Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19507
Title: กลไกการบันทึกธุรกรรมการสื่อสารระหว่างสรรพสิ่งผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับการประยุกต์ใช้งานในการเฝ้าระวังผู้ป่วย
Other Titles: Internet of things logging mechanism for patient monitoring applications
Authors: แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ
ปิยวัฒน์ มณีนวล
Faculty of Engineering Management of Information Technology
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
Keywords: สารสนเทสทางการแพทย์;เครื่องชี้ภาวะสุขภาพ;เว็บเซอร์วิส แง่การแพทย์
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research aims to design and evaluate the logging pattern suitable for Internet of things usage in medical fields with NETPIE, developed by National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC), which reduces the distance issue in the patient monitoring applications and stores the health information of each period in details. The proposed logging mechanism uses the basic communication information without violating the data owner. There are three logging types including logging at things, logging at NETPIE and logging both. There are four issues to be checked by the system including new device, complete communication, complete communication with delay, and data lost. The evaluation result from 4 sensors on each patient; there are 30 patients; the data is sent every 250ms to the doctor computer at the hospital via NETPIE using each logging type. The results show that the logging mechanism can detect all new connections and delays. However, the lost and delay can be detected differently for each logging type. For logging at things only, the lost cannot be detected. For logging at NETPIE only, the lost-before-NETPIE cannot be detected. For logging at both, all issues can be detected. The storage for the logging data for logging at things is 0.4%, 0.2% for the logging at NETPIE and 0.61% for logging at both. Thus, the storage for the logging data is less than 1% of all communication data. However, the logging at both can affect the delay. There are 0.91% of data take the average travel time slightly larger than 1 second.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและทดลองรูปแบบการบันทีกธุรกรรมการโดยระบบสื่อสารระหว่างสรรพสิ่งผ่านอินเตอร์เน็ตด้านการแพทย์ด้วยเน็ตพายซึ่งพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เพื่อใช้ลดข้อจํากัดด้านระยะทางในการติดตาม การรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและการเก็บข้อมูลสุขภาพในแต่ละช่วงเวลาอย่างละเอียด บันทึกธุรกรรมใช้ข้อมูลพื้นฐานของการสื่อสารและไม่ล่วงล้ําความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล มีการ ทดสอบรูปแบบการบันทีกธุรการสามแบบ ได้แก่ บันทึกธุรกรรมเฉพาะแต่ละสรรพสิ่ง บันทีกธุรกรรม เฉพาะเน็ตพาย และบันทึกธุรกรรมทุกส่วน เพื่อเน้นการตรวจสอบความผิดปกติทั้งสิ้น 4 แบบ ได้แก่ อุปกรณ์ใหม่ที่เชื่อมต่อเข้ามาครั้งแรก ข้อมูลธุรกรรมการรับส่งข้อมูลอย่างปกติสมบูรณ์ ข้อมูลธุรกรรมการรับส่งข้อมูลอย่างปกติสมบูรณ์แต่ล่าช้า ข้อมูลธุรกรรมการสื่อสารสูญหายระหว่าง สรรพสิ่งและเน็ตพาย ผลการทดลองการทดสอบบันทึกธุรกรรมจากเซ็นเซอร์วัดค่าร่างกาย 4 ชิ้นต่อผู้ป่วย 1 คน ของผู้ป่วยจํานวน 30 คนด้วยการส่งข้อมูลทุก 250 มิลลิวินาที ส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ แพทย์ที่โรงพยาบาลด้วยเน็ตพายด้วยกระบวนการบันทึกธุรกรรมทั้งสามแบบพบว่า การบันทึก ธุรกรรมสามารถตรวจสอบพบการเชื่อมต่อใหม่และความล่าช้าในการสื่อสารของสรรพสิ่งได้ทั้งหมด แต่รูปแบบการตรวจสอบหาการสูญหายของข้อมูลมีความละเอียดในการตรวจพบแตกต่างไป หากบันทึกธุรกรรมที่สรรพสิ่งเท่านั้น จะไม่สามารถระบุรูปแบบการสูญหายได้ หากมีการบันทึก ธุรกรรมที่เน็ตพายเพียงจุดเดียวจะไม่สามารถระบุรูปแบบการสูญหายก่อนถึงเน็ตพายได้ ดังนั้น การบันทึกธุรกรรมทุกส่วนจะสามารถตรวจสอบความผิดปกติได้ทั้ง 4 แบบ โดยขนาดพื้นที่ใน การจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมของการบันทึกธุรกรรมที่สรรพสิ่งคิดเป็นร้อยละ 0.4 ที่เน็ตพายคิดเป็น ร้อยละ 0.2 และการบันทึกทุกส่วนคิดเป็นร้อยละ 0.61 ของปริมาณข้อมูลในการสื่อสาร ดังนั้น พื้นที่ สําหรับเก็บข้อมูลในการบันทึกธุรกรรมมีขนาดเล็กกว่าร้อยละ 1 ของข้อมูลทั้งหมดในการสื่อสาร อย่างไรก็ตาม การบันทึกธุรกรรมทุกส่วนจะส่งผลให้การสื่อสารเกิดความล่าช้า โดยมีปริมาณข้อมูล ร้อยละ 0.091 ใช้เวลาเดินทางในระบบเฉลี่ยเกิน 1 วินาทีเล็กน้อย
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19507
Appears in Collections:229 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435597.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons