Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18253
Title: บทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ: กรณีศึกษาอุบัติเหตุทางถนน อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
Other Titles: The Role of District Health Board: Case Study of Road Traffic Accident in Pabon District, Phatthalung Province
Authors: วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย
จุฬาภรณ์ เหตุทอง
Health System Management Institute
สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
Keywords: อุบัติเหตุทางถนน;การป้องกันการบาดเจ็บ;การมีส่วนร่วม;ระบบสุขภาพอำเภอ;คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The purpose of this research was to study the roles of the District Health Board (DHB) in preventing and controlling road accidents. Three sample groups were selected by a purposive sampling method, consisting of 20 members of Pa Bon District Health Board, 19 members of the Road Accident Prevention Working Group, and 20 stakeholders, including community leaders, representatives or relatives of injured people and those killed in road accidents, village health volunteers and volunteers taking care of bedridden patients. Data were collected using a questionnaire, an interview form and focus group discussions, and analyzed by descriptive statistics and content analysis. The findings revealed that the roles comprehensively performed by the District Health Board included setting goals and operating guidelines, driving operation, and coordinating with government agencies, the private sector and the public sector in the responsible area (100%). The roles that the District Health Board were not performed comprehensively included giving advice and mentoring, support for participation, performing other assigned operations and monitoring and evaluation (75.0%, 65.0%, 50.0%, 35.0%, respectively). When considering the details of the implementation of the five pillars of road safety measures, the following information can be acquired. Pillar 1: Road Safety Management: Each department was assigned to prepare a project plan and carry out the mission in accordance with the policy under “Safety with Traffic Discipline”. Pillar 2: Safer Roads and Mobility: The Highway Division, the Subdistrict Administrative Organization, factories and the Provincial Electricity Authority surveyed and collected data, solved problems and maintained roads in risky areas. Pillar 3: Safer Vehicles: An action plan was prepared with the Department of Land Transport, Road Accident Victims Protection Co., Ltd. and Vocational College in the registration renewal and Compulsory Motor Insurance and checking the vehicle condition of the car for the public. Pillar 4: Safer Road Users: A project was organized with local organizations to educate and publicize traffic discipline rules for children, youth and the general public. Pillar 5: Post-crash response: A project was organized in conjunction with hospitals to prepare responses after road accidents in 3 areas: assistance systems for victims at the scene of the accident, the readiness of the service units and remedial measures after the accident. Pa Bon District Health Board should focus on additional actions in the following 4 roles. Role 3: Support for participation: The community should be encouraged and supported to participate in road maintenance and safety. The visibility of community roads or secondary roads should be improved. Advice and mentors in writing a project budget proposal submitted to the Community Health Security Fund are also needed as the budget will be used in creating cooperation, awareness, a sense of belonging and awareness of road accident prevention at community, family and individual levels. Role 4: Giving advice and mentoring: Comprehensive actions in accordance with the five pillars of road safety measures should be operated. Also, the scope of work in Pillar 1 (Road Safety Management) should be expanded. Role 5: Monitoring and evaluation: The PDCA should be applied in the roles according to the five pillars of road safety measures to systematically improve work processes in problem solving and continuous improvement of operations. Role 6: Coordinating with government agencies, the private sector and the public sector in the responsible area: The information on road accidents should be exchanged. The community public relations network should be established. As for Roles 1-2, more details of the operations according to the roles should be added as follows. Role 1: Setting goals and operating guidelines: Additional actions should be taken to develop the potential and competency of Pa Bon District Health Board to suit the identified problems.Role 2: Driving operations: Further actions should be taken to create mutual awareness with the working group in the implementation of the five pillars of road safety measures. The roles of the District Health Board should be clearly defined. The budget to support the implementation is also needed for sustainable operations. The findings of this study can be used as the recommendations for the DHB. committee should set it as a measure. Road accident prevention performance and follow-up on progress every three months, and a forum should be organized to share lessons learned on good management processes to drive road accident prevention operations. Policy recommendations; provincial executive in each province should encourage agencies at the provincial, district, sub-district, and community levels to be aware of the approach to drive this issue in the same direction and should be formulated as a strategy. Work plans/projects of relevant agencies Pushing forward work through the Community Health Security Fund. in addition, the research on the success and failure factors of the operations of the District Health Board and the effective ways in developing the competencies of the District Health Board should be conducted.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอ (พชอ.) ในการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุทางถนน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย คณะกรรมการ พชอ. อำเภอป่าบอน จำนวน 20 คน คณะทำงานด้านการป้องกัน อุบัติเหตุทางถนน จำนวน 19 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้นำชุมชน ตัวแทนผู้ที่เคยได้รับ บาดเจ็บหรือญาติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และ จิตอาสาดูแลผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการ สนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานตามบทบาทคณะกรรมการ พชอ. ป่าบอน มี บทบาทที่ดำเนินการครอบคลุม ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายและแนวทางดำเนินงาน การขับเคลื่อนให้ เกิดการดำเนินงาน และการประสานหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่ส่งต่อ ข้อมูล ร้อยละ 100 ส่วนบทบาทที่ยังดำเนินการไม่ครอบคลุม ได้แก่ การเสนอแนะและให้คำปรึกษา การสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วม ปฏิบัติการอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย และการติดตามประเมินผล ร้อยละ 75.0, 65.0, 50.0, 35.0 ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายละเอียดการดำเนินงานตามมาตรการ ความปลอดภัยทางถนน 5 เสาหลัก พบว่า เสาหลักที่ 1 ด้านการบริหารความปลอดภัยทางถนน กำหนดให้แต่ละหน่วยงานจัดทำแผนงานโครงการและดำเนินการตามภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบาย ภายใต้ “ความปลอดภัย มีวินัยจราจร” เสาหลักที่ 2 ถนนและการสัญจรอย่างปลอดภัย ให้หมวดการ ทาง องค์การบริหารส่วนตำบล โรงงาน และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำรวจ เก็บข้อมูล แก้ปัญหา และ ซ่อมบำรุงถนนบริเวณจุดเสี่ยง เสาหลักที่ 3 ยานพาหนะปลอดภัย จัดทำแผนดำเนินการร่วมกับ สำนักงานขนส่ง บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด วิทยาลัยการอาชีพ ในการต่อ ทะเบียนและพรบ. ตรวจเช็คสภาพรถให้กับประชาชน เสาหลักที่ 4 การใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย จัดทำโครงการร่วมกับหน่วยงานในระดับพื้นที่เพื่อให้ความรู้และประชาสัมพันธ์กฎระเบียบวินัยจราจร แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน เสาหลักที่ 5 การตอบสนองหลังเกิดอุบัติเหตุ จัดทำโครงการร่วมกับ รพ. และ รพ.สต. เพื่อเตรียมความพร้อมการตอบสนองหลังเกิดอุบัติเหตุ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านระบบ ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุบริเวณจุดเกิดเหตุ ด้านความพร้อมของหน่วยบริการ ด้านมาตรการเยียวยาหลังการเกิดเหตุ เป็นต้น บทบาทคณะกรรมการ พชอ. ป่าบอน ที่ควรจะเป็นเน้นการ ดำเนินการเพิ่มเติมใน 4 บทบาท คือ บทบาทที่ 3 การสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วม ควรส่งเสริมและ สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลด้านถนนและการสัญจรอย่างปลอดภัย การปรับทัศนวิสัยการ ขับขี่ของถนนในชุมชนหรือถนนสายรอง แนะนำหรือเป็นพี่เลี้ยงในการเขียนโครงการของบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กปท.) เพื่อนำมาใช้ในการสร้างความ ร่วมมือ ความตระหนัก ความรู้สึกเป็นเจ้าของ และสร้างจิตสำนึกในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนใน ระดับชุมชน ครอบครัว และบุคคล บทบาทที่ 4 การเสนอแนะและให้คำปรึกษา ควรมีการดำเนินการ ให้ครอบคลุมทุกด้านตามมาตรการความปลอดภัยทางถนน 5 เสาหลัก และขยายขอบเขตงานในเสา หลักที่ 1 การบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน บทบาทที่ 5 การติดตามและประเมินผล เน้นการ นำหลักการวิเคราะห์ข้อมูล PDCA มาใช้ในบทบาทตามมาตรการความปลอดภัยทางถนน 5 เสาหลัก เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาและการพัฒนาการ ดำเนินงานที่ต่อเนื่อง และบทบาทที่ 6 การประสานงานหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาค ประชาชนในพื้นที่ส่งต่อข้อมูล ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและสร้าง เครือข่ายประชาสัมพันธ์ในชุมชน เพื่อร่วมกันดำเนินงานเป็นเครือข่ายต่อไป ส่วนในบทบาทที่ 1-2 ควรมีการขยายรายละเอียดเพิ่มเติมของการดำเนินงานตามบทบาท ได้แก่ บทบาทที่ 1 การกำหนด เป้าหมายและแนวทางดำเนินการ พบว่าควรดำเนินการเพิ่มเติมในการพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะ แก่คณะกรรมการ พชอ.ป่าบอน ให้เหมาะสมกับประเด็นปัญหาที่กำหนด บทบาทที่ 2 การขับเคลื่อน ให้เกิดการดำเนินงาน ควรดำเนินการเพิ่มเติมในการสร้างการรับรู้ร่วมกันกับคณะทำงานในการ ดำเนินงานแต่ละมาตรการความปลอดภัยทางถนน 5 เสาหลัก กำหนดบทบาทของคณะกรรมการ พชอ. ให้ชัดเจนและมีงบประมาณสนับสนุนเพื่อผลักดันให้เกิดการดำเนินงานที่ยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นข้อเสนอแนะคณะกรรมการ พชอ. ควรกำหนดเป็นตัวชี้วัด ผลการดำเนินงานด้าน การป้องกันอุบัติเหตุทางถนนและติดตามความก้าวหน้าทุก 3 เดือนและควรจัดเวทีการถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการบริหารจัดการที่ดีในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในประเด็นการ ป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดในแต่ละจังหวัดควรส่งเสริมให้ หน่วยงานระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และชุมชน มีการรับรู้แนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงานประเด็น นี้ใปในทิศทางเดียวกันและควรกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันการขับเคลื่อนงานผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และผลักดัน นโยบายสู่องค์กรอื่นๆและควรมีการศึกษาวิจัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จและปัจจัยที่ส่งผลต่อ ความล้มเหลวในการดำเนินงานของคณะกรรมการ พชอ. และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอที่มีประสิทธิภาพ
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบสุขภาพ), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18253
Appears in Collections:148 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6010024007.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons