Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17546
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริวิท อิสโร-
dc.contributor.authorบุญตา ใจตรง-
dc.date.accessioned2022-09-19T08:32:41Z-
dc.date.available2022-09-19T08:32:41Z-
dc.date.issued2018-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17546-
dc.descriptionรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร), 2561en_US
dc.description.abstractThe purposes of this research were to study the factors affecting the confidence of the inquiry official in the forensic science, the confidence level of inquiry officers and the problems and obstacles to cooperated work performance between inquiry officers and forensic scientists. The sample cluster included 192 inquiry officers from Yala, Pattani and Narathiwat provinces. The research tools using questionnaires, which had reliability value 0.97. Statistics used for data analysis were the frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis. It was found that the level of confidence of the inquiry official in the forensic science was a high level (x ̅ = 4.56, S.D. = 0.49). The factors influencing the confidence were the effectiveness of management system, attitudes to forensic science work and acknowledgement of abilities of forensic scientist, resulted the statistically significant at .05 whereas the factor of good governance did not affect the confidence. In addition, the problems and obstacles in cooperation of the inquiry officers and forensic scientist were the delayed of forensic reports, the imbalance of manpower and requirements and innocence of inquiry official to the capabilities of forensic scientist. Therefore, addition suggestions in this research were an increasing the forensic science workforce, providing the related training, disseminating the knowledge of collecting and transferring evidence to the inquiry officers to increase confidence in forensic science work.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.subjectงานพิสูจน์หลักฐานen_US
dc.subjectความเชื่อมั่นen_US
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของพนักงานสอบสวนที่มีต่องานพิสูจน์หลักฐาน กรณีศึกษา พนักงานสอบสวนที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสen_US
dc.title.alternativeFactors Affecting the Confidence of the Inquiry Official in the Forensic Science : A Case Study of the Inquiry Official in Yala, Pattani and Narathiwat Provinces.en_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Management Sciences (Public Administration)-
dc.contributor.departmentคณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์-
dc.description.abstract-thการศึกษาเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของพนักงานสอบสวนที่มีต่องานพิสูจน์หลักฐาน กรณีศึกษา พนักงานสอบสวนที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของพนักงานสอบสวนที่มีต่องานพิสูจน์หลักฐาน ระดับความเชื่อมั่นของพนักงานสอบสวนที่มีต่องานพิสูจน์หลักฐาน รวมถึงเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างพนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ พนักงานสอบสวนที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 192 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ระดับความเชื่อมั่นของพนักงานสอบสวนต่องานพิสูจน์หลักฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.56, S.D. = 0.49) เมื่อทำการทดสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของพนักงานสอบสวนต่องานพิสูจน์หลักฐาน พบว่า ปัจจัยความเป็นระบบในการทำงานของงานพิสูจน์หลักฐาน ปัจจัยด้านทัศนคติต่องานพิสูจน์หลักฐาน และปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถของบุคลากรในงานพิสูจน์หลักฐาน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนปัจจัยด้านธรรมาภิบาลไม่พบว่าส่งผลต่อความเชื่อมั่น นอกจากนี้ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างพนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน พบว่า รายงานผลการตรวจพิสูจน์บางครั้งล่าช้า เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานยังไม่เพียงพอต่อความต้องการเมื่อมีการร้องขอ รวมถึงพนักงานสอบสวนบางรายยังไม่ทราบขีดความสามารถของงานพิสูจน์หลักฐาน ดังนั้นข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการวิจัย คือ งานพิสูจน์หลักฐานควรเพิ่มบุคลากรในการปฏิบัติงานให้มากขึ้น รวมถึงควรจัดฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บพยานหลักฐาน และการนำส่งของกลางเพื่อตรวจพิสูจน์ให้กับพนักงานสอบสวน เพื่อยกระดับความเชื่อมั่นที่มีต่องานพิสูจน์หลักฐานมากขึ้นen_US
Appears in Collections:465 Minor Thesis



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.