Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17681
Title: Investigating the determinants and integrated relationships of corporate social responsibility within the global sypply chain ; a comparatie study between Thailand and Bangladesh garment sectors
Authors: Hossain, Tareq Bin
Momin, Mahmood Ahmed
Muttanachai Suttipun
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Keywords: Social responsibility of business Thai;Social responsibility of business Bangladesh
Issue Date: 2019
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: This study aims to investigate the influence of multiple stakeholders on suppliers' social responsibility (SSR based on data from the apparel industry of Thailand and Bangladesh A two-stage conceptual model, basic and extended, was developed using stakeholder relational and multiplicity perspectives adapted from Neville and Menguc (2006) and Rowley (1997) The present study provides an empirical investigation of networked stakeholder relationships Buyer Pressure, Media Interest, Government Policy and Top Management Commitment, both individually and collectively on SSR behavior. ㆍFace to face and drop off and collect' survey administration techniques were used to collect a total of 371 questionnaires, where 137 data from the executives of Thai textile and 234 data from the executives of Bangladeshi garment sector. Partial Least Square (PLS) structural equation modeling combined with resampling and bootstrapping techniques to test the significance of the regression coefficients, were used to examine the hypotheses included in both basic and extended models. The findings suggest that while Buyer Pressure, Media Interest and Top Management Commitment, individually have positive relationships, only Media Interest and Top Management Commitment have a significant influence on SSR When complex interactions and mediation among stakeholders were considered, a thicker and a thinner pathway or network of stakeholders, indicating strong and weak network intluences on SSR. were detected The findings show that Media Interest. Buyer Pressure, Government Policy, Top Management Commitment and SSR constitute the thickest pathway compared with alterative pathways. Additionally, it was found that Buyer Pressure and Top Management Commitment displayed the most important network path mediation roles in moderating the networked influence on SSR While early studies explored individual stakeholder influence on SSR based on dyadic relationships among stakeholders and business, the present study contributes to an understanding the influence of a networked relationship among key stakeholders on SSR While top managements make SSR strategic decisions in managing stakeholder networks, they do not necessarily consider each stakeholdersㆍ claim or interest. The ability to influence SSR, a cause of recent ethical concern among business, is through networked relationships.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด และบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรมยางพารา และปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาบทบาทความรับผิคชอบต่อสังคมของธุรกิงโรงงานอุตสาหกรรมยางพารา ประชากรคือ กิจการในอุตสาหกรรมยางพาราที่มีรายชื่อปรากฏในทำเนียบอุตสาหกรรมของจังหวัดในภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสตูล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารธุรกิจ/เจ้าของกิจการและเป็น ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจและดูแลงานในส่วนที่เกี่ยวช้องกับภาพลักษณ์และความสัมพันธ์กับชุมชนของกิจการที่ถูกเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย (purposive sampling) รวมทั้งสิ้น 88 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่สร้างขึ้นด้วยแบบ Semni-qualitative ณ ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะทั่วไปของอุตสาหกรรมยางพารา ร้อยละ 52.3 ของกิจการกลุ่มยางพาราตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา จำนวนผู้บริหารในกิจการอยู่ระหว่าง 3-10 คน ร้อยละ 80 มีพนักงานระดับปฏิบัติการต่ำกว่า 100 คน และร้อยละ 70 มีคนงานต่ำกว่า 200 คน เงินลงทุนครั้งแรกของกิจการ ร้อยละ 51.1 อยู่ในช่วง 1-50 ล้านบาท ร้อยละ 22.7 ของกิจการเปิดนานกว่า 20 ปี ร้อยละ 46.6 จดทะเบียนเป็นโรงงานผลิตยางแผ่น ยางเครป และน้ำยางข้น และ ส่งออกร้อยละ 23.2 ของกิงการส่งออก 2. ลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารที่มีประสบการณ์มากกว่า 6 ปีขึ้นไป ร้อยละ 94.3 เป็นคนไทย ร้อยละ 93.2 เป็นชาวพุทธ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีทั้งหญิงและชาย ร้อยละ 88.6 มีอายุ 31 ปีขึ้นไป และร้อยละ 19.3 ตอบว่าต้องดูแลกิจการในกลุ่มมากกว่า 1 แห่ง มีทั้งกิจการประเภทเดียวกันในจังหวัดอื่นและกิจการที่จดทะเบียนคนละประเกทในจังหวัดเดียวกัน 3.แนวคิดและบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้บริหารร้อยละ 78.4 ยืนยันว่ากิจการที่ตนดูแลมีแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม และผลการดำเนินการของกิจการยางพาราเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางสังคมต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงมากในเกือบทุกกิจกรรม 4. ปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคม กิจการยางพาราเรียงลำดับปัญหาที่ประสบ ร้อยละ 75.6 เผชิญกับภาวะขาดแคลนแรงงาน ร้อยละ 40.2 มักได้รับการร้องขอการสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนบ่อยครั้ง ร้อยละ 32.9 ระบุว่ารัฐบาลไม่ดูแลเท่าที่ควรและกิจการต้องช่วยตัวเอง กิจการร้อยละ 29.3 เคยถูกร้องเรียนเรื่องน้ำเสียและโรงงานส่งกลิ่นเหม็น ร้อยละ 18.3 เจอปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงงาน ในขณะที่ร้อยละ 9.8 มองว่ากฎหมายไม่ยืดหยุ่น และร้อยละ 4.9 ระบุว่กิจการต้องเจอกับมาตรการกีดกันจากตลาด ส่งออกอุปสรรคในการดำเนินการความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ตามความเห็นของผู้บริหารพบว่า ร้อยละ 5ร.6 กิจการมีงบประมาณเพื่อการนี้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 25.9 ลูกค้ามีความหลากหลายไม่เข้าใจเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมที่แท้จริง และการร้องเรียนจากลูกค้าเรื่องสิ่งแวดล้อม ร้อยละ20.4 รัฐบาลที่ถือแนวปฏิบัติไม่แน่นอน เลือกปฏิบัติและไม่ให้ความช่วยเหลือร้อยละ 16.7 ปัญหาด้านกฎหมาย และร้อยละ 9.3 ด้านสื่อมวลชนเนื่องจากกิจการไม่ได้ทำการประชาสัมพันธ์กิจการ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม คือ (1) กิจการยางพาราต้องเพิ่มความสนใจทั้งทางด้านการดำเนินงานและการประชาสัมพันธ์ (2) ผู้ประกอบการสร้างความยั่งยืนของกิจการด้วยความเข้าใจบทบาทให้ชัดเจน (3) ภาครัฐและสมาคมธุรกิจยางพาราในภาคใด้ควรเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดบทบาทและการดำเนินการ CSR ของกิจการในอุตสาหกรรม
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17681
https://rdo.psu.ac.th/ResearchProject/reDetail.php?pro_id=20430
Appears in Collections:460 Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
MAN610543S-Abstract_Hossain.pdf235.68 kBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.