Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17526
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการสัมมาชีพชุมชนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
Other Titles: Factors Affecting the Successful Implementation of the Ethical Careers for Community Project on Sufficiency Economy Philosophy in Rattaphum District, Songkhla Province
Authors: สิริวิท อิสโร
วัลลภา เรืองกูล
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
Keywords: เศรษฐกิจพอเพียง;ความสำเร็จ
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objective of this research was to investigate factors, levels of success, problems and obstacles affecting the successful implementation of the ethical careers for community project on Sufficiency Economy Philosophy in Rattaphum District, Songkhla Province. This study was conducted quantitatively. The population were community development staff, and community leaders (Sub-district headmen, and village headmen) with purposive sampling. Households with ethical careers were conveniently random. There were 242 participants. The instrument was a questionnaire. Data were analyzed by using a packaged program to find statistics for social science. It was found that there were four factors significantly affecting the successful implementation of the ethical careers for community project on Sufficiency Economy Philosophy in Rattaphum District at 0.5, which were economic, social, and political factors, participation factor, community capital factor and factors of understanding of the project. These four factors can be used to predict the success of the project equal to 64.60% and the project success was in high levels ( = 3.69, S.D. = 0.49). However, the factor of community leaders and of governmental support obstructed the project success. Moreover, it was revealed that the problems and obstacles that blocked the successful implementation of the ethical careers for community project on Sufficiency Economy Philosophy were that people lacked the knowledge of the project, there were not enough budgets supporting the project, and there was a time constraint. Therefore, the government offices and related agencies should educate people about the project and allocate enough budgets for all villages in order to support learning activities for the people in the community. When people are educated, they can rely on themselves and lead to sustainable development.
Abstract(Thai): งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ระดับความสำเร็จ และปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชน (กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน) ซึ่ง สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบเจาะจง และครัวเรือนสัมมาชีพ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตามความสะดวกได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม จากนั้นจึงนำข้อมูลเชิงปริมาณมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปรูปวิเคราะห์หาค่าสถิติทางสังคมศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่ามี 4 ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการสัมมาชีพชุมชนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านทุนชุมชน และปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการได้ร้อยละ 64.60 ส่วนระดับความสำเร็จในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก ( = 3.69, S.D. = 0.49) อย่างไรก็ดี พบว่าปัจจัยด้านผู้นำชุมชน และปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เป็นปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการ นอกจากนี้ยังพบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการสัมมาชีพชุมชนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยพบว่า ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ งบประมาณที่สนับสนุนการดำเนินโครงการไม่เพียงพอ และไม่ทันเวลา ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ และสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมให้อย่างเพียงพอทั่วถึงทุกหมู่บ้าน เพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ให้กับชุมชนในการสร้างฐานการเรียนรู้ให้มั่นคง ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Description: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17526
Appears in Collections:465 Minor Thesis



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.