Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19573
Title: Preparation of Gelatin Blended Films for Drug Delivery
Other Titles: การเตรียมแผ่นฟิล์มเจลาตินผสมสำหรับนำส่งยา
Authors: Wiwat Pichayakorn
Suchipha Wannaphatchaiyong
Faculty of Pharmaceutical Sciences (Pharmaceutical Technology)
คณะเภสัชศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม
Keywords: Gels (Pharmacy)
Issue Date: 2019
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: This study aimed to prepare and evaluate the matrix type anesthetic films for using as oral transmucosal (OTD) or transdermal drug delivery systems (TDDS). Gelatin was chosen as the main polymer. Pregelatinized tapioca starch (alpha starch) or gelatinized sago starch was used as a blended polymer. Glycerin (GLY), propylene glycol (PG), polyethylene glycol 400 (PEG400), or deproteinized natural rubber latex (DNRL) was selected as a plasticizer. Either lidocaine base (LB) or its hydrochloride salt (LH) was used as a model drug. The films were obtained by mixing and casting methods before being dried in hot air oven. The amounts of starch and plasticizer affected the water uptake, erosion, and elasticity of films. The films were characterized for their compatibility by using texture analyzer, scanning electron microscopy (SEM), atomic force microscopy (AFM), fourier transform infrared spectroscopy (FT-IR), differential scanning calorimetry (DSC), and X-ray diffractometry (XRD). Gelatin blended with 5 part per hundred of gelatin (phg) alpha starch and 25 phg GLY (Gagly) presented as the appropriate film for OTD. In addition, gelatin blended with 5 phg gelatinized sago starch and 50 phg DNRL (GSNR) gave the suitable patch for TDDS. LB or LH was incorporated into both Gagly film and GSNR patch. The modified Franz diffusion cells were applied for in vitro drug release and permeation studies. Chick chorioallantoic membrane (CAM) and newborn pig skin were used to evaluate the permeation of lidocaine as buccal and skin models, respectively. Both LB and LH could release from Gagly films and GSNR patches. The release of LH was higher than LB in both Gagly films and GSNR patches. Moreover, the drugs could permeate through both CAM and newborn pig skin. For Gagly films, LH could permeate through CAM higher than LB. For GSNR patches, LH could permeate through newborn pig skin lower than LB. This indicated that the lidocaine release or permeation from these films depended on drug property. Medicated Gagly films and GSNR patches exhibited different kinetics of drug release and permeation. Most drug release kinetics of Gagly films in short time and 8 h drug release were fitted to zero order kinetic and first order kinetics, respectively. Most drug permeation kinetics were fitted to first order kinetics. For GSNR patches, most drug release kinetics were fitted to first order or Higuchi's kinetic model. The permeation kinetics of LB- GSNR patches were zero order kinetics or first order kinetics, while that of LH-GSNR patches was not statistically different for three types of kinetics. The results from the stability test for 3 months indicated that these films or patches were recommended to be stored at low temperature. Moreover, the low irritation with CAM test of medicated Gagly films signified their safety for buccal delivery. In conclusion, gelatin and starch could be blended with plasticizer and anesthetic drug such as LB and LH to obtain the suitable film for use as oral transmucosal films or transdermal patches.
Abstract(Thai): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมและประเมินแผ่นฟิล์มยาชาชนิดเมทริกซ์สําหรับใช้เป็นแผ่นฟิล์มเยื่อบุช่องปากหรือแผ่นแปะผิวหนัง โดยเจลาตินถูกใช้เป็นพอลิเมอร์หลัก แป้งมันสัมปะหลังพรีเจลาติไนซ์ (แอลฟาสตาร์ช) หรือแป้งสาคูเจลาติไนซ์ถูกใช้เป็นพอลิเมอร์ผสมกลีเซอรีน โพรพิลีนไกลคอล พอลิเอทิลีนไกลคอล 400 หรือน้ํายางโปรตีนต่ํา ถูกใช้เป็นพลาสติไซ เซอร์ ยาลิโดเคนในรูปเบสหรือเกลือไฮโดรคลอไรด์ถูกใช้เป็นยาต้นแบบ แผ่นฟิล์มเตรียมได้จาก วิธีการผสมและวิธีการผสมก่อนอบแห้งด้วยตู้อบลมร้อน ปริมาณของแป้งและพลาสติไซเซอร์มีผล ต่อการดูดซับน้ํา การกร่อน และความยืดหยุ่นของแผ่นฟิล์ม แผ่นฟิล์มถูกประเมินลักษณะด้านความ เข้ากัน โดยการใช้เครื่องวิเคราะห์เนื้อสัมผัส กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด กล้อง จุลทรรศน์แรงอะตอม ฟูเรียทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี ดิฟเฟอเรนเชียลสแกนนิ่ง แคลอริเมทรี และการประเมินความเข้ากันด้วยการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ เจลาตินผสมกับ 5 ส่วนใน ร้อยส่วนของเจลาติน (phg) ของแอลฟาสตาร์ช และ 25 phg ของกลีเซอรีน (Gagly) ทําให้ได้ แผ่นฟิล์มที่เหมาะสมสําหรับการนําส่งยาทางเยื่อบุช่องปาก นอกจากนี้เจลาตินผสมกับ 5 plag ของ แป้งสาคูเจลาติไนซ์ และ 50 phg ของน้ํายางโปรตีนต่ํา (GSNR) ทําให้ได้แผ่นแปะที่เหมาะสม สําหรับการนําส่งทางผิวหนัง ลิโดเคนเบสและลิโดเคนไฮโดรคลอไรด์ถูกผสมลงในแผ่นฟิล์ม Gagly และแผ่นแปะ GSNR ใช้ฟรานซ์ดิฟฟิวชันเซลส์ดัดแปรสําหรับการศึกษาการปลดปล่อยยา และการซึมผ่านของยาในหลอดทดลอง ใช้เยื่อหุ้มตัวอ่อนของไข่ไก่ (CAM) และหนังหมูแรกเกิด เป็นโมเดลสําหรับการประเมินผลการซึมผ่านของยาลิโดเคนผ่านเยื่อบุในช่องปากและผิวหนัง ตามลําดับ ทั้งยาลิโดเคนเบสและลิโดเคนไฮโดรคลอไรด์สามารถปลดปล่อยออกจากแผ่นฟิล์ม Gagly และแผ่นแปะ GSNR การปลดปล่อยยาของลิโดเคนไฮโดรคลอไรด์สูงกว่าลิโดเคนเบสทั้งใน แผ่นฟิล์ม Gagly และแผ่นแปะ GSNR นอกจากนี้ตัวยาเหล่านี้ยังสามารถซึมผ่านเยื่อหุ้มตัวอ่อนของ ไข่ไก่และหนังหมูแรกเกิด สําหรับแผ่นฟิล์ม Gagly ลิโดเคนไฮโดรคลอไรด์สามารถซึมผ่านเยื่อหุ้ม ตัวอ่อนของไข่ไก่ได้มากกว่าลิโดเคนเบส สําหรับแผ่นแปะ GSNR ลิโดเคนไฮโดรคลอไรด์ซึมผ่านผิวหนังหมูแรกเกิดต่ํากว่าลิโดเคนเบส แสดงให้เห็นว่าการปลดปล่อยหรือซึมผ่านของลิโดเคน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของยา แผ่นฟิล์มผสมยา Gagly และแผ่นแปะผสมยา GSNR แสดงรูปแบบ จลนศาสตร์ของการปลดปล่อยยาและการซึมผ่านของยาที่แตกต่างกัน จลนศาสตร์การปลดปล่อยยา ของแผ่นฟิล์ม Gagly ในระยะสั้นและ 8 ชั่วโมงเหมาะสมกับจลนศาสตร์อันดับศูนย์และจลนศาสตร์ อันดับหนึ่งตามลําดับ จลนศาสตร์การซึมผ่านของยาส่วนใหญ่เหมาะสมกับจลนศาสตร์อันดับหนึ่ง สําหรับแผ่นแปะ GSNR จลนศาสตร์การปลดปล่อยยาเหมาะสมกับจลนศาสตร์อันดับหนึ่งหรือ จลนศาสตร์ของฮิกูชิ จลนศาสตร์การซึมผ่านของยาของแผ่นแปะ LB-GSNR เป็นจลนศาสตร์อันดับ ศูนย์หรือจลนศาสตร์อันดับหนึ่ง ในขณะที่แผ่นแปะ LH-GSNR ไม่มีความแตกต่างทางสถิติของ จลนศาสตร์ทั้ง 3 ชนิด ผลจากการศึกษาความคงตัวเป็นระยะเวลา 3 เดือน แสดงให้เห็นว่าแผ่นฟิล์ม หรือแผ่นแปะเหล่านี้ควรแนะนําให้เก็บที่อุณหภูมิต่ํา นอกจากนี้ การประเมินกระคายเคืองอยู่ใน ระดับต่ําของแผ่นฟิล์มผสมยา Gagly โดยใช้เยื่อหุ้มตัวอ่อนของไข่ไก่ แสดงให้เห็นว่าฟิล์มมีความ ปลอดภัยต่อเยื่อบุในช่องปาก โดยสรุปเจลาตินและแป้งสามารถผสมกับพลาสติไซเซอร์และยาชา เช่น ลิโดเคนเบสและลิโดเคนไฮโดรคลอไรด์ แล้วให้แผ่นฟิล์มที่เหมาะสําหรับเป็นฟิล์มนําส่งยา ทางเยื่อบุช่องปากหรือแผ่นแปะผิวหนัง
Description: Doctor of Philosophy (Phamaceutical Sciences), 2019
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19573
Appears in Collections:580 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
437376.pdf16.56 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons