Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18124
Title: การบริหารจัดการขยะในพื้นที่เทศบาลตำบลควนเนียง จังหวัดสงขลา : การศึกษาแนวปฏิบัติในปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข
Authors: สมพร คุณวิชิต
ปวิช สัตยารักษ์
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
Keywords: การบริหารจัดการขยะ;องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น;การบริการสาธารณะ;Waste Management;Local Government;Public Services
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objectives of this study are to: 1) examine current practices of waste management of Kuanniang Municipality; 2) analyze the issues/barriers that hampered the waste management of this municipality; and (3) provide recommendations for better management in the future. Qualitative research methods were employed. Data were gathered through documentary research and in-depth interviews. The 25 participants who served as key informants in this study consisted of executives and officers of Kuanniang Municipality and also representatives from related organizations. Data were verified using the data triangulation method and, then, data were analyzed inductively. Results show that (1) currently Kuanniang Municipality manages wastes by taking out all waste bins and has the households use black garbage bags and place them on the street for collection by the municipality. This waste management practice of Kuanniang Municipality was based on the 3R principles, which are Reduce, Reuse, and Recycle. (2) Although this current practice has proved to be effective by reducing the enormous amount of waste, it left the communities with some problems such as odor of waste waiting for collecting by the municipality, the problem of dogs rummaging through garbage, the dispersing of uncollected rubbish on streets, and increasing household expenditure to buy the black garbage bags. (3) It is suggested in this research that Kuanniang Municipality undertake the initiatives that promote the reduce, reuse, and recycle of wastes in the communities and to generate income from recycle rubbish, educate people on how to sort the wastes, raise awareness of the people toward waste reduction, and provide some spaces or areas for placing waste bins based on the types or categories of the wastes.
Abstract(Thai): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการจัดการขยะในปัจจุบันของเขตเทศบาลตำบลควนเนียง 2) วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการจัดการขยะ และ 3) เสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการขยะให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการค้นคว้าเอกสาร การสังเกต รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งสิ้น 25 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องของเทศบาลตำบลควนเนียง รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยการตรวจสอบสามเส้า จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการศึกษา พบว่า (1) เทศบาลตำบลควนเนียง ดำเนินการลดขยะในพื้นที่โดยการเก็บถังขยะที่เคยวางไว้ตามท้องถนนในพื้นที่เทศบาลฯ ออกทั้งหมด ใช้วิธีการให้ประชาชนใช้ถุงดำใส่ขยะให้นำถุงขยะมาวางไว้หน้าบ้านของตนเองเพื่อรอเทศบาลฯ มาเก็บกำจัดซึ่ง วิธีการนี้สามารถลดขยะได้มาก ทั้งนี้ ทางเทศบาลยึดแนวทางการจัดการขยะตามหลักการ 3R ได้แก่ Reduce การลดปริมาณขยะ Reuse การนำกลับมาใช้ใหม่ Recycle การเปลี่ยนสิ่งที่เก่าและไร้ประโยชน์ให้เป็นสิ่งใหม่ที่มีประโยชน์ (2) ในด้านปัญหาอุปสรรค พบว่า มีปัญหาขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นในครัวเรือนระหว่างรอเวลาจัดเก็บ ปัญหาสุนัขคุ้ยถุงขยะที่วางบนถนน ปัญหาขยะกระจัดกระจายบนถนน และปัญหาค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการซื้อถุงบรรจุขยะ 3) ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ได้แก่ การนำโครงการขยะเป็นทองเข้ามาดำเนินการในเทศบาลตำบลควนเนียง การให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะกับประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสำนึกร่วมในการลดขยะ รวมถึงการสนับสนุนพื้นที่ส่วนกลางในการทิ้งขยะแบบแยกประเภทเพื่อความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะของพื้นที่เทศบาลตำบลควนเนียง
Description: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18124
Appears in Collections:465 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6410521526.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
6410521526 Article.pdf7.85 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons