Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15121
Title: การศึกษาผลกระทบจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่มีต่อชุมชนชายฝั่งทะเล
Other Titles: The Study of Coastal Erosion Problem effect on Coastal Communities
Authors: สวรรยา, ธรรมอภิพล
Keywords: ภัยพิบัติ น้ำท่วม ดินถล่ม;การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 3,148 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด ปัจจุบันพบชายฝั่งถูกกัดเซาะเป็นระยะทาง 830 กิโลเมตร โดยเฉพาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนในจังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสงครามและสมุทรสาคร การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสาคร โดยศึกษาผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งที่มีต่อชุมชนชายฝั่งทะเลตาบลโคกขามและตาบลพันท้ายนรสิงห์ อาเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ศึกษาการปรับตัวของชุมชนต่อการกัดเซาะชายฝั่งและการดาเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ดาเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ได้ทาการคัดเลือกแบบเจาะจง 4 กลุ่มคือปราชญ์ชาวบ้านและผู้สูงอายุ ผู้นาชุมชนอย่างเป็นทางการ ชาวบ้านและหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รวม 25 คน ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จะนามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปและนาเสนอผลการศึกษาเชิงพรรณนาความภายใต้กรอบแนวคิดและวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการศึกษาพบว่าตลอดแนวชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสาคร 42.78 กิโลเมตร พบพื้นที่ถูกกัดเซาะยาว 33.45 กิโลเมตร โดยพบพื้นที่กัดเซาะในตาบลโคกขามยาว 3.42 กิโลเมตร จากความยาวชายฝั่งในตาบล 7.91 กิโลเมตร และตาบลพันท้ายนรสิงห์ยาว 5.96 กิโลเมตร จากความยาวชายฝั่งในตาบล 6.19 กิโลเมตร การกัดเซาะชายฝั่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจชุมชน 4 ลักษณะคือ (1) สูญเสียมูลค่าที่ดิน (2) สูญเสียรายได้จากการประกอบอาชีพ (3) สูญเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้าง (4) สูญเสียค่าใช้จ่ายในการป้องกันบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ผลกระทบด้านสังคม ใน 2 ลักษณะ คือ (1) การถอยร่นและอพยพย้ายถิ่น (2) การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ใน 4 ลักษณะคือ (1) การสูญเสียทรัพยากรดิน (2) ความเสื่อมโทรมของป่าชายเลน (3) การลดลงของสัตว์น้า (4) การสูญเสียทัศนียภาพชายฝั่ง ชุมชนมีการปรับตัวโดยการถอยร่นเข้าสู่ฝั่ง การปรับเปลี่ยนการสร้างบ้านเรือนและการก่อสร้างโครงสร้างเพื่อป้องกัน ส่วนการดาเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมีองค์กรที่เกี่ยวข้องคือองค์การบริหารส่วนตาบล ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 (จังหวัดสมุทรสาคร) และศูนย์เรียนรู้และปฏิบัติการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มหาชัยฝั่งตะวันออก) จังหวัดสมุทรสาคร จากการศึกษาควรดาเนินการแก้ไขเชิงบูรณาการและสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการจัดการการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ชุมชนท้องถิ่นและองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15121
Appears in Collections:994 งานวิจัยเชิงสังคม



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.