Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17882
Title: มุสลิมเกาะยาวน้อย : การผสมผสานทางวัฒนธรรม การปรับตัวและการธำรงอัตลักษณ์
Other Titles: Muslims in Koh Yao Noi: Cultural Coexistence, Adaptation and Identity Maintenance
Authors: อับดุลรอนิง สือแต
ธนโชติ ประหยัดทรัพย์
Faculty of Islamic Sciences
คณะวิทยาการอิสลาม
Keywords: เกาะยาวน้อย;Koh Yao Noi;การผสมผสานทางวัฒนธรรม;การปรับตัว;การธำรงอัตลักษณ์;Cultural Coexistence;Identity Maintenance;Adaptation
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This thesis objective: 1) Study the history and background of the Muslims of Koh Yao Noi. 2) Study on Islamic revival in Koh Yao Noi Sub-district, Koh Yao District, Phang Nga Province. and 3) Analyze cultural coexistence, Adaptation, and maintenance of Muslim identity on Koh Yao Noi amidst the changing social context. This research is qualitative. Research papers and the field using techniques. The research method in ethnographic cultural anthropology for 6 months was based on five data collection processes. Documentary Research, Informal Interview, In-depth Interview, Participant Observation, and Focus Group, analytic induction was used and the analysis was done by typological analysis. The results of the research found that 1)The area of Koh Yao Noi is an old community that has been around for more than 200-300 years and is historically related to the city of Thalang. (Phuket) and has a variety of ethnicities. Moreover, most of the culture still adheres to the practices and diagnoses of Palang Ae. 2) The Islamic revival in Koh Yao Noi Sub-district, Koh Yao District, Phang Nga Province is divided into three concept groups: The Lete Sunni (Sufi concept) Jama'ah Tabligh, and Salafi. 3)The cultural coexistence of Muslim Koh Yao Noi includes fraternity, fundamental ideas, and the evolution of the Sufi group and Salafi groups in Koh Yao Noi, The issue of conflict between Sufi and Salafi groups in Koh Yao Noi, and views on traditionalist and Modernists. And there are four periods of social change in Koh Yao Noi. This gave rise to three groups of thoughts, including some villagers. Each group had different adaptation and maintenance of identity.
Abstract(Thai): วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงความเป็นมาและภูมิหลังของมุสลิมเกาะยาวน้อย 2) เพื่อศึกษาการฟื้นฟูอิสลามในตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา และ 3) เพื่อวิเคราะห์การผสมผสานทางวัฒนธรรม การปรับตัวและการธำรงอัตลักษณ์ของมุสลิม เกาะยาวน้อย ท่ามกลางบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ค้นคว้าจากเอกสารและภาคสนามโดยใช้เทคนิค วิธีการวิจัยทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรมชาติพันธุ์วรรณาเป็นระยะเวลา 6 เดือน ใช้กระบวนการการเก็บข้อมูล 5 รูปแบบ ได้แก่ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม ต่อมาใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction) และวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดข้อมูล (Typological Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) เกาะยาวน้อยเป็นชุมชมเก่าแก่ที่มีมานานกว่า 200-300 ปี มีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับเมืองถลาง (จังหวัดภูเก็ต) และมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ อีกทั้งวัฒนธรรมส่วนใหญ่ยังคงยึดอยู่กับตามวัตรปฏิบัติและการวินิจฉัยของปะหลางแอ 2) การฟื้นฟูอิสลามในตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา แบ่งออกเป็นสามกลุ่มแนวคิด คือ กลุ่มอนุชนซุนนี่อนุรักษ์นิยม (แนวคิดศูฟีย์) กลุ่มญะมาอะฮฺ ตับลีฆ และกลุ่มสะละฟียฺ 3) การผสมผสานทางวัฒนธรรมของมุสลิมเกาะยาวน้อยประกอบด้วย ภราดรภาพ, พื้นฐานทางความคิดและการวิวัฒนาการของกลุ่มศูฟียฺและกลุ่มสะละฟียฺในเกาะยาวน้อย, ประเด็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มศูฟีย์และกลุ่มสะละฟียฺในเกาะยาวน้อย, และมุมมองเกี่ยวกับวาทกรรมคณะเก่า-คณะใหม่ ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเกาะยาวน้อยมีสี่ช่วงเวลา ซึ่งก่อให้เกิดกลุ่มแนวคิดทั้งสามกลุ่ม รวมถึงกลุ่มชาวบ้านบางส่วน ในแต่ละกลุ่มมีการปรับตัวและการธำรงอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน
Description: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาอิสลามศึกษา), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17882
Appears in Collections:761 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6220420009.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons