Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/16949
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-
dc.contributorคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์-
dc.date.accessioned2015-10-05T09:01:44Z-
dc.date.accessioned2021-05-17T13:43:50Z-
dc.date.available2015-10-05T09:01:44Z-
dc.date.available2021-05-17T13:43:50Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/16949-
dc.description.abstractในช่วงที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยมุ่งเน้นการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมจากการพัฒนาและใช้ประโยชน์โดยขาดหลักการอนุรักษ์ ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งในแง่ของการแปลงแผนดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ โดยสามารถบูรณาการการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาควบคู่กันไป อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา ขาดการนำปัจจัยและตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมระบบโลก (Earth system environment) เข้าร่วมในการพิจารณาจัดทำแผนแม่บทอย่างจริงจัง โดยเฉพาะปัจจัยและตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีแนวโน้มปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนและรุนแรงใน คาบของมนุษย์ยุคปัจจุบัน (Anthropolocene) ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค ผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก ย่อมต้องส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในบางระดับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา มีรายงานการวิจัยบางสาขาและข้อสันนิษฐานว่า ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเริ่มได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลง ดังจะเห็นได้จากการเกิดฝนผิดฤดูกาล รวมไปถึงภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย และวาตภัยที่มีความถี่และความรุนแรงเพิ่มขึ้นในพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อ ทั้งระบบภูมินิเวศ และระบบเศรษฐสังคม ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นอย่างมากth_TH
dc.language.isoth_THth_TH
dc.publisherสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectคุณภาพสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมth_TH
dc.subjectภัยพิบัติ น้ำท่วม ดินถล่มth_TH
dc.subjectการลดลงของทรัพยากรชีวภาพและความหลากหลายทางชีวภาพth_TH
dc.subjectการกัดเซาะชายฝั่งทะเลth_TH
dc.subjectความไม่มั่นคงทางอาหารth_TH
dc.subjectความเสื่อมโทรมของพื้นที่ที่มีคุณค่าทางศิลปกรรมและประวัติศาสตร์th_TH
dc.titleโครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาอย่างยั่งยืนth_TH
dc.typeOtherth_TH
Appears in Collections:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.