Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17897
Title: ผลของระยะเวลาที่ใช้ในการทาซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ต่อความแข็งแรงยึดเฉือนของเนื้อฟันที่มีการสลายแร่ธาตุกับวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์: การศึกษานอกร่างกาย
Other Titles: The Effect of Different Application Times of Silver Diamine Fluoride on Shear Bond Strength of Demineralized Dentine to Glass Ionomer Cements: An In Vitro Study
Authors: สุพัชรินทร์ พิวัฒน์
มัณฑนาภรณ์ กรอุไร
Faculty of Dentistry (Oral Biology and Occlusion)
คณะทันตแพทยศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยาช่องปากและระบบการบดเคี้ยว
Keywords: Silver diamine fluoride;SMART technique;ฟันน้ำนม
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Objective: The aim of this in vitro study was to assesses the effect of application times of SDF on the bond between glass ionomer cement and the dentin of primary teeth. Methods: Forty-eight dentin specimens were prepared from the extracted primary teeth. Artificial dentin carious lesions were created by a pH-cycling procedure. All of specimens were divided into four groups (n=12/group); Group 1 apply with deionized water, Group 2, 3 and 4 apply SDF 10, 30 and 60 seconds, respectively. After that, glass ionomer cement (Fuji IX GP extra) was bonded onto specimens and stored in deionized water. After 48 hours, the specimens (N=11/group) were prepared for shear bond strength testing and the failure mode was assessed with a 3D-profilometer. One specimen from each group were prepared for mineral density and penetration depth assessment using micro-CT µ35 and scanning electron microscope (SEM QUANTA). Results: In relation to the shear bond strength effect, no statistically significant differences were observed among the groups (p=0.66). The shear bond strength (mean±SD) after treatment with deionized water, 10 seconds SDF, 30 seconds SDF and 60 seconds SDF were 2.39 ± 1.36 MPa, 2.51 ± 1.00 MPa, 2.95 ± 0.99 MPa and 2.47 ± 1.12 MPa, respectively. Most common failure mode was the mixed failure mode in all groups. The dentin mineral density was increased in the SDF groups. The penetration depth of silver ion into dentinal tubule was upto 1,000 µm. in all SDF groups. Conclusion: The bond strength between glass ionomer cement and demineralized primary dentin and the penetration depth of silver ion into dentinal tubule have been neither affected by the application of silver diamine fluoride nor the various of application times.
Abstract(Thai): วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลของระยะเวลาที่แตกต่างกันในการทาซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ ต่อการยึดติดของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์กับชั้นเนื้อฟันน้ำนม วิธีการศึกษา: ใช้ชิ้นเนื้อฟันจำนวน 48 ชิ้นที่เตรียมจากฟันกรามน้ำนมที่ถูกถอน จากนั้นเหนี่ยวนำให้เกิดรอยโรคฟันผุ โดยกระบวนการสลับสภาวะกรด-ด่าง จากนั้นแบ่งชิ้นฟันออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 12 ชิ้น โดย กลุ่มที่ 1 ทาน้ำที่ผ่านการกำจัดไอออน กลุ่มที่ 2 3 และ 4 ทาซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ เป็นเวลา 10 30 และ 60 วินาที ตามลำดับ จากนั้นนำชิ้นฟันทั้งหมดไปยึดติดกับกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ (Fuji IX GP extra) และเก็บในน้ำที่ผ่านการกำจัดไอออนเป็นเวลา 48 ชั่วโมง จากนั้นนำชิ้นงาน (11 ชิ้นต่อกลุ่ม) ไปทดสอบแรงยึดเฉือน และประเมินรูปแบบการล้มเหลวหลังการแตกหักด้วยเครื่องมือสแกนพื้นผิวแบบสามมิติ นำชิ้นเนื้อฟันจำนวน 1 ชิ้นจากทุกกลุ่ม ไปประเมินความหนาแน่นของแร่ธาตุและความลึกในการแทรกผ่านของธาตุซิลเวอร์ในท่อเนื้อฟันโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระดับไมโครเมตร และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM QUANTA) ผลการวิจัย: ค่าแรงยึดเฉือนของทุกกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.66) โดยค่าเฉลี่ยแรงยึดเฉือน (mean ± SD) ของแต่ละกลุ่มมีค่าดังนี้ กลุ่มที่ 1 ทาน้ำที่ผ่านการกำจัดไอออน 2.39 ± 1.36 กลุ่มที่ 2 ทา ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ 10 วินาที 2.51 ± 1.00 กลุ่มที่ 3 ทา ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ 30 วินาที 2.95 ± 0.99 และกลุ่มที่ 4 ทา ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ 60 วินาที 2.47 ± 1.12 เมกะปาสคาล ตามลำดับ รูปแบบการล้มเหลวที่พบมากที่สุดในทุกกลุ่ม คือแบบผสม ความหนาแน่นแร่ธาตุของเนื้อฟันเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มที่ทาซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ และความลึกในการแทรกผ่านของธาตุซิลเวอร์ในท่อเนื้อฟันพบได้ถึงที่ความลึก 1,000 ไมโครเมตรในทุกกลุ่มการทดลองที่ทาซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ สรุปผล: การทาซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ และระยะเวลาที่ใช้ทา ไม่ส่งผลต่อแรงยึดเฉือนของวัสดุอุดกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์กับชั้นเนื้อฟันน้ำนม และความลึกในการแทรกผ่านของธาตุซิลเวอร์ในท่อเนื้อฟัน
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก).2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17897
Appears in Collections:660 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310820011.pdf14.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons