Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18035
Title: ผลของระดับโปรตีนในอาหารข้นต่อการเจริญเติบโตและการใช้ประโยชน์ของโภชนะของแพะพื้นเมืองไทย เพศผู้
Other Titles: Effects of Protein Levels in Concentrate on Growth and Nutrient Utilization of Thai Native Male Goats
Authors: วันวิศาข์ งามผ่องใส
กนกวรรณ แสงทอง
Faculty of Natural Resources (Animal science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาสัตวศาสตร์
Keywords: ความต้องการโปรตีน;หญ้าแพงโกล่าแห้ง;อาหารข้น;แพะพื้นเมือง;การเลี้ยงแพะ
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Two experiments were conducted to evaluate the effects of protein levels in concentrate on intake, growth, nutrient utilization, nitrogen (N) balance and protein requirement for maintenance and growth of Thai Native male goat fed with pangola hay. Experiment 1: Effects of protein levels in concentrate on growth performance and nutrient utilization of post weaning (3–6 months old) Thai Native male goat were studied. Sixteen Southern Thai Native male goats with average body weight of 8.20 ± 2.70 kg, were allocated into 4 treatments under a Completely Randomized Design (CRD) for 100 days study period. Treatment diets consisted of pangola hay ad libitum supplemented with concentrate at 2% of body weight (BW) as dry matter (DM) basis. The crude protein (CP) levels in concentrate were 8, 10, 12 and 14% of DM, respectively. There was no effect of CP levels in concentrate on the amount of hay, concentrate and total feed intake, including digestibility coefficient of dry matter (DM), organic matter (OM), CP and Total digestible nutrient (TDN) (P>0.05). Increasing CP content in the concentrate significantly (P<0.05) increase amount of CP intake (4.49, 5.23, 5.86 and 6.56 g/kgBW0.75/d, respectively), digestible CP intake (2.73, 3.30, 3.72 and 5.14 g/kgBW0.75/d, respectively), N balance (0.31, 0.39, 0.48 and 0.67 g/kgBW0.75/d, respectively) and blood urea nitrogen (3.71, 4.38, 6.07 and 8.81 mg%, respectively). Increasing CP content in the concentrate resulted in linearly (P = 0.011) increased average daily gain (ADG) of goats (20.83, 31.48, 30.56 and 40.28 g/d, respectively). The results of the regression of CP intake (CPI) on ADG showed that Southern Thai Native male goat needed 3.13 (±0.31) g/kgBW0.75/d or 17.60 g to maintain their BW. The estimation of CP requirement for goat BW gain (g/g) was 0.39 (±0.05) or 37.10 g for weight gain at 50 g/d. Experiment 2: Effects of protein levels in concentrate on growth performance and nutrient utilization of growing Thai Native male goat (6–12 months old) were studied. Sixteen Southern Thai Native male goats, with average BW of 11.50 ± 2.10 kg, were allocated into 4 treatments under a CRD for 190 days study period. Treatment diets consisted of pangola hay ad libitum supplemented with concentrate at 2% of BW as DM basis. CP levels in concentrate were 8, 10, 12 and 14%, respectively. There was no effect of CP levels in concentrate on the amount of hay, concentrate and total feed intake, including digestibility coefficient of nutrients (DM, OM, CP and TDN) and N balance (P>0.05). Increasing CP content in the concentrate significantly (P<0.05) increase amount of CP intake (5.76, 6.48, 7.00 and 7.96 g/kgBW0.75/d, respectively), digestible CPI (2.71, 3.30, 3.68 and 4.10 g/kgBW0.75/d, respectively) and blood urea nitrogen (7.78, 11.45, 16.38 and 21.16 mg%, respectively). Increasing CP content in the concentrate resulted in linearly (P = 0.013) increased ADG of goats (37.96, 51.74, 52.78 and 56.25 g/d, respectively). The results of the regression of CPI on ADG showed that Southern Thai Native male goat needed 1.71 (±0.84) g/kgBW0.75/d or 16.17 g/d to maintain their BW. The estimation of CP requirement for goat BW gain (g/g) was 0.72 (±0.14) or 52 g for weight gain at 50 g/d.
Abstract(Thai): การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปริมาณการกินได้ การเจริญเติบโต การใช้ประโยชน์ของโภชนะ สมดุลไนโตรเจนและประเมินความต้องการโปรตีนเพื่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของแพะพื้นเมืองไทย เพศผู้ ที่ได้รับหญ้าแพงโกล่าแห้งเสริมอาหารข้นระดับโปรตีนแตกต่างกัน แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 ผลของระดับโปรตีนในอาหารข้นต่อการเจริญเติบโตและการใช้ประโยชน์ของโภชนะของแพะพื้นเมืองไทย เพศผู้ หลังหย่านม (อายุ 3–6 เดือน) ใช้แพะ พื้นเมืองไทย ภาคใต้ เพศผู้ อายุ 3.53 ± 0.52 เดือน น้ำหนักเฉลี่ย 8.20 ± 2.70 กิโลกรัม จำนวน 16 ตัว แบ่งแพะออกเป็น 4 กลุ่ม ตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยแพะได้รับหญ้าแพงโกล่าแห้งแบบกินเต็มที่เสริมอาหารข้นที่มีโปรตีน 8, 10, 12 และ 14 เปอร์เซ็นต์ ในระดับ 2 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัวเมื่อคิดเป็นวัตถุแห้ง เป็นระยะเวลา 100 วัน พบว่า แพะทั้ง 4 กลุ่ม มีปริมาณอาหารที่กินได้ (หญ้าแพงโกล่าแห้ง อาหารข้น และอาหารทั้งหมด) สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง อินทรียวัตถุ โปรตีนรวม และโภชนะรวมที่ย่อยได้ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) อย่างไรก็ตาม ระดับโปรตีนในอาหารข้นที่เพิ่มขึ้น (8, 10, 12 และ 14 เปอร์เซ็นต์) ส่งผลให้แพะมีปริมาณโปรตีนที่กินได้ (4.49, 5.23, 5.86 และ 6.56 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักเมแทบอลิกต่อวัน ตามลำดับ) ปริมาณโปรตีนที่ย่อยได้ (2.73, 3.30, 3.72 และ 5.14 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักเมแทบอลิกต่อวัน ตามลำดับ) สมดุลไนโตรเจน (0.31, 0.39, 0.48 และ 0.67 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักเมแทบอลิกต่อวัน) และระดับยูเรีย – ไนโตรเจนในเลือด (3.71, 4.38, 6.07 และ 8.81 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้ อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (20.83, 31.48, 30.56 และ 40.28 กรัมต่อวัน ตามลำดับ) เพิ่มขึ้นตามระดับโปรตีนที่เพิ่มขึ้นในรูปแบบของเส้นตรง (Linear effect: P = 0.011) และจากการประเมินความต้องการโปรตีนของแพะ พบว่า แพะพื้นเมืองไทย ภาคใต้ เพศผู้ หลังหย่านม (อายุ 3–6 เดือน) ต้องการโปรตีน 3.13 (±0.31) กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักเมแทบอลิกต่อวัน หรือ 17.60 กรัมต่อวัน เพื่อการดำรงชีพ และ 0.39 (±0.05) กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักเมแทบอลิกต่อวัน เพื่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กรัมต่อวัน หรือ 37.10 กรัม เพื่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 50 กรัมต่อวัน การทดลองที่ 2 ผลของระดับโปรตีนในอาหารข้นต่อการเจริญเติบโตและ การใช้ประโยชน์ของโภชนะของแพะพื้นเมืองไทย เพศผู้ ระยะแพะรุ่น (อายุ 6–12 เดือน) ใช้แพะ พื้นเมืองไทย ภาคใต้ เพศผู้ อายุ 5.81 ± 0.40 เดือน น้ำหนักเฉลี่ย 11.50 ± 2.10 กิโลกรัม จำนวน 16 ตัว แบ่งแพะออกเป็น 4 กลุ่ม ตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยแพะได้รับหญ้าแพงโกล่าแห้งแบบกินเต็มที่เสริมอาหารข้นที่มีโปรตีน 8, 10, 12 และ 14 เปอร์เซ็นต์ ในระดับ 2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวเมื่อคิดเป็นวัตถุแห้ง เป็นระยะเวลา 190 วัน พบว่า แพะทั้ง 4 กลุ่ม มีปริมาณอาหารที่กินได้ (หญ้าแพงโกล่าแห้ง อาหารข้น และอาหารทั้งหมด) สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง อินทรียวัตถุ โปรตีน และโภชนะรวมที่ย่อยได้ และสมดุลไนโตรเจนของแพะไม่แตกต่างกัน ทางสถิติ (P>0.05) อย่างไรก็ตาม ปริมาณโปรตีนที่กินได้ (5.76, 6.48, 7.00 และ 7.96 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักเมแทบอลิกต่อวัน ตามลำดับ) ปริมาณโปรตีนที่ย่อยได้ (2.71, 3.30, 3.68 และ 4.10 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักเมแทบอลิกต่อวัน) และระดับยูเรีย – ไนโตรเจนในเลือด (7.78, 11.45, 16.38 และ 21.16 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ตามระดับโปรตีนในอาหารข้นที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ระดับโปรตีนในอาหารข้นที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้แพะมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (37.96, 51.74, 52.78 และ 56.25 กรัมต่อวัน ตามลำดับ) เพิ่มขึ้นในรูปแบบของเส้นตรง (Linear effect: P = 0.022) และจากการประเมินความต้องการโปรตีนของแพะ พบว่า แพะพื้นเมืองไทย ภาคใต้ เพศผู้ ระยะแพะรุ่น (อายุ 6–12 เดือน) ต้องการโปรตีน 1.71 (±0.84) กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักเมแทบอลิกต่อวัน หรือ 16.17 กรัมต่อวัน เพื่อการดำรงชีพ และ 0.72 (±0.14) กรัม เพื่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กรัมต่อวัน หรือ 52.19 กรัมต่อวัน เพื่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 50 กรัมต่อวัน
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สัตวศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18035
Appears in Collections:515 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6210620018.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons