Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17431
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธิดารัตน์ วิชัยดิษฐ | - |
dc.contributor.author | นินูรร์ มุกาวี | - |
dc.date.accessioned | 2022-04-19T09:24:44Z | - |
dc.date.available | 2022-04-19T09:24:44Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17431 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(ฟิสิกส์ประยุกต์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561 | en_US |
dc.description.abstract | ผลของรังสีแกมมาต่อคุณภาพการเก็บรักษาข้าวเกรียบปลาแบบสด (คือโป๊ะ) ที่เก็บรักษาที่สภาวะการเก็บในห้องปรับอากาศและแซ่เย็น พบว่าที่การเก็บรักษาที่สภาวะแช่เย็นร่วมกับ การฉายรังสีปริมาณ 1, 2 และ 3 กิโลเกรย์ ที่ถูกผลิตด้วยกระบวนการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ บรรจุแบบ ปิดสนิทธรรมดามีอากาศอยู่ภายในด้วยพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีน พบว่าสามารถลดจำนวนแบคทีเรีย ทั้งหมดลงได้ และปริมาณโดสเพียง 1 กิโลเกรย์ ก็สามารถกำจัดแบคทีเรียพวก coliforms และStaphylococcus aureus ได้หมด ข้าวเกรียบปลาแบบสดฉายรังสียังคงมีคุณภาพดีทั้งทางด้าน จุลินทรีย์ เคมี และกายภาพ แม้ว่าค่า Thiobarbituric acid (TBA) ในตัวอย่างข้าวเกรียบปลาแบบสด ฉายรังสีปริมาณโดส 1, 2 และ 3 กิโลเกรย์ จะมีค่าสูงกว่าข้าวเกรียบปลาแบบสดไม่ฉายรังสี โดยที่ คะแนนคุณภาพด้านประสาทสัมผัสของข้าวเกรียบปลาแบบสดไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจาก ข้าวเกรียบปลาแบบสดที่ไม่ฉายรังสี ดังนั้นปริมาณ 1 กิโลเกรย์ น่าจะเพียงพอสำหรับใช้ในการลด จำนวนจุลินทรีย์และกำจัดแบคทีเรียพวก coliforms และ Staphylococcus aureus ที่ปนเปื้อนใน ข้าวเกรียบปลาแบบสดได้โดยไม่ทำให้คุณภาพด้านประสาทสัมผัสเปลี่ยนแปลง จากการศึกษาสมบัติการรับรังสีและลักษณะเฉพาะเจาะจงการตอบสนองต่อรังสีของ ตัวอย่างข้าวเกรียบปลาแบบสด (กรือโป๊ะ) โดยวิเคราะห์ผลของปริมาณรังสีดูดกลืนที่มีต่อสัญญาณ TL ก่อนและหลังฉายรังสีแกมมาด้วยต้นกำเนิดรังสี Co 1 ถึง 10 กิโลเกรย์ พบว่า ความเข้มของสัญญาณการตอบสนอง TL ในตัวอย่างข้าวเกรียบปลาแบบสดฉายรังสีสูงกว่าในตัวอย่างที่ไม่ได้รับการ ฉายรังสี พบตำแหน่งอุณหภูมิการตอบสนองในตัวอย่างข้าวเกรียบปลาแบบสด (กรือโป๊ะ) ที่อุณหภูมิ ระหว่าง 200 ถึง 350 องศาเซลเซียส และการตอบสนองของสัญญาณ TL intensity ที่ผ่านการฉายรังสีแกมมาดังกล่าวมีความสัมพันธ์เป็นแบบเชิงเส้น | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | en_US |
dc.subject | ข้าวเกรียบปลาแบบสด | en_US |
dc.subject | กรือโป๊ะ | en_US |
dc.title | ผลของรังสีแกมมาต่อคุณภาพการเก็บรักษาข้าวเกรียบปลาแบบสด (กรือโป๊ะ) | en_US |
dc.title.alternative | Effect of gamma radiation on quality of Fresh Fish crackers (Keropok) storage | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.contributor.department | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ | - |
dc.contributor.department | Faculty of Science and Technology (Science programs) | - |
Appears in Collections: | 722 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1653.pdf | 1.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.