Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17423
Title: สภาพ ปัญหา และแนวทางการส่งเสริมการใช้ภาษาอาหรับ : กรณีศึกษาวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Other Titles: States, problems, and guidelines for promoting the use of the Arabic language : a case study of College of Islamic Studies, Prince of Songkla University
Authors: กาเดร์ สะอะ
ยามูดิน สาและ
Faculty of Islamic Sciences
คณะวิทยาการอิสลาม
Keywords: ภาษาอาหรับ;วิทยาลัยอิสลามศึกษา;อิสลามศึกษา
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: งานวิจัยเรื่อง "สภาพ ปัญหา และแนวทางการส่งเสริมการใช้ภาษาอาหรับ กรณีศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ " เป็นวิทยานิพนธ์เล่มหนึ่งที่ผู้วิจัยมี ความประสงค์จะวิจัยถึงบริบทของวิทยาลัยอิสลามศึกษา ตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพ ของวิทยาลัยอิสลามศึกษาในการใช้ภาษาอาหรับ 2. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของวิทยาลัยอิสลามศึกษา ในการใช้ภาษาอาหรับ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการใช้ภาษาอาหรับของวิทยาลัยอิสลาม ศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพที่ผู้วิจัยได้กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการ เจาะจง โดยเลือกผู้บริหารวิทยาลัยอิสลามศึกษา คณาจารย์ บุคลากรที่ดูแลโครงการที่เป็นเชิงเผยแพร่ ภาษาอาหรับของวิทยาลัย ตลอดจนผู้ที่เข้าร่วมโครงการที่ทางวิทยาลัยอิสลามศึกษาได้จัดไว้ โดยผู้วิจัยได้นำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนา ผลการวิจัยพบข้อมูลดังนี้ 1. สภาพวิทยาลัยอิสลามศึกษาในการใช้ภาษาอาหรับที่ปรากฏอย่างเห็นได้ชัดนั้น มีสองอย่างด้วยกัน โดยจำแนกออกเป็นในด้านหลักสูตรและโครงการที่เป็นเชิงเผยแพร่ภาษาอาหรับ ซึ่งในด้านหลักสูตรที่เป็นเชิงเผยแพร่ภาษาอาหรับนั้นคือการเปิดแผนกการสอนอิสลามศึกษาหลักสูตร นานาชาติ ในส่วนของการใช้ภาษาอาหรับผ่านตัวโครงการนั้น มีโครงการใหญ่ๆที่เห็นได้ชัดคือ โครงการ International Islamic Studies-Networking (ISN) โครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบและ พัฒนาทักษะภาษาอาหรับเพื่ออิสลามศึกษา และโครงการมอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาต่างชาติ เพื่อเดินทางมาศึกษา ณ วิทยาลัยอิสลามศึกษา 2. สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้ภาษาอาหรับของวิทยาลัยอิสลามศึกษาในด้าน หลักสูตรของแผนกวิชาอิสลามศึกษาหลักสูตรนานาชาติเป็นปัญหาด้านการใช้ภาษาในการเรียนการ สอน ส่วนปัญหาของโครงการต่างนั้น พบว่ามีปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการ และงบประมาณที่จะคอยสนับสนุนโครงการ รวมทั้งวิธีการสร้างสังคมให้เป็นสังคมแห่งความเป็น นานาชาติภายในวิทยาลัยอิสลามศึกษา 3. วิธีการแก้ปัญหาที่วิทยาลัยอิสลามศึกษาจะต้องแก้ไขคือวิธีการรับนักศึกษาเข้า ศึกษาใช้หลักสูตรอิสลามศึกษานานาชาติที่ต้องการให้ผ่านการเรียนภาษาอาหรับ ณ ศูนย์ทดสอบและ พัฒนาทักษะภาษาอาหรับเพื่ออิสลามศึกษาก่อนที่จะเข้ามาศึกษาในปีหนึ่ง รวมทั้งมุมมองที่ให้ศูนย์ ทดสอบภาษาอาหรับและพัฒนาภาษานานาชาติเพิ่มระยะเวลาในการจัดโครงการในการเผยแพร่ ภาษาอาหรับและมีการจัดระดับชั้นของภาษาให้ชัดเจน และวิธีการแก้ปัญหาของการมอบ ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาต่างชาติ โดยให้เน้นวัตถุประสงค์ของการรับนักศึกษามาศึกษาต่อ โดยให้เน้น ด้านการสร้างสังคมแห่งความเป็นนานาชาติในด้านภาษาอาหรับให้เกิดขึ้นในสังคมวิทยาลัยอิสลาม ศึกษา
Abstract(Thai): The topic of research is States, Problems, and Guidelines For Promoting Use of Arabic Language : A Case Study of College of Islamic Studies, Prince of Songkla University; Is a thesis what researcher would like to research about College of Islamic Studies (CIS) Actions. The research aims to: 1. study the state of CIS in using Arabic language. 2) Study the CIS problems in using Arabic Language. 3) Study how to guidelines for promoting Arabic Language usage. The study was field research relying on observations and interviews in information and fact collection, as the researcher chose Faculty's heads, staffers, students and participants in Faculty's activities. The results of the study were as follows: First: The states of CIS in using Arabic Language has stemmed from two methods, its Curricula and activities. Curricula for using Arabic via specialization are open for Islamic Studies International Program (ISIP). As for using the Arabic Language in activities includes student exchange, Arabic Language Center construction, and finally scholarships offer to students joining the College in order to build an Arab society in the College. Second: CIS ISIP faces 3 problems: teaching methods, activities time allocation and budgets that support the activities, added to the obstacle of building Arabic society within the college. Third, the guidelines for promoting the use of Arabic for CIS ISIP that is obligatory for each student in the program mentioned to pass all Arabic programs offered by Arabic Language Center. As for the guidelines of solving Arabic Language Center problems is to increase activities time and provide teaching rooms facilities both proficient Arabic speaking student and poor Arabic speakers among the students. Finally, the guidelines for solving international students' scholarships problems are to take utmost care for students and as motivation and incentives for students' interest in building a successful Arabic society within the College.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(อิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17423
Appears in Collections:761 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1645.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.