Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19620
Title: | การสร้างความเข้มแข็งและความหลากหลายทาง BCG (Bio-Circular-Green Economy) สู่การ พัฒนาท่องเที่ยวชุมชนชายฝั่งภาคใต้เชื่อมโยงประเทศกลุ่ม AEC |
Other Titles: | The empowerment and diversity of BCG (Bio-Circular-Green Economy) for CBT development linkage with AEC countries |
Authors: | จินดา สวัสดิ์ทวี อภิรมย์ พรหมจรรยา สุชาดา จันทร์พรหมมา Faculty of Technology and Environment คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม Faculty of Science (Chemistry) คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเคมี |
Keywords: | เศรษฐกิจหมุนเวียน;การมีส่วนร่วม;คาร์บอนฟุตพริ้นท์;ความหลากหลาย |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | The aims of strengthening and diversifying a BCG (Bio-Circular-Green Economy), leading to the development of coastal community tourism in the southern region of Thailand (connecting with AEC countries) , are 1) to identify the characteristics of coastal communities in 6 Andaman provinces which will lead to the process of creating community participation, 2) to create and develop a BCG Model and develop a model of people's participatory management process, using the BCG Model in each Andaman coastal community, 3) to promote the development of coastal tourism and find innovations to develop tourism in coastal communities, and 4) to provide community- based tourism information services to countries in the AEC to conduct this research. Six provinces of Andaman coastal tourism communities were selected as case studies. These communities were, analyzed and assessed in respect of their resources and internal and external factors of the BCG Matrix and Carbon footprint. Contextual differences were identified that could lead to the development of community participation in a tourism project, according to the concept of the BCG Model. The results show that the Bo Chet Luk Community, Satun Province, used the BCG Matrix process to analyze factors and resource bases in the area, to develop community products that help promote and support community-based tourism, by focusing on activities or highlights of the community, to make it well-known to tourists and the general public. Based on the analysis of the resource base, it was found that the agricultural resources of the area were abundant, and the distinctive resource base, that was the identity of the community, was pumpkins and green pumpkins. These products were processed into tourism promotion products that could generate income for the community. It is their additional occupation. It creates a more circular economic system within the community, and it also upgrades the products of the tourism community to be better known to others and local food safety. Tha Din Daeng Community, Phang Nga Province, used the BCG Metrix process to analyze internal and external factors. Then data were used to analyze the strengths of resources in the community. This led to the extension and adding value to existing resources by developing products to promote tourism in the community. The resource base are Litsea Leiantha Hook leaves, Sea holly leaves and Citronella Laurel leaves. These leaves were processed into products of the community, in the form of food and herbal products, to generate income for the community, to make local resources more valuable and vegetation genetic diversity conservation and restoration. Bo Hin Community, Trang Province, is a community where Pandan trees are processed. Pandan trees are used to create products to promote tourism in the form of bags. When the BCG Matrix process was used in the study, it was found that human labor in the community was needed at every step of the processing process, and processing created waste. Consequently, the researcher analyzed the problems, production processes, and processing. It was found that in some steps, human labor was not needed, and it helped make the process faster, too. The researchers therefore analyzed the production process to find methods to reduce human labor. Tools or devices that help reduce the time to prepare pandanus plants were therefore developed, that lead to a faster processing process. These tools replaced the use of labor in the community which eventually reduced the preparation process. This made the production of products faster. In addition, it reduced the amount of waste left over from paring Pandan trees. Kamala Community, Phuket Province, has many natural and cultural attractions. A survey of the geography of Kamala sub-district, Kathu District, Phuket Province, identified ahigh potential, with a weighted value of 2.92, that could drive the BCG of the community to expand cooperation, to build a network of communities in Kamala Sub-District, and to develop further to create value- added tourism in the community, in a new way by emphasizing on conservation, rehabilitation, and reuse of waste materials. It could help reduce the community’s waste problems, and set the route for community- based tourism in a new normal. Laem Sak Community, Krabi Province, and Had Som Pan Community, Ranong Province, were analyzed to find the amount of greenhouse gases that were generated by the organization’ s activities and products, and to find management guidelines for reducing greenhouse gas emissions in the future. This could promote community tourism activities in the form of Green Tourism, which is part of the BCG economy. One activity that is used as an important indicator is carbon footprint assessment of tourism routes. Data were used as information in the development and design of tourism routes that reduce greenhouse gas emissions to protect the environment. To create understanding and raising public awareness of the importance of reducing greenhouse gas emissions. Recommendations from BCG- based research are an important method to develop social capital and to empower participatory communities. Applying the BCG process to creating awareness of social capital leads to plans that develop tourism potential in the area, and in accordance with the SDGs that will help to develop efficiency and effectiveness in the local community, and to benefit the community economy of local people. Having extra income from tourism helps to improve the living standard of people in the community. Everyone in the community is key to cooperation to create good tourism management and links to the neighboring country is the Republic of Malaysia and Myanmar in the future |
Abstract(Thai): | การสร้างความเข้มแข็งและความหลากหลายทาง BCG (Bio-Circular-Green Economy) สู่การพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนชายฝั่ง ภาคใต้เชื่อมโยงประเทศกลุ่ม AEC มีวัตถุประสงค์ เพื่อระบุลักษณะของชุมชนชายฝั่ง ใน 6 จังหวัดฝั่งอันดามัน นำไปสู่กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน เพื่อการสร้างและพัฒนารูปแบบ BCG Model และ หารูปแบบกระบวนการจัดการ แบบมีส่วนร่วมของประชาชนโดยใช้ BCG Model ในแต่ละชุมชนชายฝั่งอันดามัน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวชายฝั่ง และหานวัตกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนชายฝั่ง เพื่อให้บริการข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชน ไปสู่ประเทศในกลุ่ม AEC ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ได้คัดเลือกชุมชนท่องเที่ยวชายฝั่งอันดามัน 6 จังหวัด เป็นการศึกษาวิจัย วิเคราะห์และประเมินทรัพยากรและปัจจัยภายในและภายนอก BCG Matrix และ Carbon footprint ในพื้นที่ศึกษาที่มีความแตกต่างตามบริบทของชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของชุมชนท่องเที่ยว นำไปสู่กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน ตามแนวคิดของ BCG Model ผลการศึกษาพบมว่า ชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล การนำกระบวนการ BCG Matrix วิเคราะห์ปัจจัยและฐานทรัพยากรในพื้นที่เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมุ่งเน้นกิจกรรมหรือจุดเด่นของชุมชนให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไป จากการวิเคราะห์ฐานทรัพยากร พบว่า ทรัพยากรทางด้านการเกษตรของพื้นที่ มีปริมาณมากและเป็นฐานทรัพยากรที่มีจุดเด่นและเป็น อัตลักษณ์ของชุมชน นั้นคือ ฟักทอง ฟักเขียว โดยการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชน เป็นอาชีพเสริมและก่อให้เกิดระบบหมุนเวียนทางเศรษฐกิจภายในชุมชนมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการยกระดับสินค้าของชุมชนท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นชุมชนท่าดินแดง จังหวัดพังงา การนำกระบวนการ BCG Matrix มาวิเคราะห์ปัจจัยภายในภายนอก เพื่อวิเคราะห์หาจุดเด่นของทรัพยากรในชุมชน นำไปสู่การต่อยอดและเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรที่มีอยู่ด้วยการนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน คือ การนำใบธัมมัง ใบเหงือกปลาหมอ และ ใบเทพธาโร มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน ทั้งในรูปของอาหารและผลิตภัณฑ์ที่เป็นสมุนไพร เพื่อก่อให้เกิดรายได้ทั้งต่อตัวชุมชนและท้องถิ่นและเกิดการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ชุมชนบ่อหิน จังหวัดตรัง เป็นชุมชนที่มีการแปรรูปต้นเตย โดยการนำต้นเตยมาพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบกระเป๋า โดยเมื่อนำกระบวน BCG Matrix มาใช้ในการศึกษา พบว่า ในทุกขั้นตอนของการแปรรูปใช้แรงงานจากคนในชุมชน และในกระบวนการทำ ก่อให้เกิดขยะ ดังนั้น คณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์ปัญหา กระบวนการในการผลิต การแปรรูป พบว่า ในบางขั้นตอนสามารถลดขั้นตอนจากแรงงานคนได้ และยังช่วยทำให้กระบวนการทำรวดเร็วมากยิ่งขึ้น คณะผู้วิจัยจึงได้วิเคราะห์ขั้นตอนการผลิต เพื่อหาวิธีการในการลดแรงงานจากคน โดยการพัฒนาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ช่วยหล่นระยะเวลาในการเตรียมต้นเตยให้พร้อมและสามารถนำมาแปรรูปได้เร็วขึ้น และเพื่อมาทดแทนการใช้แรงงานในชุมชน ทำให้ลดขั้นตอนการเตรียม ทำให้ผลิตสินค้าได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยลดปริมาณขยะที่เหลือจากการเหลาต้นเตยให้น้อยลง ชุมชนกมลา จังหวัดภูเก็ต จากการสำรวจสภาพภูมิศาสตร์ของชุมชนตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต พบว่า มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีศักยภาพระดับสูง ด้วยค่าถ่วงน้ำหนัก 2.92 และสามารถขับเคลื่อน BCG ของชุมชน เพื่อให้เกิดการขยายความร่วมมือและสร้างเครือข่ายของชุมชนตำบลกมลา และพัฒนาต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยวของชุมชนในรูปแบบใหม่ เน้น การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ ลดปัญหาขยะของชุมชนที่เกิดขึ้น และกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนในวิถีใหม่ ชุมชนแหลมสัก จังหวัดกระบี่ และ ชุมชนหาดส้มแป้น จังหวัดระนอง ได้วิเคราะห์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมและผลิตภัณฑ์ขององค์กร และแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตเพื่อส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวของชุมชนในลักษณะ Green Tourism ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจแบบ BCG โดยมีกิจกรรมหนึ่งที่เป็นตัวชี้วัดสำคัญคือการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาและออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัยโดยใช้หลักการของ BCG เป็นวิธีที่สำคัญในการแสวงหาทุนทางสังคมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อประยุกต์ใช้กระบวนการ BCG ในการสร้างการรับรู้ทุนทางสังคมที่นำไปสู่แผนพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวในพื้นที่ และสอดคล้องกับ SDGs ที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต่อชุมชนท้องถิ่น เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจชุมชนของคนในท้องถิ่น มีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว ช่วยยกระดับ ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ทุก ๆ คนในชุมชนเป็นกุญแจสำคัญในการร่วมมือร่วมแรง ให้เกิดการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่ดีในอนาคต |
URI: | https://tnrr.nriis.go.th/#/research/1033834 http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19620 |
Appears in Collections: | 324 Research 978 Research |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.