Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17218
Title: การศึกษาการรับรู้ประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชนในเขตพื้นที่ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา
Other Titles: A Study of the Perceived Effectiveness of the State Welfare Card Policy among Citizens in Yala Municipality, Yala Province
Authors: บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ
ขวัญทิพย์ แววสง่า
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
Keywords: บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ;ประสิทธิผล;การรับรู้
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objectives of the study were to explore the efficiency awareness of the citizens in Yala municipality in Yala province toward the state welfare card policy and to compare and contrast the efficiency awareness of the citizens based on the personal fundamental factors including gender, age, educational background, occupation, and income. Data from 376 samples who reside in Yala municipality were gathered in the form of a questionnaire survey which divided into two parts, the efficiency awareness toward the state welfare card policy on the individual dimension and the efficiency awareness toward the state welfare card policy on the social dimension. The statistics which were applied in the analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation, t-test with One-Way ANOVA, Scheffe’s pairwise comparison, and hypothesis testing of a statistically significant level at 0.05. They reflected a moderate level on the efficiency awareness toward the state welfare card policy. After the comparison of the different efficiency awareness toward the policy based on the differences of gender, age, educational background, occupation, and income, found that the differences of gender and educational background reflected a different awareness. On the other hand, the difference of age showed no difference in individual dimension but a social dimension difference even the difference between occupation and income also showed no difference. The government and the associate organizations need to rethinking implementation of this policy for the highest efficiency for the citizens.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการแก้ไขปัญหาความยากจน และทดสอบความแตกต่างการรับรู้ประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเปรียบเทียบปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 376 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ การรับรู้ประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมิติมุมมองส่วนบุคคล และการรับรู้ประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมิติมุมมองทางสังคม สถิติที่ใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธีของ Scheffe และทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ประสิทธิผลของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ พบว่า เพศที่ต่างกัน ระดับการศึกษาที่ต่างกัน มีการรับรู้ประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแตกต่างกัน อายุที่ต่างกัน มีการรับรู้ประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มิติมุมมองส่วนบุคคลไม่แตกต่างกัน แต่แตกต่างกันในมิติมุมมองทางสังคม อาชีพที่ต่างกัน รายได้ที่ต่างกัน มีการรับรู้ประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่แตกต่างกัน รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงควรทบทวนวิธีการดำเนินนโยบายใหม่ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดแก่ประชาชน
Description: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, 2563
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17218
Appears in Collections:465 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทความ.pdf374.45 kBAdobe PDFView/Open
6110521502.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons