Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15637
Title: หลักการและแผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบเกษตรยั่งยืน: กรณีศึกษาตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
Authors: นิพนธ์, เอี่ยมสุภาษิต
อภินันท์, กำนัลรัตน์
กฤษณพงศ์, ไกรเทพ
บรรเทา, จันทร์พุ่ม
ไพโรจน์, อ่อนเรือง
อ่อนนวน, ชนะกุล
จานนท์, ศรีเกต
จริยา, สุวรรณรัตน์
ขวัญชนก, บุปผากิจ
Kevin, Kamp
Keywords: ความไม่มั่นคงทางอาหาร;การลดลงของทรัพยากรชีวภาพและความหลากหลายทางชีวภาพ
Issue Date: 2547
Publisher: รายงานการสัมมนาวิชาการระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 3 "สู่ระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัย สร้างมูลค่าเพิ่ม และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน" 9-11 พฤศจิกายน 2547 ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
Abstract: ความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตร เป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก โดยรวมทุกองค์ประกอบที่อยู่ในระบบนิเวศของพื้นที่เกษตร ซึ่งไม่เน้นเฉพาะพื้นที่ในส่วนที่ทำการเกษตรเท่านั้น แต่ยังหมายรวมและครอบคลุมถึง พื้นที่ที่เป็นห้วยหนองคลองบึงแม่น้ำ ลำธาร ซึ่งถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกและใช้เป็นแหล่งอาหารสำหรับการดำรงชีพ พื้นที่ที่ยังคงลักษณะของป่าไม้หรือแม้แต่ไม้ใหญ่ที่ขึ้นในแปลงเพาะปลูก พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ที่รวมถึงพื้นที่บริเวณคันนา คันคลองและขอบถนน เป็นต้น ทุกส่วนมีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญต่อความยั่งยืนของระบบนิเวศทางการเกษตร นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในหัวข้อสาระสำคัญที่สมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ได้ให้ความสนใจและให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าและได้จัดทำเป็นโปรแกรมงานหรือแนวทางในการดำเนินงานสำหรับประเทศภาคีสมาชิกได้ใช้ประกอบการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณี องค์ประกอบของพื้นที่เกษตรในแต่ละส่วนอาจเรียกเป็นนิเวศหรืออีกนัยหนึ่ง คือถิ่นที่อยู่ ปัจจุบันบางส่วนของถิ่นที่อยู่กำลังถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องและรุนแรง ภายใต้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มุ่งเน้นระบบการผลิตเป็นหลักและขาดความสนใจที่จะอนุรักษ์นิเวศ ซึ่งเป็นแหล่งรวมชนิดพืชและสิ่งมีชีวิตอื่นที่มีคุณค่า โครงการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมวิชาการ เกษตรซึ่งได้รับความช่วยเหลือทางด้านวิชาการและงบประมาณจากรัฐบาลเดนมาร์ก ได้จัดทำโครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เกษตร เพื่อสร้างความตระหนักให้กับชุมชนให้มีขีดความสามารถในการวางแผนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพภายในชุมชนโดยชุมชนเองและได้พัฒนาแนวทางการดำเนินงานซึ่งมี 6 ขั้นตอน พร้อมกับได้นำไปทดลองใช้ที่ ตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นกรณีศึกษา
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15637
Appears in Collections:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.