Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19050
Title: ปัจจัยความรักและความภักดีที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากในตราธนาคารกรุงไทยเขตภาพใต้ตอนล่าง
Other Titles: Factor of Love and Loyalty That Influence to Word of Mouth of Krung Thai Bank Brand, Lower Southern Region
Authors: ศศิวิมล สุขบท
ชยรพ จันทร์ชุม
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Keywords: ธนาคารกรุงไทย;ความภักดีของลูกค้า ไทย (ภาคใต้);ธนาคารและการธนาคาร ไทย (ภาคใต้);ความภักดีต่อชื่อตราผลิตภัณฑ์ ไทย (ภาคใต้);ความภักดีของลูกค้า ไทย (ภาคใต้)
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The purposes of this research are firstly study the influence of the brand love which affects the brand loyalty of Lower Southern region Krung Thai bank's customers toward Krung Thai brand. Secondly, it is to explore influence of the brand loyalty which affects customers' word of mouth toward the brand. Moreover, it is to understand the influence of the brand love which affects customers' word of mouth toward the brand. Samples were 385 current customers of Krung Thai bank in the Lower Southern region. The researcher used Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, and Regression Analysis to analyze the data. Research found that majority of the customers are female age between 20 to 30 years old who are single or living together, graduated a bachelor degree, and working as a government officer or a state enterprise officer. Most of them earn averagely 20,001 to 30,000 baht and 30,001 to 40,000 baht per month. They usually visit Krung Thai bank in Pattani province and visit for money deposition service and ATM card service, respectively. Also, customers are highly love and loyal to the brand of Krung Thai bank in the Lower Southern region and highly affected by word of mouth about the brand of Krung Thai bank in the Lower Southern region. In addition, research found that the love toward the brand is able to predict 51.8% (R2= .518) and Regression coefficient0.720 (B.720) of the customers' loyalty toward the Krung Thai brand in the Lower Southern region. On the other hand, the love toward the brand is able to predict 30.8 % (R= .308) and Regression coefficient0.555 (B= .555) of the customers' word of mouth about the brand of Krung Thai bank in the Lower Southern region Furthermore, the brand loyalty is able to predict 51.5% (R2= .515) and Regression coefficient0.718 (B= .718) of the customers' word of mouth about the brand of Krung Thai bank in the Lower Southern region as statistical significance at .01
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยความรักต่อตราที่มีอิทธิพลต่อ ความภักดีต่อตรา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความภักดีต่อตราที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากใน ตรา 3) เพื่อศึกษาปัจจัยความรักต่อตราที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากในตราของลูกค้า ธนาคารกรุงไทยเขตภาคใต้ตอนล่างที่มีต่อตราธนาคารกรุงไทยกลุ่มตัวอย่างเป็นลูกค้าปัจจุบันของ ธนาคารกรุงไทย ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง จํานวน 385 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าการวิเคราะห์ถดถอย (Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี สถานภาพ สมรส/อยู่ด้วยกัน การศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001-40,000 บาท โดยใช้บริการธนาคารกรุงไทยในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และส่วนใหญ่ ใช้บริการเงินฝาก ซึ่งลูกค้ามีระดับความรักและความภักดี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และยังพบว่า ลูกค้า มีระดับความคิดเห็นของการสื่อสารแบบปากต่อปาก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้พบว่า ความรักต่อตราสามารถพยากรณ์ความภักดีต่อตราของลูกค้า ธนาคาร กรุงไทย เขตภาคใต้ตอนล่าง ที่มีต่อตราธนาคารกรุงไทย ได้ร้อยละ 51.8 (R = .518) มีค่าสัมประสิทธิ์ ถดถอย เท่ากับ 0.720 (฿= 720) ส่วนความรักต่อตราสามารถพยากรณ์การสื่อสารแบบปากต่อปาก ในตราของลูกค้าธนาคารกรุงไทย เขตภาคใต้ตอนล่างที่มีต่อตราธนาคารกรุงไทย ได้ร้อยละ 30.8 (R = .308) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 0.555 (B= .555) และความภักดีต่อตราสามารถพยากรณ์ การสื่อสารแบบปากต่อปากในตราของลูกค้าธนาคารกรุงไทยเขตภาคใต้ตอนล่างที่มีต่อตราธนาคาร กรุงไทย ได้ร้อยละ 51.5 (R = 515) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย เท่ากับ 0.718 (฿= .718) อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (การตลาด))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19050
Appears in Collections:460 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
432090.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons