Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18034
Title: วาทกรรมการท่องเที่ยวในนิตยสารเพื่อการท่องเที่ยวของไทย
Other Titles: Discourse on Tourism in Thai Travel Magazines
Authors: เชิดชัย อุดมพันธ์
พัชราภรณ์ คชินทร์
Faculty of Humanities and Social Sciences (Thai)
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย
Keywords: วาทกรรม;วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์;นิตยสารท่องเที่ยว
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research aims to examine discourse on tourism in Thai travel magazines. These were the Osotho Magazine and the Traveller’s Companion Magazine between 1987 and 2016, total 720 copies. The researcher analyzed the articles about tourist attractions, editorials, and Q & A columns following the framework of Critical Discourse Analysis (CDA) and Ethnography of Communication. Thai travel magazine conveys five ideologies; 1)Capitalistic ideology 2) Urbanization-Rural ideology 3)Development Ideology 4)Thai ideology and 5) Social class ideology. Thai travel magazines have conveyed all the ideologies through 10 language strategies; 1) naming 2) dynamic verb 3) metaphors 4) modalities (confidence, satisfaction, want) 5) referencing (statistics, prize, majority of people, interviews) 6) modifications 7) intertextuality 8) presuppositions 9) rhetorical questions and 10) news appeals, five ideologies of which can be continually found in Thai tourism magazines throughout 30 years. (1987 – 2016) Certain of these ideologies were manifest at a certain time, and reproduces the ideals based on interactions with social events, tourism promotion policies. and the country's economic system at different times.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาวาทกรรมการท่องเที่ยวในนิตยสารเพื่อการท่องเที่ยวของไทย ที่ปรากฏในนิตยสารอนุสาร อ.ส.ท. และนิตยสารเพื่อนเดินทาง ระหว่าง พ.ศ. 2530–2559 จำนวน 720 ฉบับ ผู้วิจัยเลือกศึกษาเฉพาะบทความแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว บทบรรณาธิการ และคอลัมน์ถาม-ตอบจดหมายของผู้อ่าน โดยใช้แนวทางทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis) และแนวคิดชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร (Ethnography of Communication) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ นิตยสารเพื่อการท่องเที่ยวของไทยถ่ายทอดอุดมการณ์สำคัญ 5 อุดมการณ์ ได้แก่ 1. อุดมการณ์ทุนนิยม 2. อุดมการณ์ความเป็นเมืองความเป็นชนบท 3. อุดมการณ์การพัฒนา 4. อุดมการณ์ความเป็นไทย และ 5. อุดมการณ์ชนชั้นทางสังคม โดยผู้ผลิตได้ประกอบสร้างและถ่ายทอดอุดมการณ์ทั้งหมดผ่านกลวิธีทางภาษา 10 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีการใช้คำเรียกขาน กลวิธีคำแสดงอาการ กลวิธีการใช้อุปลักษณ์ กลวิธีแสดงทัศนภาวะ (ทัศนภาวะความมั่นใจ ทัศนภาวะความพึงพอใจ ทัศนภาวะความต้องการ) กลวิธีการอ้างถึง (การอ้างถึงเชิงสถิติ การอ้างถึงรางวัล การอ้างถึงแบบเหมารวม และการอ้างถึงคำสัมภาษณ์ของบุคคลต่าง ๆ) กลวิธีการขยายความ กลวิธีการใช้สหบท กลวิธีการใช้มูลบท กลวิธีการตั้งคำถามเชิงวาทศิลป์ และกลวิธีการใช้จุดจับใจเชิงข่าว ซึ่งตลอดระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2530-2559) นิตยสารเพื่อการท่องเที่ยวของไทยได้ถ่ายทอดและผลิตซ้ำอุดมการณ์ตามการปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อเหตุการณ์ในสังคม นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว และระบบเศรษฐกิจของประเทศในช่วงเวลาต่าง ๆ
Description: วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (ภาษาไทย))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18034
Appears in Collections:411 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5820230003.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons