Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17498
Title: ความตั้งใจคงอยู่กับองค์กรของพนักงานธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Other Titles: The Intention to Stay in an Organization of the Employees in the Construction Business in Hatyai, Songkhla
Authors: สุธินี ฤกษ์ขำ
อามีน ขุนดุเร๊ะ
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Keywords: ความตั้งใจคงอยู่กับองค์กร;ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง;พนักงาน
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research aimed 1) to examine the level of the intention to stay in an organization of the employees in the construction business, 2) to compare opinions toward the intention to stay in an organization of the employees in the construction business which classify by personal factors, 3) to study the human resource management factors which human resource correlated with the intention to stay in an organization of the employees in the construction business. Samples were 385 employees who work in construction companies in Hatyai, Songkhla. In this research, frequency, percentage, mean, standard deviation, t-Test, F-Test with ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation coefficient were used to analyze data. The results revealed that majority of employees are females aged between 31 to 40 years old who graduated a bachelor degree, marriage, and mostly have been working in an organizations for more than five to 10 years. They rated human resource management factors in the construction business as the high level. The highest factors were the working environment, supervisor, and colleagues, respectively. On the other hand, three factors which had been rated moderately were advancement, compensation, and performance appraisal, respectively. Moreover, the employees rated their intention to stay with an organization at the high level. In addition, employees who were different in age, education background, and work experience at the organization reported differently toward the intention to stay with an organization in the construction business as the statistically significant level at 0.05. Also, the human resource management factors had positive relationships with the intention to stay with an organization in the construction business as the statistically significant level at 0.05.
Abstract(Thai): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาระดับความตั้งใจคงอยู่กับองค์กรของ พนักงานธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อความตั้งใจคงอยู่กับองค์กร ของพนักงานธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล3) เพื่อศึกษาการบริหารทรัพยากร มนุษย์ที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่กับองค์กรของพนักงานธุรกิจรับเหมาก่อสร้างกลุ่มตัวอย่าง เป็นพนักงานของบริษัทรับเหมาก่อสร้างในอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา จำนวน 385 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความแตกต่าง ของค่าที(t-Test) และทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product-moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี มี การศึกษาระดับปริญญาตรีสถานภาพสมรส และส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์กร มากกวา่ 5 - 10 ปี ซึ่งพนักงานมีระดับความคิดเห็นต่อการบริหารทรัพยากรมนุษยข์องธุรกิจรับเหมา ก่อสร้างโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบวา่ อยู่ในระดับมาก3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสภาพ แวดล้อมในการทำงาน 2) ด้านหัวหน้างาน 3) ด้านเพื่อนร่วมงาน และอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความก้าวหน้า 2) ด้านค่าตอบแทน 3) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามลำดับ โดยพนักงาน มีระดับความคิดเห็นต่อความตั้งใจคงอยู่กับองค์กรธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่า พนักงานที่มีอายุระดับการศึกษาและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ในองค์กรต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อความตั้งใจคงอยู่กับองค์กรธุรกิจรับเหมาก่อสร้างโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับความตั้งใจคงอยู่กับองค์กรของพนักงานธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17498
Appears in Collections:460 Minor Thesis



This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons