Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19074
Title: ผลของการเสริมเอนไซม์โปรติเอสในอาหารกุ้งขาวต่อการเจริญเติบโต สัมประสิทธิ์การย่อยอาหาร และความต้านทานโรค
Other Titles: Effect of dietary protease supplementation on growth performance, digestibility coefficient and disease resistance in pacific white shrimp (litopenaeus vannamei)
Authors: วุฒิพร พรหมขุนทอง
พัธพงค์ แซ่ตู
Faculty of Natural Resources (Aquatic Science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาวาริชศาสตร์
Keywords: กุ้งขาว อาหาร;กุ้งขาว การเจริญเติบโต
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This study investigated the effects of exogenous protease enzyme supplementation on Pacific white shrimp, Litopenaeus vannamei as a result of replacing fish meal with plant protein from soybean meal in comparison with a high fish meal diet, on growth performance, feed utilization, enzyme activity, immunity and disease resistance. Shrimp with an initial average body weight of 2.33g, were randomly sampled and reared in 220-liter rectangular plastic tanks at the stocking rate of 30 shrimp per tank with 15 ppt seawater. Shrimp were fed experimental diets four times daily for 8 weeks. Feeding trial was operated by 3×2 factorial experimental design, composed of 6 treatments with 5 replications each. Two factors were examined. First of which had 3 different levels of fish meal including 180g kg (PC), 100g kg-1 (NCI) and Og kg-1 (NC2). Each fish meal level was divided into two groups, i.e. un-supplemented and supplemented with 175mg kg exogenous protease enzyme. All diets were formulated to reach iso-proteic (38%) and iso-energetic (19kJ g). In low fish meal diets (NC1 and NC2), fish meal (from PC diet) was replaced by soybean meal. The results exhibited no significant differences in growth performance between shrimp fed PC diet and NC1 diet (P > 0.05), whereas digestive enzyme activity, i.e. protease, amylase and cellulase as well as apparent digestibility coefficients (dry matter and crude protein) of NC1, significantly decreased (P < 0.05). However, growth performance, feed intake and digestive enzyme chymotrypsin and cellulase activity, as well as apparent digestibility coefficient of crude protein were significantly lower for NC2 compared to the PC and NC1 (P<0.05). Moreover, there were no differences in survival rate, feed utilization and all immune parameters including total hemocyte count, hemolymph oxyhemocyanin content, the ratio of oxyhemocyanin to hemolymph protein, phenoloxidase activity, catalase activity, malondialdehyde content and cumulative mortality after challenge with V. harveyi for 14 days among treatment groups (PC, NC1 and NC2) (P>0.05). Exogenous protease supplementation in low fish meal diets had a positive influence on feed utilization as the result of an improvement in feed conversion ratio and an enhancement of protein efficiency ratio, apparent net protein utilization, digestive enzyme activity including trypsin, chymotrypsin, lipase and cellulase, as well as apparent digestibility coefficients of dry matter, crude protein and gross energy (P < 0.05). Furthermore, there was significant attenuation of oxyhemocyanin content and the ratio of oxyhemocyanin to hemolymph protein which might be due to the decreased energy demand for digestive activity and shrimp response against antigenic proteins from soybean meal. However, supplementation of the protease showed no significant differences in growth performance, survival rate, other immune parameters and cumulative mortality during disease challenge test (P > 0.05). Our results indicated that the reduction of fish meal levels up to 45% in shrimp diet when a low fish meal diet was replaced with soybean meal and supplementation of protease at 175mg kg-1 in the diets could improve the feed utilization and apparent digestibility coefficients of Pacific white shrimp.
Abstract(Thai): ศึกษาผลของการเสริมเอนไซม์โปรติเอสในอาหารสําหรับกุ้งขาวที่มีการลดระดับปลาป่น ในสูตรอาหารและใช้วัตถุดิบแหล่งโปรตีนจากกากถั่วเหลืองมาทดแทนเปรียบเทียบกับสูตรอาหารปกติที่มีการใช้ปลาป่นเป็นแหล่งโปรตีนหลักต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร กิจกรรมของเอนไซม์ย่อยอาหาร สัมประสิทธิ์การย่อยอาหาร ภูมิคุ้มกัน และความต้านทานต่อเชื้อ Vibrio harveyi ในกุ้งขาว น้ําหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 2.33 กรัมต่อตัว ทําการทดลองในถังพลาสติกทรง สี่เหลี่ยมความจุน้ํา 220 ลิตร ใช้กุ้งจํานวน 30 ตัวต่อถัง เลี้ยงในน้ําทะเลความเค็ม 15 พีพีที กุ้งได้รับ อาหารวันละ 4 มื้อ วางแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียล แบบ 3 × 2 ซึ่งปัจจัยที่ศึกษามี 2 ปัจจัย คือ ระดับของปลาป่นในสูตรอาหารแตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 180 กรัม/กิโลกรัม (ปลาป่นสูง) 100 ก./กก. (ปลาป่นต่ํา) และ ( ก./กก. (ไม่มีปลาป่น) และแต่ละระดับของปลาป่นแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ไม่เสริม และมีการเสริมเอนไซม์โปรติเอสที่ระดับ 175 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร และกําหนดให้อาหารทุก สูตรมีระดับโปรตีน 38 เปอร์เซ็นต์ และพลังงาน 19 กิโลจูล/กรัมอาหารเท่ากัน การทดลองแบ่งเป็น 6 ชุดการทดลอง ๆ ละ 5 ซ้ํา ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ พบว่ากุ้งขาวที่ได้รับอาหารที่มีปลา ป่นต่ํามีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกับกุ้งขาวที่ได้รับอาหารที่มีปลาป่นสูง (P > 0.05) แม้ว่ากุ้งขาวที่ ได้รับอาหารที่มีปลาป่นต่ําจะมีกิจกรรมของเอนไซม์ย่อยอาหาร ได้แก่ เอนไซม์โปรติเอส อะไมเลส และเซลลูเลส รวมถึงสัมประสิทธิ์การย่อยวัตถุแห้งและโปรตีนลดต่ําลงก็ตาม (P < 0.05) แต่กุ้งขาว ที่ได้รับอาหารที่ไม่มีปลาป่นมีการเจริญเติบโต ปริมาณอาหารที่กุ้งกิน กิจกรรมของเอนไซม์ย่อย อาหารได้แก่ ไคโมทริปซิน และเซลลูเลส รวมถึงสัมประสิทธิ์การย่อยโปรตีนลดต่ําลง เมื่อ เปรียบเทียบกับกุ้งขาวที่ได้รับอาหารที่มีปลาป่นต่ําและปลาป่นสูง (P < 0.05) อย่างไรก็ตามกุ้งขาวที่ ได้รับอาหารที่มีปลาป่นสูง และมีการลดปลาป่นลงในสูตรอาหารทั้ง 2 ระดับ มีอัตราการรอด ประสิทธิภาพการใช้อาหาร รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันได้แก่ ปริมาณเม็ดเลือดรวม ปริมาณออกซีฮีโมไซยานินและโปรตีน และอัตราส่วนของออกซีฮีโมไซยานินต่อโปรตีนในฮีโมลิมฟ์ กิจกรรมของเอนไซม์ฟีนอลออกซิเดสและแคทาเลส และปริมาณมาลอน ไดอัลดีไฮด์ และมี อัตราการตายสะสมหลังได้รับเชื้อ V. harveyi เป็นเวลา 14 วัน ไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) การเสริมเอนไซม์โปรติเอสในอาหารส่งผลให้กุ้งขาวมีประสิทธิภาพการใช้อาหารเพิ่มสูงขึ้นโดยมีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อดีขึ้น ในขณะที่มีประสิทธิภาพการใช้โปรตีนและการใช้ ประโยชน์จากโปรตีนสุทธิเพิ่มสูงขึ้น และมีกิจกรรมของเอนไซม์ย่อยอาหาร ได้แก่ เอนไซม์ทริปซิน ไคโมทริปซิน ไลเปส และเซลลูเลส รวมถึงสัมประสิทธิ์การย่อยวัตถุแห้ง โปรตีน และพลังงานเพิ่ม สูงขึ้น (P < 0.05) อีกทั้งยังส่งผลให้มีปริมาณออกซีฮีโมไซยานิน รวมถึงอัตราส่วนของออกซีฮีโม ไซยานินต่อโปรตีนในฮีโมลิมฟ์ลดต่ําลง (P < 0.05) ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงการลดลงของความต้องการใช้ พลังงานในกิจกรรมการย่อยอาหาร การตอบสนองของร่างกายต่อโปรตีนที่มีความเป็นพิษจากกากถั่วเหลือง แต่อย่างไรก็ตามการเสริมเอนไซม์โปรติเอสลงในอาหาร ไม่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันและอัตราการตายสะสมหลังได้รับเชื้อ V. harveyi เป็นเวลา 14 วัน (P > 0.05) จากผลการศึกษาบ่งชี้ว่าในสูตรอาหารสําหรับกุ้งขาวสามารถ ลดระดับปลาป่นลง 45 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้แหล่งโปรตีนจากกากถั่วเหลืองมาทดแทน และการเสริม เอนไซม์โปรติเอสที่ระดับ 175 มก./กก. สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหารและสัมประสิทธิ์ การย่อยอาหารของกุ้งขาวให้สูงขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (วาริชศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19074
Appears in Collections:530 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435077.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons