Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/16921
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-
dc.contributorมูลนิธิเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน-
dc.date.accessioned2015-10-05T05:37:04Z-
dc.date.accessioned2021-05-17T13:42:33Z-
dc.date.available2015-10-05T05:37:04Z-
dc.date.available2021-05-17T13:42:33Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/16921-
dc.description.abstractคู่มือการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเสียและขยะมูลฝอยชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน เป็นผลจากการศึกษา “โครงการนำร่องการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเสียและขยะมูลฝอยชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน” ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้มูลนิธิเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน เป็นผู้ดำเนินการศึกษา โดยการรวบรวม และค้นคว้าข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ร่วมกับการดำเนินงานในพื้นที่นำร่อง 3 แห่ง คือ เทศบาลนครลำปาง (ศึกษาโครงการด้านการจัดการขยะมูลฝอย) เทศบาลนครขอนแก่น (ศึกษาโครงการด้านการจัดการขยะมูลฝอย) และเทศบาลนครภูเก็ต (ศึกษาโครงการด้านการจัดการขยะมูลฝอยและน้ำเสีย)คู่มือการมีส่วนร่วมฯ นี้ จัดทำขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและระดับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในกิจการสาธารณูปโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านน้ำเสียและขยะมูลฝอยชุมชน และเป็นแนวทางเบื้องต้นเพื่อเตรียมความพร้อมของท้องถิ่น ทั้งในระดับผู้บริหารเจ้าหน้าที่ระดับบริหารและปฏิบัติการของ อปท. ที่ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ได้เข้าใจถึงบทบาทของภาคเอกชนที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการด้านการจัดการน้ำเสียและขยะมูลฝอยชุมชน เนื่องจากภาคเอกชนมีความชำนาญเฉพาะด้าน ในการแก้ปัญหาดังกล่าว อันจะเป็นการแบ่งเบาภาระของภาครัฐและอปท.เพื่อนำไปสู่ผลที่จะได้รับต่อท้องถิ่น และประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อมสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือการมีส่วนร่วมฯ นี้จะเป็นประโยชน์แก่ อปท. รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการใช้เป็นแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเสียและขยะมูลฝอยชุมชนเพื่อให้แนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป และเนื่องจากการจัดทำคู่มือการมีส่วนร่วมฯ นี้ สำนักงาน ได้รับความร่วมมือจากพื้นที่นำร่องทั้ง 3 แห่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการให้ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงคู่มือการมีส่วนร่วมฯ ดังกล่าวด้วย สำนักงานจึงใคร่ขอขอบคุณในความร่วมมือไว้ ณ ที่นี้th_TH
dc.language.isoth_THth_TH
dc.publisherสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.titleคู่มือการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเสียและขยะมูลฝอยชุมชน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนth_TH
dc.typeOtherth_TH
Appears in Collections:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.