Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17929
Title: กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานวิ่งถนนในประเทศไทยหลังโควิด-19
Other Titles: Marketing Mix Strategy Influencing Decision Making to Attend Road Race Events After The Covid-19 in Thailand
Authors: พัชราภรณ์ บุญเลื่อง
ภัทรวดี อ่อนเอกสิทธิ์
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Keywords: กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด;งานวิ่งถนน;โควิด-19;การตลาดเชิงสัมพันธ์;การตลาดเชิงกิจกรรม
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The purposes of this research were to 1. study the differences in opinions toward marketing mix strategy according to demographic characteristics, 2. study marketing mix strategy influencing decision making to participate in road race events during the Covid-19 in Thailand, and 3. investigate marketing mix strategy that suitable for road race events after the Covid-19 in Thailand. This research used a mixed methods approach which consisted of quantitative and qualitative research. For the quantitative study, the sample group was road race event participants during the Covid-19. Overall, 400 valid responses of self-administered questionnaires were received for the survey study. The data collected was analyzed using descriptive analysis, T-test, One-way ANOVA, and multiple regression analysis. For the qualitative study, the sample group was road race organizers. The in-depth interviews were conducted with 8 organizers. The quantitative results there were the statistical differences between the means of opinions toward marketing mix strategy according to gender, ages, status, education levels, occupation, and income. Moreover, there were four out of seven factors that influenced the decision making to participate in road race events during the Covid-19 in Thailand. There four factors were marketing promotions (Beta=.433, t=7.381), place (Beta=.207, t=3.729), physical evidence (Beta=.121, t=2.305), and price (Beta=-.107, t=-2.972). However, product, people, and process did not affected the decision making to participate in road race events during the Covid-19 crisis in Thailand. In addition, the qualitative results showed that the organizers anticipated all the marketing strategies needed to be adjusted. That was not only the four marketing strategies (marketing promotions, place, physical evidence, and price) that influenced the decision making to participate in road race, but also product, people, and process were also important for the road race events after the Covid-19. Therefore, the organizers and related agencies can use the results obtained from the study to develop and apply as a guideline for organizing the road race to suit with the participants after the Covid-19 .
Abstract(Thai): บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความแตกต่างของระดับความคิดเห็นตามลักษณะ ทางประชากรศาสตร์ที่มีต่อกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของงานวิ่งถนนในประเทศไทยช่วงโควิด-19 2. ศึกษากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานวิ่งถนนในประเทศไทย ช่วงโควิด-19 3. ศึกษากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่เหมาะสมของงานวิ่งถนนในประเทศไทยหลัง โควิด-19 งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ สําหรับการวิจัยเชิงปริมาณ มีการเก็บแบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เข้าร่วมงานวิ่งถนนในช่วง โควิด-19 จํานวน 400 คน ใช้วิธีวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา t-test, One-way ANOVA และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และสําหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์ เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้จัดงานวิ่งถนน จํานวน 8 คน สําหรับผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับความคิดเห็น ตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีต่อกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด จําแนกตาม เพศอายุสถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ นอกจากนี้ผล การวิเคราะห์กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานวิ่งถนนในประเทศไทย ช่วงโควิด-19 พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ การส่งเสริมการตลาด (Promotion) (Beta=.433, t=7.381) สถานที่หรือช่องทางการจัดจําหน่าย (Place) (Beta=.207, t=3.729) ลักษณะทางกายภาพ (Physical Evidence) (Beta=.121, t=2.305) และราคา (Price) (Beta=-.107, t=-2.972) ตามลําดับ ในขณะที่ ผลิตภัณฑ์ (Product) บุคคล (People) และกระบวนการ (Process) ไม่ส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจ สําหรับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าภายหลังโควิด-19 ทางผู้จัดงานวิ่งถนนมองว่า กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานวิ่งถนนในประเทศไทยช่วงหลัง โควิด-19 ไม่เพียงแต่เน้นในเรื่องกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) สถานที่หรือช่องทาง การจัดจําหน่าย (Place) ลักษณะทางกายภาพ (Physical Evidence) และราคา (Price) ตามผลที่ ได้มาจากผลการวิจัยเชิงปริมาณเท่านั้น แต่ผู้จัดงานได้กล่าวถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในทุก ๆ ด้าน รวมไปถึงด้านของผลิตภัณฑ์ (Product) บุคคล (People) และกระบวนการ (Process) ที่จะส่งผลต่อ การตัดสินใจให้นักวิ่งถนนเข้าร่วมงานช่วงหลังโควิด-19ดังนั้น ทางผู้จัดงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนําข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปพัฒนาและใช้เป็นแนวทางในการจัดการแข่งขันงานวิ่งถนนให้มี ความเหมาะสมแก่ผู้เข้าร่วมงานภายหลังโควิด-19ต่อไป
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17929
Appears in Collections:460 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310521058.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons