Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12086
Title: การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมการแปลคัมภีร์อัลกุรอานฉบับภาษาไทยด้านหลักศรัทธา ต่อพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺ
Other Titles: An Analytical Study of Literary Translation of the Thai Version of the Holy al-Qur’an Regarding Principle of Belief in the Names and Attributes of Allah
Authors: อับดุลเลาะ, การีนา
อดิศักดิ์, นุชมี
College of Islamic Studies (Islamic Studies)
วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา)
Keywords: ศาสนาอิสลาม;อิสลามศึกษา
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการแปลความหมายคัมภีร์อัลกุรอาน เป็นภาษาต่างๆ และการแปลความหมายคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาไทย ศึกษาชีวประวัติของผู้แปลทั้งสี่ผลงาน ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดและหลักศรัทธาด้านพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺ  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการให้เหตุผลแบบ นิรนัย แบบอุปนัย และหลักการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่า 1. คัมภีร์อัลกุรอานได้ถูกแปลความหมายเป็นภาษาอินเดียสมบูรณ์ครบ 30 ญุซอ์ เป็นภาษาแรกในปีคริสต์ศักราช 848 ปัจจุบันคัมภีร์อัลกุรอานได้ถูกแปลความหมายสมบูรณ์ครบ 30 ญุซอ์ มากถึง 95 ภาษา โดยแบ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดสื่อสารในเขตทวีปเอเซีย 46 ภาษา ภาษาที่ใช้พูดสื่อสารในเขตทวีปยุโรป 32 ภาษา ภาษาที่ใช้พูดสื่อสารในเขตทวีปแอฟริกา 15 ภาษา และภาษาที่ใช้พูดสื่อสารในเขตอเมริกาใต้ 2 ภาษา สำหรับภาษาที่ได้รับการแปลความหมายมากที่สุดคือภาษาอังกฤษ และถูกแปลความหมายเป็นภาษาที่ใช้พูดสื่อสารในประเทศอินเดียมากถึง 22 ภาษา 2. คัมภีร์อัลกุรอานถูกแปลความหมายเป็นภาษาไทยสมบูรณ์ครบ 30 ญุซอ์ เป็นผล งานแรกในปีพุทธศักราช 2507 โดยต่วน สุวรรณศาสน์ ซึ่งใช้ตัฟสีรอัลญะลาลัยนฺเป็นบรรทัดฐานในการแปลและใช้หนังสืออัลฟุตูฮาด อัลอิลาฮียะฮฺประกอบการแปลความหมายคัมภีร์อัลกุรอาน นอกจากนี้ยังมีผลงานแปลของดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ ที่เลือกหนังสืออรรถาธิบายคัมภีร์อัลกุรอานฉบับภาษาอังกฤษของเมาลานาชาฮฺ อัชรอฟ อะลีย์ ทานะวีย์ เป็นบรรทัดฐานในการแปลความหมายคัมภีร์อัลกุรอาน ผลงานแปลของวินัย สะมะอุน เลือกใช้หนังสือปิมปินนัน อัรเราะฮฺมานฉบับภาษามลายูเป็นบรรทัดฐานในการแปลความหมายคัมภีร์อัลกุรอาน และผลงานแปลของสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ซึ่งมิได้ใช้หนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งเป็นบรรทัดฐานหลักในการแปล แต่ใช้หนังสือที่หลากหลายทั้งแนวคิดสะลัฟและเคาะลัฟมาประกอบในการแปลความหมายคัมภีร์อัลกุรอาน ปัจจุบันพบว่ามีผลงานแปลความหมายคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาไทยสมบูรณ์ครบ 30 ญุซอ์ 7 ผลงาน แปลและตีพิมพ์ในนามบุคคล 6 ผลงาน และในนามองค์กร 1 ผลงาน 3. จากการศึกษาชีวประวัติและภูมิหลังของผู้แปลพบว่า ต่วน สุวรรณศาสน์ ศึกษาวิชาการอิสลามจากชัยคฺอะลีย์ อัลมาลิกีย์ ณ มัสยิดอัลฮารอม นครมักกะฮฺ ในขณะที่ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ ศึกษาด้วยตัวเองจากหนังสือ และสิ่งพิมพ์ภาษาต่างๆ และศึกษาจากอะหฺมัด วะฮาบ อิสมาอีล อะหฺมัด และเชคอาลี อีซา ส่วนวินัย สะมะอุนศึกษาวิชาการอิสลามจากสถาบันปอเนาะที่ปอเนาะ สะกำ และปอเนาะมะโงว ปัตตานี สำหรับผู้แปลของสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับคือ 1) ดารี บินอะหมัด ศึกษาวิชาการ อิสลามจากอัลมะฮัด อัลอิลมีย์ อัสสะอูดีย์ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย 2) อิมรอน มะกูดี จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์อิสลาม มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ และ3) วิรัช สมะดี จบการศึกษาจากคณะดารุลอุลูม มหาวิทยาลัยไคโร สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ 4. จากการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ความเชื่อเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ  พบว่า แนวคิด ความเชื่อของวินัย สะมะอุน มีความเหมือนและสอดคล้องกันอย่างยิ่งกับแนวคิดและความเชื่อของต่วน สุวรรณศาสน์ ในขณะที่แนวคิด ความเชื่อของผู้แปลของสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับมีส่วนคล้ายคลึงและสอดคล้องกับแนวคิดของดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการแปลความหมายคัมภีร์อัลกุรอานอายะฮฺคุณลักษณะให้มีความสอดคล้องกับแนวคิดของสะลัฟหรือเคาะลัฟ อัลอะชาอีเราะฮฺนั้น เกิดจาก 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านการศึกษาซึ่งผู้แปลแต่ละคนมีภูมิหลังด้านการศึกษาที่ได้รับการปลูกฝังหล่อหลอมแนวคิดจากสถาบันการศึกษาที่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยด้านทรัพยากรทางวิชาการและแหล่งอ้างอิงที่ใช้ประกอบการแปล แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยด้านการศึกษาของผู้แปลมีผลโดยตรงต่อการคัดสรรแหล่งอ้างอิงเพื่อนำมาใช้ประกอบการแปล
Description: วิทยานิพนธ์ (ปร.ด.(อิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12086
Appears in Collections:761 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1522.pdf7.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.