Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19589
Title: กลยุทธ์การตลาดสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวอินเดียของโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต
Other Titles: Hotel Marketing Strategies for Indian Market in Phuket
Authors: อภิรมย์ พรหมจรรยา
ปิยะพันธ์ บุญเนื่อง
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Keywords: โรงแรม การตลาด ภูเก็ต
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objectives of this research were to 1) to survey the Indian tourism market of hotels in Phuket 2) to analyze the environmental factors which affecting the competitiveness for Indian market of hotel industry in Phuket and 3) to develop the marketing strategies for Indian market in Phuket hotels. Collecting data by qualitative research via semi-planned in-depth interview from the key informants including tour personal related to sales and marketing in Indian market and sales and marketing personal in hotels by choosing the method of purposive or judgmental sampling. Key informants might have more than three years of Sales and Marketing experience in Indian market with a minimum of one year of work at the current workplace and in the company that had been operating for more than a year, registered legally. Then the data were analyzed for reliability by triangulation information verification and analytic induction. The results were as follows Indian tourism market of hotels in Phuket consisted hotels in Phuket had higher growth rate. There was a one of main preferred destinations. The main reason why hotel industry turned its attention to Indian market was Indian tourists traveled during the second quarter of each year this matched the low occupancy for Phuket hotels. Both independent and group travelers usually stayed in the Patong area where meet the needs of tourists by beaches, nightlife entertainment, shopping area and activities. Circumstantial factors affecting to competitive advantage for Indian market in Phuket hotels consisted of service minded, the cost of living in Phuket was not high, there was good support from the relevant service sector and management was standard and abundant resources. The areas that need to be developed to cater to growing Indian travelers included the way to generate more revenue from Indian customers, service availability and core infrastructure, direct flights between the major cities and the minor cities of India and Phuket, which had resulted in higher Indian tourist arrivals. In addition, some of the service line's staffs were still having a negative attitude towards Indian tourists. Therefore, Hotels have to prepare and develop the strategies in order to support the various circumstantial factors as it would help to increase the advantage in Indian market competition.
Abstract(Thai): งานวิจัยเรื่องกลยุทธ์การตลาดสําหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวอินเดียของโรงแรมในจังหวัด ภูเก็ต การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สํารวจสถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวอินเดียของโรงแรมใน จังหวัดภูเก็ต 2) วิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันสําหรับตลาด อินเดีย ของอุตสาหกรรมโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต และ 3) พัฒนากลยุทธ์การตลาดสําหรับนักท่องเที่ยว อินเดียเพื่อโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต โดยได้ทําการศึกษาเก็บข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview) โดยเป็นการสัมภาษณ์กึ่งมี แบบแผน (Semi-structure Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญที่มีความรู้ มีประสบการณ์เกี่ยวกับ การทําตลาดอินเดีย และทราบถึงแนวโน้มและกลยุทธ์ของตลาดเป็นอย่างดี ประกอบไปด้วย 1) บุคลากรของบริษัททัวร์ที่สัมพันธ์ต่อการขายและการตลาดอินเดีย และ 2) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับฝ่าย การขายและการตลาดของโรงแรม โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive หรือ Judgmental Sampling) ผู้ให้ข้อมูลสําคัญนั้นต้องมีประสบการณ์ในการขายและการตลาดอินเดียมากกว่า 3 ปี โดย อายุงานขั้นต่ํา 1 ปี ณ ที่ทํางานปัจจุบัน และอยู่ในองค์กรหรือบริษัทที่ดําเนินกิจการมามากกว่า 1 ปี ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย จากนั้นนําข้อมูลที่ได้มาตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Analytic Induction) และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลด้วยการตรวจสอบข้อมูลแบบ สามเส้า (Triangulation) โดยมีผลการศึกษา ดังต่อไปนี้ สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวอินเดียของโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต พบว่าตลาด นักท่องเที่ยวอินเดียของโรงแรมในจังหวัดภูเก็ตมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น โดยมีภูเก็ตเป็นหนึ่งจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว สาเหตุหลักที่ทําให้กลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรมเริ่มหันมาให้ความ สนใจในตลาดอินเดีย นักท่องเที่ยวอินเดียนิยมเดินทางช่วงไตรมาสที่สองของแต่ละปี ซึ่งตรงกับช่วงที่มีอัตราการเข้าพักน้อยสําหรับโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต ทั้งนักท่องเที่ยวกลุ่มอิสระ และกลุ่มที่เดินทางมา เป็นหมู่คณะ ที่เดินทางมาหลากหลาย นิยมเลือกเข้าพักโรงแรมที่มีทําเลที่ตั้งในพื้นที่ป่าตอง เนื่องด้วย สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้ครบครันด้วย หาดทราย โชว์แสงสียามค่ํา คืน สถานที่ช็อปปิ้ง และยังมีกิจกรรมต่างๆ ปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน สําหรับตลาดอินเดีย ของอุตสาหกรรมโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต ประกอบไปด้วย บุคลากรการบริการที่มีจิตใจใฝ่บริการ ค่า ครองชีพของภูเก็ตที่ไม่สูงมากนัก มีการสนับสนุนที่ดีจากองค์กรภาคบริการที่เกี่ยวข้อง การบริหาร จัดการที่มีมาตรฐาน และทรัพยากรการท่องเที่ยวอุดมสมบูรณ์ ส่วนด้านที่มีความจําเป็นต้องพัฒนา เพื่อให้ตอบสนองนักท่องเที่ยวอินเดียที่กําลังเติบโต ได้แก่ แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มจากลูกค้า อินเดีย ความพร้อมในการให้บริการและโครงสร้างพื้นฐานหลัก การเชื่อมโยงโดยสายการบินตรงระหว่างเมืองหลักและเมืองรองของประเทศอินเดียกับภูเก็ตที่ก่อให้เกิดปริมาณนักท่องเที่ยวอินเดียที่ สูงขึ้น และรวมไปถึงบุคลากรในภาคบริการบางส่วนที่ยังคงพบว่ามีทัศนคติในแง่ลบกับกลุ่ม นักท่องเที่ยวอินเดีย ดังนั้นโรงแรมต้องมีการจัดการและการพัฒนาเตรียมความพร้อมเพื่อความสามารถรองรับปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่เกิดขึ้น เนื่องจากจะช่วยส่งผลให้มีการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของโรงแรมในตลาด กลยุทธ์การตลาดสําหรับนักท่องเที่ยวอินเดียสําหรับโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต มีดังต่อไปนี้ กลยุทธ์เชิงรุก ประกอบไปด้วย การมุ่งเน้นการพัฒนาความพร้อมในการ ให้บริการและโครงสร้างพื้นฐาน, การส่งเสริมธุรกิจลักษณะออนไลน์, การส่งเสริม MICE เพื่อรองรับ กลุ่มประชุม, การขยายตลาดสู่ต่างประเทศเพื่อสร้างการรับรู้และโอกาสในการได้รับคู่ค้ารายใหม่ และการตั้งราคาต่ํากว่าคู่แข่งเพื่อการเข้าสู่ตลาดอินเดีย กลยุทธ์เชิงแก้ไข ประกอบไปด้วย การส่งเสริมและการใช้เทคโนโลยี, การอบรม ทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะในส่วนของบริการ, การปฏิบัติตามมาตรการและกฎหมาย ของภาครัฐ และการทําโปรโมชั่นสําหรับลูกค้าที่กําลังจะเข้าพักในโรงแรม กลยุทธ์เชิงป้องกัน ประกอบไปด้วย การพัฒนาความพร้อมด้านสิ่งอํานวยความ สะดวก, การเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย, การสร้างและใช้การรับรู้, และ การตั้งราคาเท่าคู่แข่ง กลยุทธ์เชิงรับ ประกอบไปด้วย การร่วมลงทุนกับบริษัทนอก, การลดการใช้จ่ายทางการตลาด และ การยกเลิกหรือการถดถอย โรงแรมสามารถนํายุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของกลยุทธ์ต่างๆนําไปไปประยุกต์ใช้เพื่อ การจัดการวางแผนและรับมือกับสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้วเพื่อกลุ่มนักท่องเที่ยวอินเดีย
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19589
Appears in Collections:460 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
437695.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons