Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18211
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอับดุลเลาะ หนุ่มสุข-
dc.contributor.authorอรรณพ แดงโกเมน-
dc.date.accessioned2023-10-12T07:43:57Z-
dc.date.available2023-10-12T07:43:57Z-
dc.date.issued2022-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18211-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (อิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565en_US
dc.description.abstractThe Research is qualitative aiming at investigating (1) The Tenets of islam on human intesgroup relation. The Prophetic history / and the right and rules of Muslim relation to Non – Muslims, (2) The Wasatiyyah interms its Principles, background and organizations and the Movement in Thailand, (3) Guidline of Muslim practices in light of Wasatiyyah for peaceful coexistence in Thailand. The Research data are partly of Muslim scholars in collected Through the review of documents in comprising al-Quran, al- Hadith, The apluions in early 300 years of Muslim calendar and others related, The principles of Islamic Jurispru-dence, e.g. Maqasid al-sharieah, Usul al-fiqh,Qawa id al-fiqheyah, Fiqh al-waqieia, Fiqh al'awlawiaat and Fiqh al'aqaliyaat. Anather part of the data are from in-depth interview of the Founders and policy makers of Wasatiyyah orgizations. The data are analysed as content analysis. It is found from the study that: as follows: 1) Social change is brousht about the Prophet Muhammad by us Islamic moral cultivation, enhancing human relation and cooperation among members of society. 2) Prophet Muhammad established matual the rights of duties peaples in relation to state contriburing to development, prospering, and peace settlement. 3) Al-Wasatiyyah comprises of 6 main principles: (1. Excellency. (2. Justice. (3. Balance. (4. Integrity. (5. Simplicity. (6. Wisdom. 4) Application of Wasatiyyah in the context of Thai society That finds appropriate lays in the principles of Fiqh al'aqaliyaat, i.e. (1. Prevention of harm, (2. Protection of good. (3. Flexibility. (4. Prioritization of Islamic rules.(5. Propriety. (6.Assessment of benefit an loss. 5) Principles of Wasatiyyah find applicable for peace building in relation to non-Muslim in Thailand are (1. Diversity awareness. (2. Respect of diversity. (3. Being optimistic to diversity. (4. Tolerance of differences. (5. Unity in diversity.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectวิถีปฏิบัติแบบมุสลิมen_US
dc.subjectชนต่างศาสนิกen_US
dc.subjectวะสะฏียะฮ์en_US
dc.subjectอิสลามศึกษาen_US
dc.subjectมุสลิมen_US
dc.subjectจริยศาสตร์อิสลามen_US
dc.titleวิถีปฏิบัติแบบมุสลิมต่อชนต่างศาสนิกในสังคมหลากวัฒนธรรม กรณีศึกษา การเคลื่อนไหวองค์กรวะสะฏียะฮ์ในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeThe Muslim Conduct in Relation to Non-Muslims in Multi-Cultural Society A Case Study Movement of Wasatiyyah Organization in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Islamic Sciences-
dc.contributor.departmentคณะวิทยาการอิสลาม-
dc.description.abstract-thงานวิจัยฉบับนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยชาติ ประวัติศาสตร์ยุคท่านนบีมุฮัมหมัด สิทธิและกฎเกณฑ์ต่างๆว่าด้วยวิถีปฏิบัติระหว่างมุสลิมกับชนต่างศาสนิก (2) หลักการของอัลวะสะฏียะฮ์ ประวัติความเป็นมา องค์กรอัลวะสะฏียะฮ์ และการเคลื่อนไหววะสะฏียะฮ์ในประเทศไทย (3) วิถีปฏิบัติแบบมุสลิมในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติด้วยแนวทางอัลวะสะฏียะฮ์ในประเทศไทย ในการศึกษานี้ องค์ความรู้เกิดจากการวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูล 2 ส่วน (1) บทบัญญัติแห่งคัมภีร์อัลกุรอาน อัลหะดีษ ทัศนะของบรรดาปราชญ์อิสลามโดยเฉพาะในยุค 300 ปีแรกตามปฏิทินอิสลาม ทัศนะของนักวิชาการอิสลามในประเด็นดังกล่าว และกฎเกณฑ์ทางด้านนิติศาสตร์อิสลาม เช่น มะกอศิดชะรีอะฮ์ อุศูลุลฟิกฮ์ เกาะวาอิดอัลฟิกฮียะฮ์ ฟิกฮ์ฮุ้ลวากิอียะฮ์ ฟิกฮ์ฮุ้ลเอาละวียะฮ์และฟิกฮ์ฮุ้ลอะก้อลลียะฮ์ (2) การสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ก่อตั้งและผู้กำหนดนโยบายขององค์กรวะสะฏียะฮ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของท่านนบีมุฮัมหมัด จะใช้หลักการอิสลามมาปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของสมาชิกในสังคม 2. ท่านนบีมุฮัมหมัด ได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อรัฐและประเทศชาติร่วมกันคือ การร่วมกันพัฒนาและสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ การรักษาความสงบสุขของชาติบ้านเมือง 3. แนวทาง“อัลวะสะฏียะฮ์”มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 6 ประการคือ (1) ความดีเลิศ (2) ความยุติธรรม (3) ความสมดุล (4) ความซื่อสัตย์ต่อหลักธรรม (5) ความเรียบง่าย (6) ความฉลาดในการคิดไตร่ตรอง 4. กรอบของอัลวะสะฏียะฮ์ในการประยุกต์ใช้ในบริบทของสังคมไทย ต้องวางอยู่บนหลักการของ ฟิกฮ์ อัล-อะก้อลลิยาต คือ (1) การป้องกันอันตราย (2) การปกป้องผลดีที่จะเกิดขึ้น (3) ความยืดหยุ่น (4) การจัดลำดับความสำคัญของบัญญัติอิสลาม (5) ความถูกกาละเทศะ) (6)การประเมินถึงผลเสีย 5. หลักการของอัลวะสะฏียะฮ์ในการสร้างสันติภาพกับชนต่างศาสนิกในประเทศไทย ได้แก่ (1)ยอมรับความแตกต่าง (2) เคารพและให้เกียรติต่อความต่าง (3) ปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับความต่าง (4) อดทนต่อความต่าง (5) แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่างen_US
Appears in Collections:761 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5920430003.pdf6.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons