กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13201
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยง และความตั้งใจซื้อที่พักจากระบบออนไลน์ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ของนักท่องเที่ยวชาวไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Relationship between Perceived Risk and Intention to Purchase Accommodations Online in Hatyai District, Songkhla Province of Thai Tourists.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยะนุช ปรีชานนท์
บัวหลวง วิรัชเจริญวงส์
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: ที่พักนักท่องเที่ยว ไทย;ความเสี่ยง ข้อมูล;นักท่องเที่ยว ไทย;พฤติกรรมผู้บริโภค
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อที่พักผ่าน ระบบออนไลน์ ความตั้งใจซื้อที่พักผ่านระบบออนไลน์ และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยง และความตั้งใจซื้อที่พักในอา เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จากระบบออนไลน์ ของนักท่องเที่ยวชาว ไทย จานวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ t-test และ F-test การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่แบบวิธี Scheffe Analysis และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยการหาค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน งานวิจัยนี้กา หนดนัยสา คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับการรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อที่พักผ่านระบบออนไลน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดย เรียงระดับการรับรู้ความเสี่ยงได้ดังนี้ 1) การรับรู้ความเสี่ยงด้าน การทา งานของสินค้า 2) การรับรู้ความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัว 3) การรับรู้ความเสี่ยงด้านการเงิน 4) การรับรู้ความเสี่ยงด้านเวลา 5) การรับรู้ความเสี่ยงด้านกายภาพ 6) การรับรู้ความเสี่ยงด้านจิตวิทยา 7) การรับรู้ความเสี่ยงด้านสังคม เมื่อเปรียบเทียบระดับความตั้งใจซื้อที่พักผ่านระบบออนไลน์ที่มีปัจจัย ส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน พบว่าอายุที่แตกต่างกันมีระดับความตั้งใจซื้อที่พักผ่านระบบออนไลน์ต่างกัน กลุ่มอายุ 20-30 ปี มีระดับความตั้งใจซื้อที่พักผ่านระบบออนไลน์ มากกว่า กลุ่มอายุ 41-50 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยงและความตั้งใจซื้อที่พักผ่านระบบออนไลน์โดยภาพรวมมี ความสัมพันธ์ในเชิงลบในระดับต่า งานวิจัยนี้ เสนอแนะให้ผู้ประกอบการพิจารณาในการวางกลยุทธ์ ให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจว่าจะได้รับที่พักตรงตามข้อมูลบนเว็บไซต์ คะแนนการจัดอันดับที่พักตรงกับ คุณภาพที่แท้จริง และควรให้ความสา คัญกับการพิจารณาซื้อที่พักของลูกค้าเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13201
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
5510522030.pdf2.06 MBAdobe PDFดู/เปิด
5510522030-manuscript.pdf418.83 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons