Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12086
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอับดุลเลาะ, การีนา-
dc.contributor.authorอดิศักดิ์, นุชมี-
dc.date.accessioned2019-03-08T03:47:57Z-
dc.date.available2019-03-08T03:47:57Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12086-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ปร.ด.(อิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการแปลความหมายคัมภีร์อัลกุรอาน เป็นภาษาต่างๆ และการแปลความหมายคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาไทย ศึกษาชีวประวัติของผู้แปลทั้งสี่ผลงาน ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดและหลักศรัทธาด้านพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺ  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการให้เหตุผลแบบ นิรนัย แบบอุปนัย และหลักการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่า 1. คัมภีร์อัลกุรอานได้ถูกแปลความหมายเป็นภาษาอินเดียสมบูรณ์ครบ 30 ญุซอ์ เป็นภาษาแรกในปีคริสต์ศักราช 848 ปัจจุบันคัมภีร์อัลกุรอานได้ถูกแปลความหมายสมบูรณ์ครบ 30 ญุซอ์ มากถึง 95 ภาษา โดยแบ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดสื่อสารในเขตทวีปเอเซีย 46 ภาษา ภาษาที่ใช้พูดสื่อสารในเขตทวีปยุโรป 32 ภาษา ภาษาที่ใช้พูดสื่อสารในเขตทวีปแอฟริกา 15 ภาษา และภาษาที่ใช้พูดสื่อสารในเขตอเมริกาใต้ 2 ภาษา สำหรับภาษาที่ได้รับการแปลความหมายมากที่สุดคือภาษาอังกฤษ และถูกแปลความหมายเป็นภาษาที่ใช้พูดสื่อสารในประเทศอินเดียมากถึง 22 ภาษา 2. คัมภีร์อัลกุรอานถูกแปลความหมายเป็นภาษาไทยสมบูรณ์ครบ 30 ญุซอ์ เป็นผล งานแรกในปีพุทธศักราช 2507 โดยต่วน สุวรรณศาสน์ ซึ่งใช้ตัฟสีรอัลญะลาลัยนฺเป็นบรรทัดฐานในการแปลและใช้หนังสืออัลฟุตูฮาด อัลอิลาฮียะฮฺประกอบการแปลความหมายคัมภีร์อัลกุรอาน นอกจากนี้ยังมีผลงานแปลของดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ ที่เลือกหนังสืออรรถาธิบายคัมภีร์อัลกุรอานฉบับภาษาอังกฤษของเมาลานาชาฮฺ อัชรอฟ อะลีย์ ทานะวีย์ เป็นบรรทัดฐานในการแปลความหมายคัมภีร์อัลกุรอาน ผลงานแปลของวินัย สะมะอุน เลือกใช้หนังสือปิมปินนัน อัรเราะฮฺมานฉบับภาษามลายูเป็นบรรทัดฐานในการแปลความหมายคัมภีร์อัลกุรอาน และผลงานแปลของสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ซึ่งมิได้ใช้หนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งเป็นบรรทัดฐานหลักในการแปล แต่ใช้หนังสือที่หลากหลายทั้งแนวคิดสะลัฟและเคาะลัฟมาประกอบในการแปลความหมายคัมภีร์อัลกุรอาน ปัจจุบันพบว่ามีผลงานแปลความหมายคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาไทยสมบูรณ์ครบ 30 ญุซอ์ 7 ผลงาน แปลและตีพิมพ์ในนามบุคคล 6 ผลงาน และในนามองค์กร 1 ผลงาน 3. จากการศึกษาชีวประวัติและภูมิหลังของผู้แปลพบว่า ต่วน สุวรรณศาสน์ ศึกษาวิชาการอิสลามจากชัยคฺอะลีย์ อัลมาลิกีย์ ณ มัสยิดอัลฮารอม นครมักกะฮฺ ในขณะที่ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ ศึกษาด้วยตัวเองจากหนังสือ และสิ่งพิมพ์ภาษาต่างๆ และศึกษาจากอะหฺมัด วะฮาบ อิสมาอีล อะหฺมัด และเชคอาลี อีซา ส่วนวินัย สะมะอุนศึกษาวิชาการอิสลามจากสถาบันปอเนาะที่ปอเนาะ สะกำ และปอเนาะมะโงว ปัตตานี สำหรับผู้แปลของสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับคือ 1) ดารี บินอะหมัด ศึกษาวิชาการ อิสลามจากอัลมะฮัด อัลอิลมีย์ อัสสะอูดีย์ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย 2) อิมรอน มะกูดี จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์อิสลาม มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ และ3) วิรัช สมะดี จบการศึกษาจากคณะดารุลอุลูม มหาวิทยาลัยไคโร สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ 4. จากการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ความเชื่อเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ  พบว่า แนวคิด ความเชื่อของวินัย สะมะอุน มีความเหมือนและสอดคล้องกันอย่างยิ่งกับแนวคิดและความเชื่อของต่วน สุวรรณศาสน์ ในขณะที่แนวคิด ความเชื่อของผู้แปลของสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับมีส่วนคล้ายคลึงและสอดคล้องกับแนวคิดของดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการแปลความหมายคัมภีร์อัลกุรอานอายะฮฺคุณลักษณะให้มีความสอดคล้องกับแนวคิดของสะลัฟหรือเคาะลัฟ อัลอะชาอีเราะฮฺนั้น เกิดจาก 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านการศึกษาซึ่งผู้แปลแต่ละคนมีภูมิหลังด้านการศึกษาที่ได้รับการปลูกฝังหล่อหลอมแนวคิดจากสถาบันการศึกษาที่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยด้านทรัพยากรทางวิชาการและแหล่งอ้างอิงที่ใช้ประกอบการแปล แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยด้านการศึกษาของผู้แปลมีผลโดยตรงต่อการคัดสรรแหล่งอ้างอิงเพื่อนำมาใช้ประกอบการแปลth_TH
dc.description.sponsorshipThis thesis was aimed to investigate in details and history of the Holy Quran translation to other languages, including Thai. In terms of Thai version which was the main focus area, the study analyzed the works of four originated translators and discussed in details of their fundamental faith the Names and Attributes of Allah. The qualitative method was conducted based on historical papers, and interview then deductive and inductive reasoning together with comparative analysis were implemented. The finding of the thesis can be summarized as following: 1. The Holy Quran was first fully translated to Indian language in 848 C.E. At present, it has been fully translated to 95 languages including 46 Asian 32 European 15 African and 2 South American speaking languages. The most in number of translation is English while the most in number of translated language with in a country, 22, is India. 2. The Holy Quran was first fully translated to Thai in 2507 B.C. by Tuan Suvannasat. The translation was conducted base on Tafsir al-Jalalay and al-Futuhat al-Ilahiyah as the main and supporting reference accordingly. Besides that, there was also the work of Direk Kulsirisawat which he picked the English translation of Mawlana Shah Ashraf Ali Thanawiy as the main reference. Later, the Thai Holy Quran version translated by Winai Samaun was referred to a Malayu translated version, Pimpinnan al-Rahman Lastly, the Thai translated version by the Arab Universities Alumni Association did not use any specific book as its main reference but collecting idea from various sources, both Kolafism and Salafism, to back up their work. At present, there are seven fully translated Thai version of the Holy Quran, six of them were published as individual work and the other was published in the name of organization. 3. In terms of background profile of the authors, Tuan Suvannasat studied Islamic knowledge from Shek Ali al-Malikiy at Masjid Haram in Makkah while Direk Kulsirisawat acquired his knowledge mainly from self-study. He also studied from some Islamic teacher such as Ahmad Wahab, Ismail Ahmad and Shek Ali Isa. Winai Samaun is the former student of Pondok Sakam and Pondok Ma-ngo in Pattani. The co-authors in the Arab Universities Alumni Association version are including (1) Daree bin Ahmad former Islamic student from al-Mahad al-Ilmiy al-Saudiy Institution in Saudi Arabia. (2) Imran Makudee who received Bachelor of Laws from al-Azhar University, Egypt and (3) Wirat Samadee, the Bachelor degree in Darul Ulum, Cairo University, Egypt. 4. According to analytical research based on the faith in the names and attribution of Allah, it found that Winai Samaun’s believe is indeed identical and according to Tuan Suvannasats’ while the Arab Universities Alumni Association’ is somehow according to Direk Kulsirisawats’. The determinants that create an impact to the different interpretation among authors regarding the characteristics of Allah can be determined into two factors. 1) The disparity in education since the authors had disparate study background and institution. 2) The disparity in the use of references. However, this factor is one of the impacts from the first determinant, the educational background.th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีth_TH
dc.subjectศาสนาอิสลามth_TH
dc.subjectอิสลามศึกษาth_TH
dc.titleการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมการแปลคัมภีร์อัลกุรอานฉบับภาษาไทยด้านหลักศรัทธา ต่อพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺth_TH
dc.title.alternativeAn Analytical Study of Literary Translation of the Thai Version of the Holy al-Qur’an Regarding Principle of Belief in the Names and Attributes of Allahth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentCollege of Islamic Studies (Islamic Studies)-
dc.contributor.departmentวิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา)-
Appears in Collections:761 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1522.pdf7.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.