Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19225
Title: กระบวนการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา
Other Titles: The Process of Self-Esteem Development of The Elderly in Songkhla Province
Authors: วันชัย ธรรมสัจการ
มาธุรี อุไรรัตน์
Faculty of Liberal Arts (Educational Foundation)
คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาสารัตถศึกษา
Keywords: ผู้สูงอายุ;การเห็นคุณค่าในตนเอง;The elderly;Self-esteem
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This action research aimed to: 1) study health problems and self-esteem status of the elderly, 2) examine the process of developing self-esteem in the elderly, and 3) evaluate the process of developing self-esteem in the elderly. Participants were a group of 13 youngest-old females living in the community in Khlong Hae Municipality, the leader of the community, municipal officials, and village health volunteer staff. Research instruments were daily activities assessment form, dementia assessment form, self-esteem assessment form, interview form, and self-esteem program. Quantitative data were analyzed by descriptive statistics and test statistics, while content analysis was used to analyze qualitative data. The results of the research were 1) most of the elderly in the community had only one disease and still performed their daily activities well with no dementia. In terms of the state of their self-esteem, the elderly regret their actions on a regular basis (x ̅ = 4.40) and feel discouraged (x ̅ = 4.30) at a high level. In addition, the elderly feel that they still gain respect from others (x ̅ = 3.36) and think that they cannot be dependent on by others (x ̅ = 3.38) at a moderate level; 2) The process of developing self-esteem,“3S1C”, consists of 4 steps as follows: 1) Share (S) which refers to sharing knowledge and opinions of each other, 2) Show (S) which stands for showing potentials, 3) Support (S) which means receiving support from the family, and 4) Cheer (C) which refers to receiving encouragement from other people; and 3) The results of the process of developing self-esteem in the elderly showed that their self-esteem level was higher than before participating in the process. The findings of this research will be useful for relevant agencies to promote good physical and mental health among the elderly as well as the feeling of being valued and able to live happily with the family and the community.
Abstract(Thai): การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาทางสุขภาพและสภาพการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ 2) กระบวนการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ และ 3) ประเมินผลกระบวนการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ ผู้ร่วมกระบวนการวิจัยได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุวัยต้นเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในชุมชนในเขตเทศบาลเมืองคลองแห จำนวน 13 คน ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่เทศบาล และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบสัมภาษณ์ และโปรแกรมการเห็นคุณค่าในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยายและสถิติทดสอบ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุพบว่า 1) ผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่มีโรคประจำวันตัวแค่เพียง 1 โรคเท่านั้น และยังคงปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ดี ไม่มีภาวะสมองเสื่อม สภาพการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุรู้สึกเสียใจกับการกระทำของตนเองเป็นประจำ (x ̅ = 4.40) และรู้สึกท้อแท้และหมดกำลังใจ (x ̅ = 4.30) อยู่ในระดับมาก นอกจากนั้นผู้สูงอายุยังรู้สึกว่าตนเองเป็นที่ยอมรับนับถือของบุคคลอื่น (x ̅ = 3.36) และคิดว่าไม่สามารถเป็นที่พึ่งพาให้แก่บุคคลอื่นได้ (x ̅ = 3.38) อยู่ในระดับปานกลาง 2) กระบวนการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองมีชื่อว่า “3S1C” ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้ 1) S= Share การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 2) S = Show การได้แสดงศักยภาพที่มี 3) S = Support การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว และ4) C = Cheer การได้รับกำลังใจจากบุคคลอื่น 3) ผลของกระบวนการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุพบว่าผู้สูงอายุมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกระบวนการ ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยไปปรับใช้เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีครอบคลุมทั้งในด้านร่างกายและจิตใจต่อไป รวมถึงรู้สึกมีคุณค่าและสามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีความสุข
Description: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พัฒนามนุษย์และสังคม), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19225
Appears in Collections:895 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5911130007.pdf14.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons