Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17646
Title: | การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมมลายูในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา |
Other Titles: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยย่อยที่ 3 การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมมลายูในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา Creative Tourism Development to learn the Melayu Culture in the Special Economic Zone of Songkhla |
Authors: | อภิรมย์ พรหมจรรยา ปาริฉัตร สิงห์ศักดิ์ตระกูล |
Keywords: | การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สงขลา |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | This research is a participatory action research. The objectives to study the protential, Creative Tourism Development to learn the Melayu Culture in the Special Economic Zone of Songkhla. The research method is qualitative research. The data analyses were based on of descriptive and qualitative data. The result of this study, the bodies of knowledge relating to Thai-Muslim-Chinese in an urban community of the special economic zone of Songkhla. To establish guidelines for community development in managing creative tourism based on local cultural wisdom. The culture with study consisted of tradition on newborn, wedding, religious important day and local traditional food. The creative tourism development selected Sam Nak Taew Community to learn the Melayu culture. The concept of creative tourism provide tourism get to experience. As the experience of creative about food, Melayu culture, the social values, socio-cultural and environment. The activies as a way of life, an activity that the community can proceed by himself and the tourist have interest. The results of protential assessment were presented to local people in the community throuth brain storming activities to specify guideline to creative tourism development for learning and touching Melayu culture. |
Abstract(Thai): | การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพ พัฒนา ออกแบบและเสนอเส้นทางกิจกรรมการท่องเที่ยวสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมมลายูในเขตพื้นที่เศรษฐกิจสงขลา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการบรรยาย อธิบายความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ศึกษาเพื่อเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมมลายูในเขตพื้นที่เศษฐกิจสงขลา เป็นชุมชนชาวไทยพุทธ มุสลิม และ ชาวจีน อาศัยอยู่ร่วมกันด้วยวิถีชีวิตที่มีความแตกต่าง แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ งานวิจัยฉบับนี้มุ่งเน้นที่ต้องการศึกษาเพื่อการเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมมลายูเพื่อพัฒนาให้เป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชน ในบริบทของภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีการเกิด การแต่งงานนิกะห์ กิจกรรมวันตรุษ สำคัญ และอาหารท้องถิ่น เพื่อจัดรูปแบบและเส้นทางกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ได้คัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง คือ ชุมชนสำนักแต้ว ซึ่งแนวทางในการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีบทบาทแสดงความเห็นร่วมกัน คัดเลือกกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และนักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์เชิงสร้างสรรค์ เช่น ด้านอาหาร วิถีชุมชนมลายู คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางและบริบทของชุมชนเองทั้งนี้ผลจากการประเมินศักยภาพถูกนำเสนอให้กับชุมชนผ่านกระบวนการระดมความคิดเห็น ทำให้สามารถกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวในรูปแบบของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการเรียนรู้และสัมผัสวิถีชุมชนมลายู ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่หาได้ยากในปัจจุบัน |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17646 https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/308914 |
Appears in Collections: | 816 Research |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.