Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15626
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสาวิตรี, เขมวงศ์-
dc.contributor.authorสรัญญา, ช่วงพิมพ์-
dc.date.accessioned2015-10-10T07:51:40Z-
dc.date.accessioned2021-05-17T11:35:51Z-
dc.date.available2015-10-10T07:51:40Z-
dc.date.available2021-05-17T11:35:51Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15626-
dc.description.abstractการผลิตพืชตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice; GAP) เป็นระบบการจัดการกระบวนการผลิตทางการเกษตร เพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยจากการปนเปื้อน โดยเฉพาะปราศจากการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการผลิตพืช การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในผลผลิตพืชที่ได้จากระบบการผลิตพืช GAP เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการผลิตในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ระหว่างเดือนตุลาคม 2549 ถึงเดือนกันยายน 2552 โดยวิเคราะห์สารพิษตกค้างจำนวน 33 ชนิดสาร จากกลุ่ม organophosphate 23ชนิด สาร กลุ่ม organochlorine 4 ชนิดสาร และกลุ่ม pyrethroid 6 ชนิดสาร ด้วยเครื่อง Gas Chromatography(GC) จากการวิเคราะห์ตัวอย่างพืช 73 ชนิดจำนวน 1,698 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้าง 182 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 10.72 โดยตัวอย่างส้มตรวจพบสารพิษตกค้าง มากสุดถึงร้อยละ 71.43 จากตัวอย่างส้มทั้งหมด สารพิษตกค้างที่ตรวจพบจากตัวอย่างพืชทั้งสิ้น 18 ชนิดสาร คือ methamidophos, mevinphos, monocrotophos, chlorpyrifos, profenofos, malathion, omethoate, dimethoate, dichlorvos, epn, diazinon, ethion, dicofol, cyhalothrin, cyfluthrin, deltamethrin, cypermethrin และ fenvalerate โดย cypermethrin ตรวจพบมากสุดช่วงปริมาณการตรวจพบ คือ 0.01-5.41 mg/kg รองลงไปคือ dicofol และ chlorpyrifos ช่วงปริมาณการตรวจพบ คือ 0.01-3.50 mg/kg และ 0.01-0.82 mg/kg ตามลำดับ นอกจากนี้ยังตรวจพบสารที่เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 คือ monocrotophos, methamidophos และ mevinphos ในพริก คะน้า ผักกวางตุ้ง และผักกาดขาว จำนวน 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของตัวอย่างทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบปริมาณสารพิษตกค้างที่ตรวจพบกับค่าความปลอดภัย (MRL) ตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช. 9002-2551) พบสารที่มีค่ามากกว่าระดับความปลอดภัย จำนวน 20 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1.18 ของตัวอย่างทั้งหมด จะเห็นได้ว่าแม้มีการตรวจพบสารพิษตกค้างจากพืชที่ได้จากระบบการผลิตพืช GAP ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง แต่ปริมาณการตรวจพบส่วนมากยังอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคth_TH
dc.language.isoth_THth_TH
dc.publisherรายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมเจ.บี. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลาth_TH
dc.subjectความไม่มั่นคงทางอาหารth_TH
dc.titleการศึกษาชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในพืชจากระบบการผลิตพืช GAP ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
Appears in Collections:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.