอสายบุรี อำเภอหนองจิก และอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน มีการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้คือ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี มีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ด้านกำลังคน ด้านการบริหารจัดการ และด้านขวัญและกำลังใจ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านงบประมาณและด้านวัสดุอุปกรณ์อยู่ในระดับสูง โดยเมื่อนำมาจัดลำดับพบว่า ด้านที่มีปัญหามากที่สุดตามลำดับ ได้แก่ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านงบประมาณ ด้านขวัญและกำลังใจ และด้านการบริหารจัดการ ส่วนด้านกำลังคนมีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่น้อยที่สุด ส่วนการศึกษาถึงความสัมพันธ์พบว่าตัวแปรอิสระ ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย ปัจจัยด้านอายุ ศาสนา อาชีพปัจจุบัน รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) มีความสัมพันธ์กับปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ปัจจัยด้านเพศของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ไม่มีความสัมพันธ์กับปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี สำหรับข้อเสนอแนะคือ หน่วยงานรัฐควรจัดฝึกอบรมทักษะการปฏิบัติหน้าที่ของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ยกระดับคุณภาพชีวิตชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ให้ดีขึ้นและจัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ที่มีความทันสมัยและมาตรฐานen_US
Appears in Collections:465 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทความ.pdf502.07 kBAdobe PDFView/Open
6110521506.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons