Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19423
Title: การประเมินการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2
Other Titles: Assessment of the Implementation of Islamic Studies Curriculum based on the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 in Educational Institutions Affiliated with Pattani Primary Educational Service Area Office 2
Authors: อับดุลฮากัม เฮ็งปิยา
ยาวารี สะนิ
Faculty of Islamic Sciences
คณะวิทยาการอิสลาม
Keywords: การประเมินหลักสูตร;หลักสูตรอิสลามศึกษา
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This study is survey research and aims to 1) examine the problems relating to the implementation of Islamic education curriculum based on the basic education core curriculum of B.E. 2551, 2) assess the utilization of Islamic education curriculum based on the basic education core curriculum of B.E. 2551, and 3) study the guidelines for effective implementation of Islamic education curriculum based on the basic education core curriculum of B.E. 2551 in schools under Pattani Primary Educational Service Area Office 2, using Stufflebeam’s model CIPP (Context, Input, Process, and Product). The sample includes six qualified individuals who were purposively selected based on their qualifications and expertise related to the curriculum. 100 teachers who teach Islamic education curriculum based on the basic education core curriculum of the B.E. 2551 in schools under Pattani Primary Educational Service Area Office 2 were randomly selected. The research tools consist of an online questionnaire (Google Forms) and semi-structured interviews. The study findings revealed the following: 1. Results of analysis of the problems relating to the implementation of Islamic education curriculum based on the basic education core curriculum of B.E. 2551 in Pattani Primary Educational Service Area Office 2 as follows: (1) the curriculum has an overwhelming amount of subjects, including general and religious subjects, which results in inadequate teaching time, (2) some teachers lack specialized qualifications, causing them to ineffectively transmit knowledge and develop appropriate learning plans, (3) budget allocation for Islamic education is insufficient, resulting in a lack of textbooks and teaching materials. 2. The overall and each item score levels of teachers’ opinion on the assessment of the use of Islamic education curriculum based on the basic education core curriculum of the B.E. 2551 in four aspects: context, input, processes, and outcomes were high. 3. The results of the analysis of guidelines for effective implementing Islamic education curriculum based on the basic education core curriculum of the B.E. 2551 in schools under Pattani Primary Educational Service Area Office 2 as follows: 1) the method of instruction and learning used was subject-integrated; 2) choosing appropriate learning tools, such as hands-on or interactive materials and digital media, for Islamic instruction; 3) securing funding for textbooks, staff, Islamic education instructors, training sessions, and seminars, among other things, from pertinent organizations; 4) creating educational activities that help students learn and grow in a variety of areas so they can acquire real-world experience and useful skills; 5) utilizing a variety of asseesment and measurement techniques, such as tests to measure students’ knowledge and comprehension of the contents learned and observation assessment form to assess their application of Islamic principles; 6) following up Islamic education curriculum implementation and monitoring teaching and learning and evaluate their progress according to the established goals; and 7) Islamic education curriculum was revised and activities were arranged in accordance with assessement findings.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา การใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2) เพื่อ ประเมินการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 3) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ให้ มีประสิทธิภาพ โดยใช้แบบจำลองซิปป์ (CIPP) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebram) ประเมินองค์ประกอบ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตที่เกี่ยวกับหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง โดยพิจารณาคุณสมบัติด้านคุณวุฒิ ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านหลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และครูผู้สอนที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 จำนวน 100 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามออนไลน์ (Google forms) และสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษา พบว่า 1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 พบว่า 1) ด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า หลักสูตรที่มีการสอน รายวิชาสามัญควบคู่ศาสนา มีรายวิชาที่มากเกินไป ทำให้เวลาเรียนไม่เพียงพอ 2) ด้านครูผู้สอน พบว่า ครูผู้สอนไม่ได้จบตรงสาขา ทำให้มีอุปสรรคในการใช้หลักสูตร ไม่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ได้อย่างถ่องแท้ ขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่ถูกต้องได้ และ 3) ด้านการ จัดสรรงบประมาณ พบว่า โรงเรียนไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา ทำให้ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน เช่น ขาดแคลนหนังสือเรียน สื่อการ สอนต่าง ๆ 2. ความคิดเห็นของครูต่อการประเมินการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ใน 4 ด้าน ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้าน กระบวนการ และด้านผลผลิต โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก 3. ผลการวิเคราะห์แนวทางการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพ ควรมีแนวทาง ดังนี้ 1) การจัดการเรียนการสอนแบบ บูรณาการรายวิชา 2) การเลือกเครื่องมือการเรียนรู้ สื่อทำมือ และสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เหมาะสม สำหรับการเรียนรู้อิสลามศึกษา 3) การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะด้านงบประมาณ ในการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ เช่น หนังสือเรียน บุคลากรหรือวิทยากรอิสลามศึกษา การอบรมและ สัมมนา 4) การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้อิสลามศึกษาโดยการออกแบบกิจกรรมที่สนับสนุนการเรียนรู้ และทักษะต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จริงและสามารถปฏิบัติได้ (5) การวัดและ ประเมินผลด้วยวิธีที่หลายหลาย เช่น การใช้แบบทดสอบเพื่อวัดความความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่ เรียนและแบบสังเกตเพื่อประเมินการปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม 6) การติดตามการใช้หลักสูตร อิสลามศึกษาโดยการนิเทศติดตามและประเมินความคืบหน้าตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และ 7) การ ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอิสลามศึกษาผ่านการทบทวนหลักสูตรและจัดกิจกรรมปรับปรุงการ เรียนรู้ตามผลการประเมิน
Description: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19423
Appears in Collections:761 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6520420116.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons