Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17914
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวนัฐฌพงษ์ คงแก้ว-
dc.contributor.advisorเสกสรร สุธรรมานนท์-
dc.contributor.advisorทิพรัตน์ เพ้งหล้ง คงแก้ว-
dc.contributor.authorกัญญ์วรา สุนันทเกษม-
dc.date.accessioned2023-03-08T09:18:13Z-
dc.date.available2023-03-08T09:18:13Z-
dc.date.issued2021-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17914-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม. (วิศวกรรมอุตสาหการและระบบ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564en_US
dc.description.abstractThis research studied the cost reduction of the blood bank associated with the lean concept in the Blood Bank and Transfusion Medicine at Songklanagarind Hospital. The objective is to analyze the unit-product cost of blood components and eliminate unnecessary activities in the blood bank. The analysis result of activity - based costing showed that the cost of Packed red cells (PRC), Leukocyte poor packed red cells (LPRC), Leukocyte depleted packed red cells (LDPRC), Fresh frozen plasma (FFP), Cryo-removed plasma (CRP), Cryoprecipitate, Platelet Concentrate (PC), Leukocyte depleted platelet concentrate (LDPC) and Single donor platelet (SDP) were 365.02, 542.09, 1,434.89, 358.77, 817.71, 293.00, 300.80, 1,621.93 and 6,262.60 baht per bag, respectively. In addition, from the analysis of wastes the result showed that three main wastes were the waiting, thr transportation, and the extra processing were blood donation form fill and excessive producing of a single donor platelet by using the bag from T Company. The first waste was the processes of waiting for entering the screening room and registration. The second one was the unnecessary activitiy in transportation depending on the walking route of the donors. After eleminating the unnecessary activities, the results showed that the time of blood donation form fill up was reduced from 7.2 to 3.6 baht per person, the waiting time for entering the screening room and registration was reduced from 16.8 to 9.6 baht per person. The walking distance was decreased from 3.5 to 2.8 baht per person. Finally, the production of single donor platelet by using only the bag from A company can be reduced the cost at least 1.13 million baht per year.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectการคำนวณต้นทุนฐานกิจกรรมen_US
dc.subjectระบบลีนen_US
dc.subjectคลังเลือด การควบคุมต้นทุนการผลิตen_US
dc.titleการลดต้นทุนหน่วยคลังเลือดด้วยแนวคิดแบบลีนen_US
dc.title.alternativeThe Cost Reduction of Blood Bank using the Lean Concepten_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Engineering (Industrial Engineering)-
dc.contributor.departmentคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ-
dc.description.abstract-thงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการลดต้นทุนหน่วยคลังเลือดด้วยแนวคิดแบบลีนในหน่วยงานคลังเลือดและเวชศาสตร์บริการโลหิต โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ของส่วนประกอบของเลือดชนิดต่าง ๆ และขจัดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นในหน่วยคลังเลือดฯ จากการวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรม พบว่า ต้นทุนของเม็ดเลือดแดงเท่ากับ 365.02 บาทต่อถุง ต้นทุนของเม็ดเลือดแดงเข้มข้นลดจำนวนเม็ดเลือดขาวด้วยการปั่นเท่ากับ 542.09 บาทต่อถุง ต้นทุนของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นลดจำนวนเม็ดเลือดขาวด้วยการกรองเท่ากับ 1,434.89 บาทต่อถุง ต้นทุนของพลาสมาสดแช่แข็งเท่ากับ 358.77 บาทต่อถุง ต้นทุนของพลาสมาที่แยกไครโอปรีซิปิเตทออกเท่ากับ 817.71 บาทต่อถุง ต้นทุนของไครโอปรีซิปิเตทเท่ากับ 293.00 บาทต่อถุง ต้นทุนของเกล็ดโลหิตเท่ากับ 300.80 บาทต่อถุง ต้นทุนของเกล็ดโลหิตที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำมากเท่ากับ 1,621.93 บาทต่อถุง ต้นทุนของเกล็ดโลหิตจากผู้บริจาครายเดียวเท่ากับ 6,262.60 บาทต่อถุง และจากการวิเคราะห์กิจกรรมและความสูญเปล่าในห้องบริจาคโลหิต พบว่ามีความสูญเปล่าเนื่องจากกระบวนการบริการ คือกิจกรรมการกรอกประวัติในใบประวัติของผู้บริจาคโลหิตและกิจกรรมการผลิตเกล็ดโลหิตจากผู้บริจาคคนเดียว ด้วยถุงบรรจุเกล็ดโลหิตของบริษัท T มากเกินไป ความสูญเปล่าจากการรอนานเกินไปคือ กิจกรรมนั่งรอเข้าห้องคัดกรองและนั่งรอลงทะเบียนผู้บริจาค และความสูญเปล่าเนื่องจากการขนส่งคือ ผังห้องบริจาคโลหิตไม่เหมาะสมทำให้มีเส้นทางการเดินของผู้บริจาควกวน งานวิจัยนี้นำเสนอแนวทางในการปรับปรุง คือ ใช้เครื่องอ่านบัตรประชาชนแทนการเขียนประวัติลงในใบประวัติ มีพยาบาลให้คำปรึกษาหน้าห้องคัดกรองเพื่อลดระยะเวลารอคอยหน้าห้องคัดกรองและห้องลงทะเบียน ปรับปรุงผังของห้องบริจาคโลหิตใหม่ และผลิตเกล็ดโลหิตจากผู้บริจาคคนเดียวด้วยถุงบรรจุเกล็ดโลหิตของบริษัท A ทั้งหมดแทนการใช้ถุงบรรจุเกล็ดโลหิตของบริษัท T ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมกรอกใบประวัติสามารลดต้นทุนที่ใช้ในการกรอกประวัติ 3.6 บาทต่อคน กิจกรรมรอเข้าห้องคัดกรองและรอลงทะเบียนสามารถลดต้นทุนในการรอคอย 7.2 บาทต่อคน การปรับผังของห้องบริจาคโลหิตสามารถลดต้นทุน 0.7 บาทต่อคน และกิจกรรมการผลิตเกล็ดโลหิตจากผู้บริจาคคนเดียวด้วยถุงบรรจุเกล็ดโลหิตของบริษัท A ทั้งหมด สามารถลดต้นทุน 1.13 ล้านบาทต่อปีen_US
Appears in Collections:228 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6110120008.pdf8.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons