Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17201
Title: การศึกษาแนวทางการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย สำหรับผู้นำท้องที่ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
Other Titles: A Study of Disaster Risk Management Educating Measures for Village Leaders in Sabayoi District, Songkhla Province
Authors: สมพร คุณวิชิต
ณภัทร จินเดหวา
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
Keywords: การจัดการภัยพิบัติ;ความรู้เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ;ผู้นำท้องที่
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The purpose of this research is to examine the levels of disaster management knowledge of village leaders in Sabayoi District, Songkhla Province. Data were collected through survey questionnaires which were distributed to 227 village leaders. Data obtained from survey questionnaires were then analyzed using frequency, percentage, mean, and standard deviation. Hypotheses were tested using t-test and F-test. Results from data analysis showed that, overall, village leaders’ disaster management knowledge was at a moderate level. When considering in detail, data analysis revealed that the level of hazard mitigation knowledge was highest, followed by disaster preparedness and emergency response knowledge. In terms of disaster recovery knowledge, however, data showed that village leaders in these areas had the lowest level. When comparing the level of disaster knowledge by various factors, data showed that village leaders with different religions and positions were different in terms of disaster management knowledge. However, village leaders with different age, education, occupation, number of year in current position, disaster experience and previous training were not different in terms of disaster management knowledge. Based on such findings, it is recommended that, public agencies related to disaster management should increase knowledge and skills in disaster management for village leaders in Sabayoi District, especially in terms of disaster recovery so that they are capable of administering recovery activities such as property and infrastructural damage assessment and regulations for providing aids for disaster victims. They should also have more knowledge about disaster response activities such as search and rescue, evacuation, sheltering, and mass care. Such disaster management knowledge can be provided through trainings or exercises at least twice a year. Moreover, village leaders from all religions and positions should be encouraged to participate in such trainings and exercises so that they all have the knowledge and skills that enhance their ability to perform disaster management activities more effectively.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยสำหรับผู้นำท้องที่ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา และ 2) เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยสำหรับผู้นำท้องที่ดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำในท้องที่อำเภอ สะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา จำนวน 227 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t - test และ F – test ผลการวิจัย พบว่า ผู้นำท้องที่มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความรู้ด้านการลดผลกระทบมีระดับสูงสุด รองลงมา คือ ความรู้ด้านการเตรียมความพร้อม และความรู้ด้านการรับมือ ส่วนด้านการฟื้นฟูนั้น ผู้นำท้องที่มีระดับความรู้ต่ำที่สุด นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ผู้นำท้องที่ที่มีศาสนาและตำแหน่งต่างกัน มีระดับความรู้ในการจัดการสาธารณภัยที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่ผู้นำท้องที่ที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ จำนวนปีของประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ประสบการณ์เกี่ยวกับภัยพิบัติ และการฝึกอบรมที่ผ่านมานั้น มีระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการสาธารณภัยที่ไม่แตกต่างกันแต่อย่างใด จากผลการวิจัยดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสาธารณภัยในพื้นที่ควรดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะในการจัดการสาธารณภัยให้กับผู้นำท้องที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการฟื้นฟูจากภัยพิบัติเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคในการประเมินความเสียหายของบ้านเรือนและทรัพย์สินของผู้ประสบภัยและระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ รวมไปถึงหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือตามระเบียบของรัฐ อีกทั้งยังควรให้ความรู้ในด้านการรับมือกับภัยพิบัติ เช่น การค้นหาและช่วยชีวิต การดำเนินการอพยพ การจัดศูนย์พักพิง และการดูแลผู้ประสบภัยในศูนย์พักพิงของหมู่บ้าน เป็นต้น โดยอาจดำเนินการจัดอบรมหรือจัดซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้กับผู้นำท้องที่ปีละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย และควรส่งเสริมให้ผู้นำท้องที่ทุกศาสนาและทุกระดับตำแหน่งเข้าร่วมการอบรมและการฝึกซ้อมอย่างถ้วนหน้าเพื่อให้ทุกคนมีระดับความรู้และทักษะในการจัดการสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Description: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, 2563
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17201
Appears in Collections:465 Minor Thesis



This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons