Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18093
Title: บ้านขนนกของกฤษณา อโศกสิน: กลวิธีสื่อถึง “ผู้วายชนม์” ผ่านตัวเอกหญิงที่บอบช้ำทางใจ
Other Titles: Ban Khon Nok by Kritsana Asoksin: Literary Technique focusing on "suicide" through Female Protagonist's Depression
Authors: วรรณนะ หนูหมื่น
ญันณา หมัดอาด้ำ
Faculty of Liberal Arts (Languages and Linguistics)
คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์
Keywords: บ้านขนนก;ผู้วายชนม์;ตัวเอกหญิงที่บอบช้ำทางใจ
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objective of this research was to explore various strategies employed to convey the depression of the female protagonist who suffered from depression and committed suicide in Ban Khon Nok, the novel based on a deceased person’s biography. As documentary research, Krisna Asoksin’s novel Ban Khon Nok composed in 2002 was examined. Based on the original novel, psychological concepts were employed for data analysis and interpretation. After that, the data were presented in a descriptive and analytical form. According to the results, the novel employs two strategies to convey the depression of the female protagonist. The first strategy is employed to convey the female protagonist’s depression through her ambitions. This strategy consists of three sub-strategies, including one indicating the beginning of her depression and mental wound, one indicating her entry to depression, and one indicating the end of her life from depression. The second strategy is employed to convey the female protagonist’s mental health problems and depression symptoms. Like the first strategy, this strategy is divided into three sub-strategies, one depicting her mental health problems, one depicting her depression, and one depicting her suicide and the critical point of depressed patients. By conducting this research, the researcher has become aware that disappointment in life could result in suicide, which is the problem the author discovered in the funeral memorial book of Mrs. Kledkaew Kitibut. This awareness will indeed encourage people in society to tackle problems in their lives more carefully.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีที่สื่อถึงความบอบช้ำทางใจของตัวเอกหญิง ผู้มีภาวะซึมเศร้าจนเธอฆ่าตัวตาย ตามประวัติของ “ผู้วายชนม์” ซึ่งผู้แต่งนำมาเป็นเค้าโครงเรื่องในการประพันธ์ครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเอกสารจากนวนิยายบ้านขนนก พ.ศ. 2545 บทประพันธ์ของ กฤษณา อโศกสิน โดยใช้แนวคิดจิตวิทยาในการวิเคราะห์และตีความข้อมูลจากต้นฉบับนวนิยาย หลังจากนั้นนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายเรื่องบ้านขนนกแสดงกลวิธีในการสื่อถึงความบอบช้ำทางใจของตัวเอกหญิงสองประเด็น ได้แก่ ประเด็นแรกคือ กลวิธีแสดงโรคซึมเศร้ากับบาดแผลทางใจของตัวเอกหญิงที่สื่อผ่านความใฝ่ฝันของเธอ แบ่งออกเป็น 1 กลวิธีแสดงความใฝ่ฝันที่บ่งชี้จุดเริ่มต้นของความบอบช้ำกับแผลในใจ 2 กลวิธีแสดงความใฝ่ฝันที่บ่งชี้การเข้าสู่โรคซึมเศร้า 3 กลวิธีแสดงความใฝ่ฝันที่สื่อจุดจบของชีวิตจากโรคซึมเศร้า อนึ่ง ประเด็นที่สองของกลวิธีที่สื่อความบอบช้ำทางใจของตัวเอกหญิง คือ กลวิธีแสดงปัญหาสุขภาพจิตและอาการทางจิตของตัวเอกหญิงที่มีสภาพเป็นผู้ป่วยซึมเศร้า แบ่งออกเป็น 1 กลวิธีแสดงสาเหตุอาการทางจิตของตัวเอกหญิงที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 2 กลวิธีแสดงอาการป่วยโรคซึมเศร้าของตัวเอกหญิง 3 กลวิธีแสดงจุดวิกฤตของผู้ป่วยซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายที่ตัวเอกหญิงแสดงออก ประโยชน์การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ทำให้ได้ทราบถึงเรื่องราวความผิดหวังในชีวิตที่ส่งผลต่อการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้เขียนประสบพบเจอด้วยตนเองในหนังสืออนุสรณ์งานศพของคุณเกล็ดแก้ว กิติบุตร อันจะเป็นการกระตุ้นให้คนในสังคมเกิดการฉุกคิดอย่างรอบคอบต่อการจัดการปัญหาที่เข้ามาในชีวิต
Description: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทยและภาษาไทยประยุกต์), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18093
Appears in Collections:890 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6311120007.pdf988.26 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons