Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15147
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอำพร, ศักดิ์เศรษฐ-
dc.contributor.authorชไมพร, แก้วศรีทอง-
dc.contributor.authorสุภาพ, สังขไพทูรย์-
dc.contributor.authorหฤษฎ์, บินโต๊ะหีม-
dc.contributor.authorสุวิมล, สี่หิรัญวงศ์-
dc.date.accessioned2016-02-25T03:17:34Z-
dc.date.accessioned2021-05-17T11:19:16Z-
dc.date.available2016-02-25T03:17:34Z-
dc.date.available2021-05-17T11:19:16Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15147-
dc.description.abstractการประเมินสภาวะชนบทแบบมีส่วนร่วมในพรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะชุมชนทั่วไป ศักยภาพด้านเศรษฐกิจสังคม บทบาทหญิงชาย ลักษณะการทำ การประมง ปัญหาในชุมชน และแนวทางการแก้ไข โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ชุมชนรอบพรุควนเคร็ง จำนวน 8 หมู่บ้าน ระหว่างเดือนตุลาคม 2549 ถึงเดือนกันยายน 2550 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีทั้งประชุมย่อย การ สังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การระดมความคิดเห็น และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า สภาพพื้นที่ทั่วไปของหมู่บ้านบริเวณพรุควนเคร็งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่ม ประกอบไปด้วยสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน นาข้าว พื้นที่ปลูกผัก และป่าพรุ จำนวนครัวเรือนในหมู่บ้าน 70-135 ครัวเรือน การกระจายของครัวเรือนไม่หนาแน่น ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และรับจ้างทั่วไป การ คมนาคมสะดวก ประวัติการก่อตั้งหมู่บ้าน ส่วนใหญ่ย้ายมาจากที่อื่น ชื่อของหมู่บ้านถูกตั้งชื่อจากสิ่งที่พบ เป็นลักษณะเด่นในหมู่บ้าน และเพี้ยนมาจากชื่อเดิม อาชีพหลักของชุมชน ส่วนใหญ่เป็นอาชีพทำสวน ปลูก ผัก ทำนา รับจ้างทั่วไป หัตถกรรม และเลี้ยงสัตว์ ส่วนอาชีพรอง ได้แก่ ทำการประมง ค้าขาย รับราชการ และ เลี้ยงปลา ปฏิทินในการประกอบอาชีพต่างๆ มักทำตลอดทั้งปี การทำการประมงมีการใช้เครื่องมือประมงตามสภาพของพื้นที่ และฤดูกาล ระดับฐานะของชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างยากจน ประเพณีต่างๆ คือ งานชักพระ งานบุญสาร์ทเดือนสิบ สงกรานต์ งานทำบุญวันปีใหม่ และงานบุญทอดกฐิน- ผ้าป่า กิจกรรมที่ใช้แรงงานมากๆ ส่วนใหญ่เพศชายมักมีบทบาทในสัดส่วนที่มากกว่าเพศหญิง การประมง ส่วนใหญ่ทำในบริเวณหมู่บ้านตนเองโดยใช้เรือพายและเรือหางยาวเป็นพาหนะในการเดินทาง สัตว์น้ำที่จับ ได้จะนำมาบริโภคภายในครัวเรือน และแปรรูป ส่วนที่เหลือจากการบริโภคจะนำไปขายในตลาด หรือเพื่อน บ้าน เครื่องมือทำการประมงที่นิยมใช้มากที่สุดในพรุควนเคร็ง คือ ลอบ และข่าย ปัญหาหลักของชุมชน ได้แก่ จำนวนสัตว์น้ำลดลง และไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งชุมชนได้ เสนอแนวทางการแก้ปัญหาสัตว์น้ำลดลง คือ ควรมีการเปิดประตูระบายน้ำอุทกวิภาชย์ประสิทธิ์บ่อยขึ้น เพื่อให้น้ำไหลหมุนเวียนทำให้เกิดการถ่ายเทน้ำเสียและสัตว์น้ำกร่อยได้มีโอกาสเข้ามาในพื้นที่ป่าพรุฯ ควร ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำมากขึ้น ลอกคลองต่างๆ เพื่อกำจัดวัชพืช เจ้าหน้าที่ต้องเข้มงวดในการควบคุมการใช้ เครื่องมือประมง และชุมชนควรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรประมง ส่วนปัญหาการถือครอง ที่ดินชุมชนเสนอให้หน่วยงานของรัฐกำหนดเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติและพื้นที่ในการใช้ประโยชน์ให้ ชัดเจน ให้มีการออกเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่ทำกินth_TH
dc.language.isoth_THth_TH
dc.publisherกรมประมงth_TH
dc.relation.ispartofseriesเอกสารทางวิชาการ;24/2553-
dc.subjectการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมth_TH
dc.subjectคุณภาพสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectการลดลงของทรัพยากรชีวภาพและความหลากหลายทางชีวภาพth_TH
dc.titleการประเมินสภาวะชนบทแบบมีส่วนร่วมในพรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราชth_TH
dc.title.alternativeParticipatory Rural Appraisal (PRA) in Kuan Kreng Peatswamp, Nakhon Si Thammarat Provinceth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
Appears in Collections:994 งานวิจัยเชิงสังคม



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.