Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17677
Title: การพัฒนาการท่องเที่ยววิถีไทยในพื้นที่เปราะบาง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Other Titles: Developing way of Thainess tourism in vulnerable areas in coping to climate change
Authors: สุวิทย์ สุวรรณโณ
Faculty of Environmental Management (Environmental Management)
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
Keywords: การท่องเที่ยว
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The research program: Developing way of Thainess tourism in vulnerable areas in coping to climate change was developed to find appropriate Thainess tourism model for tourism communities, tourism entrepreneurs and related organizations can apply for using and planning to develop tourism model in vulnerable areas in order to develop sustainable tourism. The results from three research projects are as following. 1) The results from tourists revealed that majority of participants are female with aged between 20 to 29 years. Most of them are single and hold a bachelor’ s degree. Most of participants are university students and their average income is between 10,000 and 30,000 Baht. The origin region of these participants are the Southern Thailand. The results of an evaluation toward the potential of natural and cultural tourist attractions displayed that Muang district obtained a potential in tourist attraction, accessibility, and amenities. However, Huy Yod district had a potential to develop in tourist attraction. In terms of Pa Lien District (Sukorn Island), activities and attraction were two main potentials, whereas Kan Tang District (Li Bong Island) revealed a potential in tourist attraction and accommodation. To certain extent, Slow Tourism tends to develop in a small countryside community with has an originated lifestyle such as Li Bong Island and Sukorn Island. The outcomes of this study showed that Slow Tourism in each area should be developed continually along with a good cooperation with the leaders and the representatives of local communities and public and private sectors. The most important concept on Slow Tourism in the context of Trang province is the development should not be rushed, rather to sustain the nature and the local culture should be more emphasized as there two factors are the main ways to cultivate the sustainable tourism in the area. 2) The results of potential assessment showed the biodiversity of aquatic animals, the highest potential ecological resource in all indices and is the main profit for local people, at the average value of 4.4. It could be the indication of the abundant food chain in Koh-Mak. The main economic aquatic animal such as Plotosus canius, Heteromycteris hartzfeldii, Macrobrachium rosenbergii, Metapenaeus brevicornis were mostly found. The local vegetation, the secondarily mostly found at the average value of 4, were the conventional plant, e.g. sugar palm, cashew nuts, and Parkia speciose, etc. the same kinds of bird found in Khu Khut Water Fowl Park were found at the potential ecological resource of 3.7 the lowest average value at 1.6 was the community water management. The results of potential assessment were presented to local people in the community through brain storming activities. Eight tourism activities on two tourism routes, both land and water tourism routes, were proposed for the development guideline. From the study, the learning water tourism routes, were proposed for the development guideline.The learning of local fishery was the highlight among the proposed tourism activities and rarely found at present. The potential ecological resources were developed to be souvenir products. The result found that crispy rice mixed with shrimp and hepatopancreas of Metapenaeus brevicornis shrimp (control) has the most acceptance of sensory evaluation with statistical significant ( p < 0.05) compared with other treatments. The developed product can use to be guideline for product improvement that state the community identity by using marketing communication concept to promote product sale. 3) The result topic of “Study of Thainess tourism route with low carbon conscious at Phang Nga Province”, indicated the community-based tourism area in the context of natural resources, local wisdom and culture. The routes of tourism activities are organized by the local community that is awareness of the environmental impacts. The study area is Ban Sam Chong Nuea Community, Takua Thung District, Phang Nga Province. The evaluation result has a high potential of 2.57, suitable for low-carbon tourism activities. The guidelines for the development and management by the local participation. The select activities for kearning and tourists to gain experience such as food, the way of life with the Muslim community, social, cultural and environmental values in accordance with the guidelines and the context of the community. The results of the study were presented to the community through a brainstorming process, allowing formulating a new alternative tourism in local.
Abstract(Thai): แผนงานการวิจัย การพัฒนาการท่องเที่ยววิถีไทยในพื้นที่เปราะบางเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พัฒนาขึ้นเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยววิถีไทยให้กับชุมชนท่องเที่ยว ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนงานพัฒนารูปแบบการการท่องเที่ยวในพื้นที่เปราะบางได้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ต่อ จาก ผลการวิจัยของโครงการย่อยทั้งสามโครงการได้ผล ดังนี้ 1) ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวพื้นที่จังหวัดตรัง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-29 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน /นักศึกษา มีรายได้ระหว่าง 10,000 – 30,000 บาท ภูมิลำเนาอยู่ที่ภาคใต้ ในส่วนของการประเมินศักยภาพขององค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม พบว่า 1) อำเภอเมืองตรังมีศักยภาพด้านสิ่งดึงดูดใจ (Attraction) ศักยภาพด้านการเข้าถึง (Accessibility) และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก Amenities) 2) อำเภอห้วยยอดมีศักยภาพในด้านแหล่งท่องเที่ยว/สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) 3) อำเภอปะเหลียน เกาะสุกร) มีศักยภาพทางการท่องเที่ยว ได้แก่ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว (Activities) และด้านแหล่งท่องเที่ยว/สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) 4) อำเภอกันตัง (เกาะลิบง) มีศักยภาพด้านแหล่งท่องเที่ยว/สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) และด้านที่พัก (Accommodation) จากการศึกษากิจกรรมการท่องเที่ยวแบบไร้ความเร่งรีบ (Slow Life Tourism) มักจะเกิดขึ้นในเมืองหรือชุมชนขนาดเล็กที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย แบบดั้งเดิมและเป็นชนบทสูง เช่น เกาะลิบงและเกาะสุกร การจัดการการท่องเที่ยวแบบไร้ความเร่งรีบในแต่ละพื้นที่ควรพัฒนาค่อยเป็นค่อยไปตามแนวคิดการท่องเที่ยวไร้ความเร่งรีบ (Slow Tourism) ควรมีความร่วมมือกันระหว่างผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และผู้ประกอบการ สิ่งสำคัญไม่ควรเร่งพัฒนาแต่ควรคงเดิมไว้ซึ่งความสมบูรณ์ในด้านธรรมชาติและความแท้ดั้งเดิมของวัฒนธรรม สิ่งนี้เองที่เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้แต่ละพื้นที่ในด้านองค์ประกอบอื่นนั้นชุมชนควรดูความพร้อมในการจัดการ ท้ายสุดผลของการท่องเที่ยวรูปแบบนี้เกิดเป็นความอย่างยั่งยืนในแต่ละพื้นที่ต่อไป 2) โครงการวิจัยย่อย “เรื่องการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรนิเวศชุมชนเกาะหมาก จังหวัดพัทลุง เพื่อการท่องเที่ยววิถีไทย” ชุมชน ผลการประเมินศักยภาพ พบว่า ความหลากหลายของสัตว์น้ำ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.4 เป็น ทรัพยากรนิเวศที่มีศักยภาพในระดับสูงสุดในทุก ๆ ดัชนี บ่งบอกถึงนิเวศและห่วงโซ่อาหารที่สมบูรณ์ในพื้นที่ชุมชนเกาะหมาก สัตว์น้ าที่พบส่วนใหญ่ ในพื้นที่เป็นสัตว์น้ำที่มีมูลค่าเป็นเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุกทะเล (Plotosus canius) ปลาลิ้นหมา (Heteromycteris hartzfeldii) กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) และกุ้งหัวมัน (Metapenaeus brevicornis) ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน ลองลงมาพืชในท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 พบเป็นพืชดั่งเดิม และมีปริมาณที่หนาแน่น เช่น ตาลโตนด มะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น ทรัพยากรนิเวศถัดมาที่มี ค่าเฉลี่ยที่ไม่แตกต่างกัน คือ สัตว์จ าพวกนก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.7 ลักษณะนกที่พบเห็นเป็นนกชนิดเดียวกับที่พบเห็นในอุทยานนกน้ำคูขุด นอกจากนี้การจัดการน้ าภายในเกาะ ผลการประเมินศักยภาพทรัพยากรนิเวศมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.6 ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำ แต่กลับเป็นผลดีที่จะสามารถนำมาพัฒนาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวฯ ทั้งที่ผลจากการประเมินศักยภาพถูกนำเสนอแก่ประชาชนในชุมชนผ่านการระดมความคิดเห็นทำให้สามารถนำมากำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวในรูปแบบของกิจกรรมการท่องเที่ยวได้ 8 กิจกรรม ภายในชุมชนเกาะหมาก โดยนำเสนอกิจกรรมผ่านเส้นทางการท่องเที่ยว 2 เส้นทาง ทั้งทางบกและทางน้ำ โดยมีจุดเด่น คือ การเรียนรู้และสัมผัสวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่หาได้ยากในปัจจุบัน เมื่อนำทรัพยากรนิเวศน์ที่มีศักยภาพของชุมชนเกาะหมากมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของฝาก พบว่า ข้าวพองอบกรอบที่ผสมเนื้อและมันจากกุ้งหัวมัน (ชุดควบคุม) ให้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับชุด การทดลองอื่น ๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชนได้ในโอกาสต่อไป โดยใช้หลักการของของการสื่อสารการตลาดเข้ามาช่วยกระตุ้นยอดขายสินค้า 3) โครงการวิจัยย่อยเรื่องการท่องเที่ยววิถีไทยใส่ใจคาร์บอนต่ำในพื้นที่จังหวัดพังงา ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่ศึกษาพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในบริบทของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่นและมีการจัดรูปแบบและเส้นทางกิจกรรมการท่องเที่ยว โดยชุมชนที่ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ สิ่งแวดล้อม พื้นที่ศึกษาชุมชนบ้านสาช่องเหนือ อ าเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ผลการประเมินมีศักยภาพสูง 2.57 เหมาะสำหรับการทำกิจกรรมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ซึ่งแนวทางในการพัฒนาและจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมี บทบาทแสดงความเห็นร่วมกันและคัดเลือกกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และนักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ เช่น ด้านอาหาร วิถีชุมชนมลายู คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ตามบริบทของชุมชน ทั้งนี้ผลจากการศึกษา ถูกนำเสนอให้กับชุมชนผ่านกระบวนการระดมความคิดเห็นทำให้สามารถกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17677
https://rdo.psu.ac.th/ResearchProject/reDetail.php?pro_id=16041
Appears in Collections:820 Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ENV600166M-Abstract_Suwit.pdf267.79 kBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.