Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18113
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฑามณี ตระกูลมุทุตา-
dc.contributor.authorอินทุอร วิลัยพงษ์-
dc.date.accessioned2023-04-27T06:14:53Z-
dc.date.available2023-04-27T06:14:53Z-
dc.date.issued2023-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18113-
dc.descriptionรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2566en_US
dc.description.abstractThe objectives of this study on the factors affecting self-development in the work of support personnel, Faculty of Dentistry, Prince of Songkhla University were as follows. 1) To study the level of self-development in the work of support personnel, Faculty of Dentistry, Prince of Songkhla University. 2) To study, compare self-development in the work of support personnel, Faculty of Dentistry, Prince of Songkla University classified by personal factors. 3) To study the achievement motivation factors affecting self-development in the work of support personnel, Faculty of Dentistry, Prince of Songkhla University. The representative sample included support personnel, Faculty of Dentistry, Prince of Songkla University, 166 samples. The data obtained were used for data analysis with descriptive statistics consisting of frequency distribution, percentage, mean, standard deviation and inferential statistics comprising One-way ANOVA and multiple regression analysis. The study findings were as follows. The level of self-development in the work of support personnel, Faculty of Dentistry, Prince of Songkhla University overall was at high level. The aspect with the highest mean was the search for friends, followed by goal setting, patience and effort, learning, finding optimal resources, judgment. The aspect with the lowest mean was assessment. The results of compared self-development in the work of support personnel, Faculty of Dentistry, Prince of Songkhla University classified by personal factors were as follows. Support personnel, Faculty of Dentistry, Prince of Songkla University with personal factors including gender, age, education level, average monthly income, working period were significantly different at 0.01. The level of self-development in the work was not different. Finally, it was found that the achievement motivation factors affected self-development in the work of support personnel, Faculty of Dentistry, Prince of Songkhla University in a statistically significant manner at 0.01 level. The level of influencing could be explained at 83.50 percent.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์en_US
dc.subjectการพัฒนาตนเองen_US
dc.subjectบุคลากรสายสนับสนุน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.title.alternativeAffecting Self-Development in The Work of Supporting Staff in Faculty of Dentistry, Prince of Songkla Universityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Management Sciences (Public Administration)-
dc.contributor.departmentคณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์-
dc.description.abstract-thปัจจุบันองค์กรต่างๆในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงองค์กรเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นในส่วนงานของภาครัฐ และที่ไม่ใช่ภาครัฐ รวมไปถึงองค์กรเอกชนต่างๆ รูปแบบในการบริหาร และการสั่งการจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและขึ้นอยู่กับบริบทของงานในองค์กรนั้น เช่น จากองค์กรที่มีผู้นำหรือผู้บริหารเป็นผู้สั่งการ การบริหารงานทุกอย่างถูกกำหนดโดยผู้นำ และพนักงานต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ต่อมาเป็นองค์กรที่มีการบริหารแบบการมีส่วนร่วมเปลี่ยนจากสายการบังคับบัญชาแนวดิ่ง มาเป็นแบบแนวราบ ทั้งนี้เพื่อลดขั้นตอนการบังคับบัญชาให้เหลือน้อยที่สุด ทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน และสุดท้ายได้เปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติงานมาเป็นการทำงานเป็นทีม เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว ผู้ปฏิบัติงานมีความสุขในการทำงาน เพราะเป็นผู้กำหนดวิธีการทำงานด้วยตนเอง ส่งผลให้เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกัน เกิดการร่วมมือพึ่งพาอาศัยกัน เกิดการถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสาร องค์ความรู้ และทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จนกลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตและรายได้ขององค์กรเพิ่มขึ้น เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ทางผู้วิจัยจึงตระหนักได้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการ พัฒนาองค์กร คือ การพัฒนาตนเองในการทำงาน เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายที่องค์กรวางไว้ การพัฒนาตนเองในการทำงานของบุคลากรมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันองค์กรให้บรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ เพราะการพัฒนาตนเองเป็นการเพิ่มศักยภาพในหน้าที่การทำงานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น หากบุคคลากร ขาดสิ่งจูงใจ การพัฒนาภายในองค์กรก็จะไม่สามารถดำเนินให้บรรลุเป้าหมายได้ตามที่องค์กรวางไว้ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของ McClelland ( 1961 อ้างถึงใน วรรณวิสา แย้มเกตุ , 2558) ได้ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่เน้นอธิบายการจูงใจของมนุษย์ที่กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จ ดังนั้นแรงจูงใจจึงอาจเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาตนเองในการทำงานของบุคลากรในองค์กร และนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ยังเป็นความปรารถนาของบุคคลที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบความสำเร็จ โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น ด้วยระดับเกณฑ์การทำงานที่ดี และพยายามทำให้ดีกว่าคนอื่น และเมื่อพนักงานเกิดความรู้สึกดีต่อการทำงาน และยอมรับนโยบายขององค์กร พนักงานจะเกิดความต้องการ ที่ประสบความสำเร็จและก้าวหน้าเพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองให้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น ดังที่ Megginson และ Pedler ( 1992 อ้างถึงใน วรรณวิสา แย้มเกตุ , 2559) กล่าวว่า การพัฒนาตนเองจะเกิดมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการที่จะพัฒนาตนเอง การพัฒนาคือการเรียนรู้ที่มีความต้องการ และมีแรงจูงใจที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาตนเอง อีกทั้งการพัฒนาตนเอง ยังเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเอง อันจะนำไปสู่การแสวงหาความสำเร็จ และความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จากความเป็นมาข้างต้นผู้วิจัยซึ่งเป็นบุคลากรสายสนับสนุน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เนื่องจากในปัจจุบัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มีบุคลากรเพิ่มมากขึ้น สภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้บุคลากรดึงศักยภาพการปฏิบัติงานของตนเองมาปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสร้างประโยชน์ให้กับองค์กร บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรที่วางไว้ ผู้บริหารจึงต้องสร้างแรงจูงใจ เพื่อพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารสามารถนำงานวิจัยไปพัฒนาการบริหารงานทรัพยากรบุคคล และพัฒนาการปฏิบัติงานธุรการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดen_US
Appears in Collections:465 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
อินทุอร วิลัยพงษ์.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
อินทุอร วิลัยพงษ์.pdf209.99 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons