กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17515
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบของทักษะทางการเงินที่มีต่อสภาวะหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Effect of Financial Literacy on Thai Government Teachers and Education Personnel towards Debt Problems
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กลางใจ แสงวิจิตร
รัศมิ์จันทร์ ขวัญเมือง
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: ทักษะทางการเงิน;ความรู้ทางการเงิน;พฤติกรรมทางการเงิน;ทัศนคติทางการเงิน;ข้าราชการครู
วันที่เผยแพร่: 2018
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This present study seeks to examine the effect of the Financial Literacy on debts problems of Thai government teacher and education personnel. The Financial Literacy in this study consists of 3 components: Financial Knowledge, Financial Behavior and Financial Attitude. The sample group in this study is Thai government teacher and education personnel who registered in debt- reducing program with Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel. The quantitative questionnaire have been used to collect data from the sample group. The Multiple Regression Analysis revealed that the Financial Behavior had a negative effect on the current amount of debts but the Financial Knowledge and Attitude had no effect on the current amount of debts.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งประเภทของระดับทักษะทางการเงินที่มีผลต่อปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูไทย ในการศึกษาแบ่งประเภทของระดับทักษะทางการเงิน (Financial Literacy) เป็น 3 ด้านคือ ความรู้ทางการเงิน พฤติกรรมทางการเงิน และทัศนคติทางการเงิน มีกลุ่มตัวอย่างคือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ลงทะเบียนขอลดภาระหนี้สินกับสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) จำนวน 361 คน โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้การวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) พบว่าระดับพฤติกรรมทางการเงิน เป็นสาเหตุของสภาวะหนี้สินด้านจำนวนหนี้สินในปัจจุบัน โดยมีความสัมพันธ์ในเชิงลบ แต่ระดับความรู้ทางการเงินและระดับทัศนคติทางการเงิน ไม่เป็นสาเหตุของสภาวะหนี้สินด้านจำนวนหนี้สินในปัจจุบัน จากผลการศึกษาในครั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำวิธีการศึกษาไปพัฒนาเป็นโมเดลต้นแบบในการสำรวจระดับทักษะทางการเงินของบุคคลในภาพรวมของประเทศและบุคลากรในสายอาชีพต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินและภาวะหนี้ครัวเรือนต่อไปในอนาคต
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17515
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis



รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons