Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17871
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิเลาะ แวอุเซ็ง-
dc.contributor.authorมัฮยุดดีน สาเม๊าะ-
dc.date.accessioned2023-02-28T07:28:20Z-
dc.date.available2023-02-28T07:28:20Z-
dc.date.issued2021-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17871-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564en_US
dc.description.abstractIn part of organize life skills development for disadvantaged children. There are 5 types of development arrangements : Tarbiyah’s project, Day of give activity, development of life, Management skills development And the development of skills, morals, ethics, good manners, and happy family. In part of work’s skill development, There are 2 type : Development of vocational skills at secondary school and internship level. The secondary level is compulsory career development on a weekly basis and monthly interest-based basis. The development of vocational skills at the level of training. It is the development of 7 main occupational skills, 4 occupation skills and 4 additional occupations. The problem of this part is to continue to study at the level of internship no inspiration to study at the level of internship, lack of nursing knowledge’s mentor, lack of a good role model, lack of supervision for development work’s skill class, lack of continuous in development work’s skill class and Insufficient time for doing self-routines and homework (domination’s student)en_US
dc.description.sponsorshipPrince of Songkla Universityen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectDarul Barakah Schoolen_US
dc.subjectการบริหารการศึกษา การศึกษาเฉพาะกรณี เมือง (ปัตตานี)en_US
dc.titleสภาพและแนวทางการบริหารจัดการการศึกษาสงเคราะห์เด็กด้อยโอกาส: กรณีศึกษา โรงเรียนดารุลบารอกะฮฺen_US
dc.title.alternativeStates and Guidelines for Welfare Education Management of Underprivileged Children: A Case Study of Darul Barakah Schoolen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Islamic Sciences-
dc.contributor.departmentคณะวิทยาการอิสลาม-
dc.description.abstract-thการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการ สภาพปัญหา และข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการการศึกษาสงเคราะห์เด็กด้อยโอกาสโรงเรียนดารุลบารอกะฮฺ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 28 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลหอพัก พี่เลี้ยง ศิษย์และนักเรียนเด็กด้อยโอกาส ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนดารุลบารอกะฮฺมีการบริหารจัดการการศึกษาสงเคราะห์แก่เด็กด้อยโอกาส 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการศึกษา ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต ด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ และด้านการจัดการสวัสดิการ โดยด้านการจัดการศึกษา มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกเหนือจากที่รัฐบาลกำหนดอยู่ 5 รูปแบบ คือ การจัดการศึกษารูปแบบมักตับ การจัดการเรียนรู้ชั้นเตรียม การจัดการเรียนรู้รายวิชาศาสนาเพิ่มเติม การศึกษาท่องจำอัลกุรอานด้วยรูปแบบ StifIn และการจัดการศึกษาหลักสูตรคิดมัตปัญญาเลิศ ในการนี้ มีการจัดการสงเคราะห์สวัสดิการด้านต่าง ๆ ควบคู่กับการดำเนินการจัดการศึกษาสงเคราะห์อีก 4 สวัสดิการ ได้แก่ สวัสดิการทุนการศึกษา สวัสดิการอาหาร สวัสดิการที่พัก และสวัสดิการการประกันสุขภาพ มีปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการดังกล่าว ได้แก่ ปัญหาทักษะการอ่านและทักษะการเขียนไม่ได้มาตรฐาน ปัญหาการจัดการศึกษาสงเคราะห์ไม่ทั่วถึง ปัญหาการขาดแคลนครูสอนศาสนาภาคค่ำ ปัญหาการขาดแคลนครูชำนาญการในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ปัญหาการขาดระบบการติดตามศิษย์เก่า ปัญหาการขาดแคลนงบประมาณการบริหารจัดการสวัสดิการสงเคราะห์ ปัญหารการบริการอาหารแก่นักเรียนเด็กด้อยโอกาสประจำหอพัก และปัญหาการไม่ปฏิบัติตามระเบียบหอพักอย่างเคร่งครัด ส่วนการจัดการพัฒนาทักษะชีวิตแก่เด็กด้อยโอกาส มีการจัดการพัฒนา 5 รูปแบบ ได้แก่ โครงการตัรบียะฮฺ กิจกรรมวันแห่งการให้ การพัฒนา 13 ทักษะชีวิตพื้นฐาน การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการ และการพัฒนาทักษะคุณธรรมจริยธรรมมารยาทดีและครอบครัวเป็นสุข ในขณะที่การจัดการพัฒนาทักษะอาชีพ มีรูปแบบการพัฒนา 2 รูปแบบ ได้แก่ การพัฒนาทักษะอาชีพระดับมัธยมศึกษาและการพัฒนาทักษธอาชีพระดับฝึกงาน โดยระดับมัธยมศึกษาเป็นพัฒนาอาชีพภาคบังคับในรายสัปดาห์และแบบตามความสนใจในรายเดือน ส่วนการพัฒนาทักษะอาชีพระดับชั้นฝึกงาน เป็นการพัฒนาทักษะอาชีพหลัก 7 อาชีพ และอาชีพเสริมอีก 4 อาชีพ มีปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการดังกล่าว ได้แก่ ปัญหาการไม่ประสงค์เรียนต่อระดับชั้นฝึกงาน ปัญหาการขาดองค์ความรู้ด้านการพยาบาลของพี่เลี้ยง ปัญหาการขาดการเป็นแบบอย่างที่ดี ปัญหาการขาดการนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะอาชีพ ปัญหาการขาดความต่อเนื่องของการจัดกระบวนการพัฒนาทักษะอาชีพ และปัญหาเวลาไม่เพียงพอในการทำกิจวัตรส่วนตัวและการบ้านของนักเรียนหอพักen_US
Appears in Collections:761 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6120420109.pdfMahyuddin Samoh4.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons