Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19043
Title: HyBiX Hybrid encoding bitmap index for efficient space and query processing time
Other Titles: Hybix การลงรหัสดัชนีบิตแมปแบบไฮบริด สำหรับประสิทธิภาพด้านพื้นที่และเวลาการประมวลผลสอบถาม
Authors: Sirirut Vanichayobon
Naphat Keawpibal
Faculty of Science (Computer Science)
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
Keywords: Database management;Technology indicators;Information storage and retrieval systems
Issue Date: 2018
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: With an increasing availability of technology, an enormous amount of data has been generated. The problems in the storage and access have emerged. The consequent need for efficient techniques to store and access the information has been a strong resurgence of interest in the area of information retrieval. A bitmap-based index is an effective and efficient indexing method for operating information retrieval in a read-only environment. It offers improved query execution time by applying low-cost Boolean operators on the index directly, before accessing raw data. However, a drawback of the bitmap index is that the index size increases with the cardinality of indexed attributes. This dissertation then proposes a new encoding bitmap index, called HyBiX bitmap index. The basic concept of HyBiX bitmap index is the use of grouping idea with attribute values and the encoding design of existing encoding bitmap indexes in order to improve both storage demanded and execution time consumed with various queries. Particularly, the grouping of attribute values facilitates in answering a continuous range of query values. The experiment show that the HyBiX bitmap index takes 79% and 82% faster execution times than the Encoded bitmap index, for equality and range queries, respectively. Furthermore, the performance of HyBiX bitmap index in terms of space and time trade-off achieves the third-best and first-best as compare to existing encoding bitmap index, for equality and range queries, respectively.
Abstract(Thai): การพัฒนาของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้สร้างข้อมูลจํานวนมหาศาลขึ้นมา ซึ่งได้ก่อให้เกิดปัญหาในการจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลจํานวนมหาศาลดังกล่าว ดังนั้นเทคนิคในการจัดเก็บข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลจึงได้รับความสนใจและศึกษาเพื่อให้มีการจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลอย่างมีประสิทธภาพ ดัชนีบิตแมปเป็น วิธีการจัดทําดัชนีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียกดูข้อมูลบนระบบที่มีสภาวะแวดล้อมแบบอ่านอย่างเดียว เนื่องจากสามารถดําเนินการการค้นหาได้รวดเร็วโดยใช้ตัวดําเนินการบูลีนต้นทุนต่ําบนดัชนีได้ โดยตรงก่อนเข้าถึงข้อมูลจริง อย่างไรก็ตามข้อเสียของดัชนีบิตแมปคือขนาดของดัชนีที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อสร้าง บนแอตทริบิวต์ที่มีคาร์ดินอลิตี้สูง วิทยานิพนธ์นี้เสนอดัชนีบิตแมปที่มีการลงรหัสรูปแบบใหม่ซึ่งเรียกว่า ดัชนี บิตแมปแบบไฮบริด (ดัชนีบิตแมป HyBiX) แนวคิดพื้นฐานของการสร้างดัชนีบิตแมปแบบไฮบริดคือการจัดการกลุ่มค่าของแอตทริบิวต์ และการใช้แนวคิดพื้นฐานการลงรหัสของดัชนีบิตแมปรูปแบบอื่น ๆ ที่มีอยู่ เพื่อ ปรับปรุงประสิทธิภาพทั้งด้านเนื้อที่และเวลาที่ใช้ในการประมวลผลสําหรับการสืบค้นข้อมูลในลักษณะต่างๆ จัดกลุ่มค่าข้อมูลของแอตทริบิวต์ช่วยอํานวยความสะดวกในการตอบแบบสอบถามที่มีการค้นหาช่วงของค่า ข้อมูลที่ต่อเนื่องกัน จากผลการวิเคราะห์และทดลองเปรียบเทียบระหว่างดัชนีบิตแมปแบบไฮบริดกับดัชนี บิตแมปอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่า เวลาที่ใช้ในการตอบแบบสอบถามแบบค่าเท่ากันเร็วขึ้น 79% และการตอบ แบบสอบถามแบบช่วงเร็วขึ้น 82% นอกจากนี้ประสิทธิภาพของดัชนีบิตแมปแบบไฮบริดในแง่ของการ แลกเปลี่ยนระหว่างประสิทธิภาพของพื้นที่กับเวลา (Space vs. time trade-off) อยู่ในลําดับที่สามที่ดีที่สุด สําหรับการสอบถามแบบค่าเท่ากัน และลําดับแรกที่ดีที่สุดสําหรับการสอบถามแบบช่วง เมื่อเปรียบเทียบกับ ดัชนีบิตแมปแบบอื่นๆ
Description: Thesis (Ph.D., Computer Science)--Prince of Songkla University, 2018
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19043
Appears in Collections:344 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435109.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons