Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19455
Title: การจัดการทรัพยากรชุมชนเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยวในพื้นที่ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
Other Titles: Community Resources Management to Strengthen Tourism Identity in Sathing Phra District, Songkhla Province
Authors: ปองพชร ธาราสุข
เศรษฐวัฒน์ คำสุวรรณ
Faculty of Natural Resources (Agricultural Development)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาพัฒนาการเกษตร
Keywords: แนวทางการจัดการ;ทรัพยากรชุมชน;อัตลักษณ์การท่องเที่ยว;อำเภอสทิงพระ
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research aimed 1) study the management of tourism resources of the community in Sathing Phra District, Songkhla Province, 2) design a tourism logo using the tourism identity according to the needs of the community and 3) study guidelines for resource management. Community to strengthen and develop tourism using the tourism identity of Sathing Phra District, Songkhla Province. Area for this research There was a study and collection of data in Sathing Phra District, Songkhla Province, covering all 11 sub-districts. The main informants were divided into 4 groups: 1) personnel working in local government agencies 16 people, 2) tourism groups in Sathing Phra District 6 people, 3) tourists 30 people, 4) local philosophers or tourism experts 7 people, totaling 59 key informants. The research instrument was a semi-structured interview. Structured interview Data were collected using in-depth interviews. Individual interviews workshop Data were analyzed using content analysis. and descriptive statistics such as frequency values, percentages, environmental assessments (SWOT) and TOWS Matrix The results of study reveal that: 1) Management of community tourism resources in Sathing Phra District. Local Administrative Organization of Sathing Phra District tourism management have been planned to consider the strategy for the development of local government organizations in Songkhla Province. Organizational management and staffing of the main responsible departments are the Office of the Permanent Secretary and the Engineering Division, respectively. Controlling and facilitating communities in carrying out tourism activities public relations through website and Facebook page which has been coordinated with community leaders to monitor tourism and related agencies such as the Tourism Authority of Thailand Songkhla Provincial Tourism and Sports Office in promoting tourist. Reporting operating results at least once a year and a tourism budget of approximately 600,000 - 100,000,000 baht has been allocated. Currently, the Sathing Phra District area has tourism components according to the 6A's principles is Accessibility, Amenities, Accommodations, Activities and Ancillary services. Tourists who came to travel in Sathing Phra District during COVID19 30 people were male (63.33 percent, were between 28 -32 years old (43.33 percent), were marital (60.00 percent), had a bachelor's degree (80.00 percent), were employees (33.33 percent), followed by civil servants / state enterprises (26.67 percent), monthly income in the range of 20,001 - 30,000 baht (30.00 percent) and most of them are tourists from other provinces (66.67 percent) such as Pattani and Phatthalung. Tourism identities for Sathing Phra District has 6 most outstanding is No. 1 Wat Pha Kho, No. 2 Node - Na - Le way of life, No. 3 Wat Cha Thing Phra, No. 4 Maharat Beach, No. 5 Handicrafts from sugar and No. 6 traces of the legend of Luang Pu Thuat 2) Logo design. The researcher has designed 3 logos. After going through a workshop, the local government agency chose to use the 3rd logo type, consisting of 2.1) The color: orange representing creativity, white represents purity, yellow represents fertile rice fields, blue represents the rich sea. 2.2) Symbols: Palmyra palm image represents the way of life related to palmyra palm, the lower half circle represents rice fields and the way of life related to farming, the upper half circle / Ko Rae boat represents the sea, Phra Mahathat Chedi and Luang Pu Thuat to be used in promoting or building a brand for Sathing Phra District in the future. 3) Guidelines for resource management. Community to strengthen and develop tourism using the tourism identity. Development strategies were analyzed, divided into 3.1) 5 proactive strategies, 3.2) 2 reactive strategies, 3.3) 5 corrective strategies, and 3.4) 2 preventive strategies. After that, the strategies were used to determine guidelines for community resource management to reinforce Create and develop tourism using the tourism identity of Sathing Phra District in 4 ways: (1) traveling to Sathing Phra, full of merit, (2) making annual merit at Sathing Phra, (3) Sathing Phra, a living historical source, and (4) old times. constan
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชนในพื้นที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 2) ออกแบบโลโก้การท่องเที่ยวโดยใช้อัตลักษณ์การท่องเที่ยวตามความต้องการของชุมชน และ 3) ศึกษาแนวทางการจัดการทรัพยากรชุมชนเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยใช้อัตลักษณ์การท่องเที่ยวของพื้นที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา พื้นที่เก็บรวมรวมข้อมูลครอบคลุม 11 ตำบลของอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ผู้ให้ข้อมูลหลักแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 16 คน 2) กลุ่มท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอสทิงพระ จำนวน 6 คน 3) นักท่องเที่ยว จำนวน 30 คน 4) ปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จำนวน 7 คน รวมผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งสิ้น 59 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์รายบุคคล การประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ การประเมินสภาพแวดล้อม (SWOT) และ TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชนในพื้นที่อำเภอสทิงพระ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นของอำเภอสทิงพระ ได้วางแผนการจัดการการท่องเที่ยวโดยคำนึงตามยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสงขลา การจัดการองค์กรและจัดกำลังคนฝ่ายรับผิดชอบหลัก คือ สำนักปลัด และกองช่าง ตามลำดับ การควบคุมดูแลและอำนวยความสะดวกให้แก่ชุมชนในการดำเนินกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์และเพจเฟสบุ๊ค ซึ่งได้มีการประสานงานร่วมกับผู้นำชุมชนในการดูแลตรวจสอบการท่องเที่ยวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลาในการส่งเสริมการท่องเที่ยว การรายงานผลการดำเนินงานอย่างน้อยปีละครั้ง และมีการจัดสรรงบประมาณด้านการท่องเที่ยวประมาณ 600,000 – 100,000,000 บาท พื้นที่อำเภอสทิงพระมีองค์ประกอบการท่องเที่ยวของพื้นที่ในปัจจุบันมีความครอบคลุมทั้ง 6 ด้าน ตามหลักของ 6A’s คือ ความสามารถในการเข้าถึง สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก กิจกรรม และการจัดการและการบริการของแหล่งท่องเที่ยว ส่วนนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอสทิงพระในช่วงโควิดจำนวน 30 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 63.33 อายุระหว่าง 28 -32 ปี ร้อยละ 43.33 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 60.00 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 80.00 ประกอบอาชีพเป็นลูกจ้าง / พนักงาน ร้อยละ 33.33 รองลงมาเป็นข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจร้อยละ 26.67 รายได้ต่อเดือนในช่วง 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 30.00 ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากต่างจังหวัด ร้อยละ 66.67 เช่น ปัตตานี พัทลุง อัตลักษณ์การท่องเที่ยวของอำเภอสทิงพระที่โดดเด่นมากที่สุด 6 อัตลักษณ์ คือ อันดับที่ 1 วัดพะโคะ อันดับที่ 2 วิถีชีวิต โหนด - นา – เล อันดับที่ 3 วัดจะทิ้งพระ อันดับที่ 4 หาดมหาราช อันดับที่ 5 หัตถกรรมจากตาลโตนด และอันดับ 6 ร่องรอยตำนานหลวงปู่ทวด 2) ออกแบบโลโก้ ผู้วิจัยได้ออกแบบโลโก้ จำนวน 3 โลโก้ เมื่อผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นเลือกใช้โลโก้แบบที่ 3 ประกอบด้วย 2.1) สี สีส้ม แทนความคิดสร้างสรรค์ สีขาวแทนความบริสุทธิ์ สีเหลืองแทนทุ่งนาที่อุดมสมบูรณ์ สีฟ้าแทนทะเลที่อุดมสมบูรณ์ 2.2) สัญลักษณ์ รูปตาลโตนดแทนวิถีชีวิตเกี่ยวกับตาลโตนด ครึ่งวงกลมล่างแทนทุ่งนาและวิถีชีวิตเกี่ยวกับการทำนา ครึ่งวงกลมบน / เรือกอแระ แทนทะเล เจดีย์พระมหาธาตุ และ หลวงปู่ทวด เพื่อนำไปใช้ในการส่งเสริมหรือสร้างแบรนด์ให้กับอำเภอสทิงพระในอนาคต 3) แนวทางการจัดการทรัพยากรชุมชนเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยใช้อัตลักษณ์การท่องเที่ยวของพื้นที่อำเภอสทิงพระ ได้วิเคราะห์กลยุทธ์การพัฒนา แบ่งเป็น 3.1) กลยุทธ์เชิงรุก 5 กลยุทธ์ 3.2) กลยุทธ์เชิงรับ 2 กลยุทธ์ 3.3) กลยุทธ์เชิงแก้ไข 5 กลยุทธ์ และ 3.4) กลยุทธ์เชิงป้องกัน 2 กลยุทธ์ หลังจากนั้นจึงนำกลยุทธ์มากำหนดแนวทางการจัดการทรัพยากรชุมชนเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยใช้อัตลักษณ์การท่องเที่ยวของพื้นที่อำเภอสทิงพระได้ 4 แนวทาง คือ (1) ท่องเที่ยวสทิงพระอิ่มกายอิ่มบุญ (2) ทำบุญประจำปีที่สทิงพระ (3) สทิงพระแหล่งประวัติศาสตร์มีชีวิต และ (4) กาลเวลาเก่าที่คง
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาการเกษตร), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19455
Appears in Collections:520 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6210620026.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons