Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18029
Title: การประเมินความพร้อมในการเป็นองค์กรแห่งการพัฒนานักประกอบการของวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดภาคใต้
Other Titles: Assessment of readiness to be an entrepreneurship development organization of colleges under the Office of Vocational Education Commission in the southern provinces
Authors: บรรพต วิรุณราช
ฐิติมา ชัยพรมเขียว
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Keywords: การประเมินความพร้อม;การพัฒนานักประกอบการ;การอาชีวศึกษา
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research aims 1) Assessment the readiness of colleges under the Office of Vocational Education Commission in Southern Thailand as an organization of entrepreneurship development. 2) Comparison of readiness to be an organization of entrepreneurship development according to size and type of educational institutions. 3) Find a guideline to develop colleges under the Southern Vocational Education Commission to be an organization of entrepreneurship development. For sample in this research, there were 609 of administrators, teachers, students and entrepreneurs in Southern Provinces. Using questionnaires and in-depth interviews to collect the data the questionnaire had a confidence of .983. And the data were analyzed using statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation. and analysis of variance. The results found that: 1. The readiness for the performances of the colleges under the Southern Vocational Commission Overall, it's at a high level. 2. Different types of colleges had different readiness at statistical significance at .01 level, while different school sizes did not affect readiness for performance. 2. Guidelines for developing colleges under the Office of Vocational Education Commission in the South to be entrepreneurship development organizations, consisting of 4 aspects: Context, stakeholders in learner development should be involved in curriculum design. Input, Classroom should be organized laboratories, media, materials, equipment and technology to be appropriate, modern, sufficient. Process, activities should be improved in student development by emphasizing both classroom learning and activities outside the classroom. Product, should development of the potential of students in writing business plans should be undertaken. Using the workshop study tour in the workplace
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความพร้อมของวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคใต้ในการเป็นองค์กรแห่งการพัฒนานักประกอบการ 2) เปรียบเทียบความพร้อมในการเป็นองค์กรแห่งการพัฒนานักประกอบการตามขนาดและประเภทของสถานศึกษา 3) หาแนวทางในการพัฒนาวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคใต้ให้เป็นองค์กรแห่งการพัฒนานักประกอบการ โดยทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน นักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดภาคใต้ และผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ จำนวน 609 คน โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งแบบสอบถามมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .983 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1. ความพร้อมในการดำเนินงานของวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษาภาคใต้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก 2. วิทยาลัยที่มีประเภทแตกต่างกันจะมีความพร้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนขนาดสถานศึกษาที่ต่างกันไม่ส่งผลต่อความพร้อมในการดำเนินงาน 3. แนวทางในการพัฒนาวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในภาคใต้ให้เป็นองค์กรแห่งการพัฒนานักประกอบการ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ควรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบหลักสูตร ด้านปัจจัยนำเข้า ควรจัด ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์และเทคโนโลยี ให้มีความเหมาะสม ทันสมัย เพียงพอ ด้านกระบวนการควรปรับปรุงกิจกรรมในการพัฒนาผู้เรียนโดยเน้นทั้งการเรียนในห้องเรียน การทำกิจกรรมนอกห้องเรียน และด้านผลลัพธ์ ควรดำเนินการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านการเขียนแผนธุรกิจ โดยใช้การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงานในสถานประกอบการ
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18029
Appears in Collections:460 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310521005.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons